14 ก.ย. 2020 เวลา 08:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP.0 การประเมินมูลค่าหรือ Valuation คืออะไร?
การประเมินมูลค่า (Valuation) คือกระบวนการแปลงข้อมูลที่รวมรวมได้เกี่ยวกับบริษัทหรือหุ้นนั้น เพื่อนำคำนวนหา “มูลค่าที่เหมาะสม” (Fair value) เพื่อใช้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือหุ้นนั้น โดยวิธีการประเมินมูลค่าที่นิยมใช้กันแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก
1. การประเมินมูลค่าแบบสมบูรณ์ (Absolute valuation) คือการหามูลค่าโดยใช้ข้อมูลของบริษัที่เราจะหาข้อมูลเท่านั้นไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับราคาของบริษัทอื่นหรือเปรียบกับราคาในอดีต ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value) โมเดลที่นิยมใช้กันมี 2 โมเดล คือ 1) โมเดลคิดลดกระแสเงินสด (Discounted cash flow) เป็นการคิดลดกระแสเงินสดปลอดภาระ (Free cash flow) ที่คาดว่าบริษัทจะสามารถทำได้ในอนาคด 2) โมเดลคิดลดเงินปันผล (Dividend discounted cash flow) เป็นการคิดลดเงินปันผล (dividends) ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต
2. มูลค่าเชิงเปรียนบเทียบ (Relative valuation) คือการหามูลค่าโดยใช้ข้อมูลเปรียบเทียบกับบริษัทที่คล้ายๆกันหรือข้อมูลของบริษัทในอดีต ผ่าน ratio ที่นิยมใช้กันเช่น Price to earning (P/E), Price to book value (P/BV) หรือ Enterprise value to EBITDA (EV/EBITA) ซึ่งขึ้นอยู่กับธุรกิจที่เราประเมินว่าเหมาะกับ ratio ตัวใด
3
มูลค่าเหมาะสมที่คิดได้นี้ "ไม่มีถูกหรือผิด" แต่ความน่าเชื่อถือจะ "สมเหตุสมผล" หรือไม่ขึ้นอยู่กับ "ข้อมูลและสมมติฐานที่กำหนด" เนื่องจากการประเมินมูลค่าเป็นการคาดเดาไปในอนาคตไม่มีใครสามรถคาดการณ์ได้ถูกต้อง 100% ดังนั้นตัวเลขที่ได้จึงไม่ใช่ตัวเลขแน่นอนแต่จะเป็น “มูลค่าโดยประมาณ” ดังนั้นเมื่อจะใช้ตัวเลขที่คำนวนได้ในการซื้อหุ้นนักลงทุนจึงต้องใส่ส่วนลดที่เรียกว่าส่วนแผื่อเพื่อความปลอดภย (Margin of safety) ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายจากการการประมานการที่ผิดพลาดหรือเพิ่มกำไรให้กับนักลงทุน
กระบวนการประเมินมูลค่า Valuation process
หากแยกการประเมินมูลค่าออกเป็นกระบวนการจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1) Input การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
2) Black box วิเคราะห์ข้อมูล, กำหนดสมมติฐาน และคำนวนผ่านโมเดลที่เหมาะสม
3) Output นำผลลัพธ์ไปใช้
โดยช่วงที่สำคัญที่สุดจะเป็นการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลซึ่งใช้เวลาและพลังงานเยอะที่สุด โดยข้อมูลที่นำมาใช้ต้องน่าเชื่อถือและนำไปกำหนดสมมติฐานที่สมเหตุสมผลเพื่อคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
อย่างไรก็ตามมูลค่าที่คำนวนได้นี้จะ "มีการเปลี่ยนแปลง" อยู่ตลอดเวลาเมื่อมีข้อมูลใหม่ที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจนั้นในอนาคตเช่น การได้สัมปทานใหม่, โปรเจคใหม่, backlog, การปิดเมืองเนื่องจากโรคระบาด, การเปิดสาขาเพิ่ม, ฯลฯ
ไว้เรามาลงรายละเอียดในส่วนต่างๆกันต่อในบทความต่อไปนะครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนทั้งมือใหม่มือเก่าไม่มากก็น้อย
หากคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ฝาก กด like กด share และ กดติดตาม เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ หรือมีข้อสงสัยอะไร comment มาสอบถามได้เลยครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา