25 ก.ย. 2020 เวลา 01:10 • ประวัติศาสตร์
ในบทความนี้จะกล่าวถึงอีกยุคหนึ่งของอินเดียในปัจจุบัน ในยุคนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อินเดียที่มีการรวมของแคว้นเล็กแคว้นน้อยในดินแดนภารตะ(bharat)จนกลายเป็นปึกแผ่น และได้แผ่กระจายรัศมีความยิ่งใหญ่ไปทั่วทึกสารทิศ(ซึ่งมีอาณาจักรใหญ่กว่าในอินเดียในปัจจุบันเสียอีก)นั่นก็คือยุคของราชวงศ์เมารยา(Maurya empire) พ.ศ.221-358 (321-285ปีก่อน ค.ศ.)ตอนที่1
ก่อนจะเริ่มกล่าวจะขอพาไปทำความรู้จักกับ สถานที่สำคัญ สถานที่หนึ่งนั่นก็คือราชอาณาจักรมคธ(ปัจจุบันคือ รัฐUttar Pradesh)
ถือเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดในชมพูทวีป ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ ถือกำเนิดขึ้นไล่เลี่ยกับการกำเนิดของมหาชนบท 16 แคว้น(ได้กล่าวแล้วในบทความก่อนๆ) กษัตริย์แห่งมคธเท่าที่มีหลักฐานปรากฏแบ่งได้เป็น7ราชวงศ์ดังนี้ (แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงแค่ราชวงศ์เมารยา)
ในราชวงศ์หารยังกะเรียงตามลำดับ
1)พระเจ้าภัตติยะ
2)พระเจ้าพิมพิสาร
3)พระเจ้าอชาตศัตรู( 2)และ3)อยู่ในยุคพุทธกาล)
4)พระเจ้าอุทัยภัทร
5)พระเจ้าอนุรุทธ
6)พระเจ้ามุณฑก
7)พระเจ้านาคทาสกะ
การสิ้นสุดของราชวงศ์หารยังกะ เกิดจากอำมาตย์สุสุนาคทำรัฐประหาร
ในราชวงศ์ศิศุนาค
ตั้งโดยขุนนางชื่อศิศุนาค
1)พระเจ้าศิศุนาค
2)พระเจ้ากาฬาโศก
3)พระเจ้าภัทรเสน
4)พระเจ้าโกรันทวรรณะ
5)พระเจ้ามังคุระ
6)พระเจ้าสารวันชหะ
7)พระเจ้าชลิกะ
8)พระเจ้าอุภกะ
9)พระเจ้าสัญชัย
10)พระเจ้าโกรัพยะ
11)พระเจ้านันทิวรรธนะ
12)พระเจ้าปัญจมกะ
13)พระเจ้ามหานันทิน
การสิ้นสุดของราชวงศ์ศิศุนาค เกิดจากมหาโจรนันทะทำรัฐประหาร
ในราชวงศ์นันทะ (บางตำราว่ามีมากกว่านี้)
1)พระเจ้ามหาปัทมานันทะ
2)พระเจ้าธนานันทะ
อาณาจักรมคธในราชวงศ์นันทะ
ต่อมาเป็นราชวงศ์เมารยา ซึ่งสาเหตุที่ต้องโค่นราชวงศ์นันทะก็เพราะว่าการปกครองไม่มีความเป็นธรรม กดขี่ประชาชน และในช่วงเวลานี้เองพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งเมซิโดเนียได้เริ่มออกรบตีและขยายจักรวรรดิของตัวเอง ทำให้มีพราหมณ์ท่านหนึ่งนามว่าVishnu Gupt หรือ Gautil Chanakya(ในที่นี้จะขอเรียกว่าจาณักยะ)เป็นพราหมณ์นักปราชญ์ตัวท็อปของอินเดียในสมัยนั้นค่อนข้างจะมีชื่อเสียง และเป็นอาจารย์ในตักศิลา ท่านได้เล็งเห็นภัยที่กำลังมาจากเมซิโดเนีย ท่านเห็นว่ามคธมีกำลังมากพอที่จะรบกับทัพของอเล็กซานเดอร์ได้ และยังเป็นราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งที่สุดในชมพูทวีปจึงได้เข้าไปขอให้กษัตริย์มคธช่วยเสริมกำลัง ให้กับพระเจ้าโปรุสแห่งเมืองเปารพ แต่พระเจ้าธนานันทะมัวแต่ยุ่งอยู่กับการเสวยสุขส่วนตัว มิหนำซ้ำดูถูกดูแคลน และยังจับท่านจาณักยะโยนออกนอกพระราชวังบวกกับการปกครองที่ล้มเหลวของพระเจ้าธนานันทะ ทำให้ตั้งแต่นั้นมาท่านจาณักยะได้ตั้งปณิธานยังแน่วแน่ว่าจะโค่นล้มถอนรากถอนโคนของราชวงศ์นี้ให้สิ้นซาก(ซึ่งนี่ก็คือความคิดเล็กๆที่สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต) แล้วก็หาคนใหม่ที่เหมาะกับบัลลังนี้ ซึ่งก็ได้เจอกับจันทรคุปต์ ซึ่งยังมีอายุไม่มากเป็นบุตรคนเดียวของ นายSarvathasiddhi Maurya และนาง Mura Maurya
รูปปั้นพระเจ้าจันทรคุปต์ เมารยา
ซึ่งจาณักยะเห็นว่าเด็กคนนี้เหมาะสมมีคุณสมบัติที่จะเป็นกษัตริย์ และฝึกวิชา และวิทยายุทธต่างๆที่กษัตริย์คนหนึ่งควรจะเป็นให้ชำนาญ
เมื่อนายจันทรคุปต์มีอายุมากขึ้นทั้งสองศิษย์และอาจารย์เริ่มวางแผนยึดเมืองอย่างลับๆ และรวบรวมกำลังทรัพย์ และกำลังพลซึ่งก็มาจากชาวเมืองมคธเองที่ทนจากการกดขี่ของธนานันทะไม่ไหวรวมกับการขอความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองเล็กเมืองน้อยที่อยู่ในมคธพอรวมได้ระดับที่น่าพอใจ แล้วก็ได้สั่งโจมตีเปิดศึกกับพระเจ้าธนานันทะซึ่งทัพใหญ่กว่าหลายเท่า อาวุธพร้อมกว่า ทักษะกำลังพลดีกว่า ทำให้ฝ่ายจันทรคุปต์พ่ายแพ้อย่างราบคาบ และหนีชีวิตรอดออกมากับอาจารย์จาณักยะ และกับคนกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่ม ทำให้จาณักยะตาสว่างแล้ววางกลยุทธ์ใหม่โดยคราวนี้จะไม่ตีเมืองมคธโดยตรงแต่จะค่อยๆตีเมืองที่อ่อนแอกว่าจากนอกมคธเข้ามา
หลังจากนั้นทั้ง2ศิษย์อาจารย์ เริ่มค่อยๆสะสมกำลังพลใหม่เจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐเล็กรัฐใหญ่เรื่อยมา และพยายามหาศัตรูของธนานันทะเพื่อเอามาช่วยรบเมื่อถึงเวลา พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ และแล้วก็เปิดศึกโจมตีเมืองมคธเป็นครั้งที่2รบกันอย่างสูสี แต่สุดท้ายจันทรคุปต์ได้รบชนะ และก่อตั้งสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าจันทรคุปต์ เมารยาแห่งราชอาณาจักรมคธ(ในขณะนั้นมีอายุเพียง20ปีต้นๆ) โดยมีอาจารย์จาณักยะเป็นมหาอำมาตย์
chanakya
หลังจากได้ขึ้นครองราชย์ ท่านจาณักยะก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในด้านต่างๆ เช่นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบการปกครองเก่าๆ ,โครงสร้างทหาร ,โครงสร้างระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น และยังสร้างเครือข่ายระบบสปายที่ซับซ้อน และลับมาก
พระเจ้าจันทรคุปต์เป็นพระราชาที่ปกครองโดยธรรม เนื่องจากอยู่กับอาจารย์จาณักยะมาตั้งแต่เด็กถูกปลูกฝัง สั่งสอนมาอย่างดี แต่พระเจ้าจันทรคุปต์ได้สวรรคตตั้งแต่อายุ30ต้นๆ บางตำราก็กล่าวว่าพระเจ้าจันทรคุปต์ได้หนีละทิ้งทุกอย่างไปเป็นนักบวชในศาสนาเชน
หลังจากการจากไปของพระเจ้าจันทรคุปต์ พระเจ้าพินทุสารได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดา
ซึ่งในตอนหน้าจะมาอธิบายเหตุการณ์หลังจากพระเจ้าพินทุสารได้ขึ้นครองราชย์รวมถึงความยากลำบากของพระเจ้าอโศกมหาราช
อ้างอิง
หนังสือ: Chandragupt Maurya and his time เขียนโดย Radha kudu Mukherjee
โฆษณา