14 ก.ย. 2020 เวลา 17:03 • สุขภาพ
การอดนอนจะทำให้คุณป่วยง่ายจริงหรือไม่
ดร.นพ.โยธิน. ชินวลัญช์. M.D. Ph.D. FAES
การนอนหลับมีความมสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย
เมื่อเวลาเราเป็นหวัด มักจะเกิดขึ้นเวลาที่เรานอนไม่พอ นอนดึก หรือนอนไม่เต็มอิ่ม การได้นอนพักเป็นเวลา 8 ชั่วโมง มักจะทำให้เรามีอาการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น ได้มีคำถามที่ว่าการนอนที่ดีสามารถที่ทำให้ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้นหรือไม่ มีข้อมูลจากการศึกษามากมายที่บอกว่าภาวะอดนอนจะทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นเนื่องจาก ลักษณะของการนอนมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกายของคนเรา
สำหรับการนอนที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร
การนอนที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร
ข้อที่หนึ่งจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่เพียงพอ เช่น ในผู้ใหญ่ควรจะต้องมีการนอนหลับประมาณ 7 ถึง 9 ชั่วโมง แต่เพียงการนอนในชั่วโมงที่เพียงพอก็ยังไม่ถือว่าเป็นการนอนที่ดี ยกตัวอย่างเช่น คนนอนดึกแล้วตื่นสายก็ถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพไม่ดี สาเหตุเนื่องจากการนอนที่ดีจะต้องเกี่ยวกับวงจรการตื่นและการหลับที่ดีด้วยเนื่องจากสมองของเราจะมีนาฬิกาเวลาที่กำหนดลักษณะการตื่นและการหลับที่เป็นเวลา ดังนั้นแล้วการนอนที่ดีมากจะต้องมีลักษณะของชั่วโมง ของการนที่เพียงพอ ร่วมด้วยกับโครงสร้างของการนอนที่ดีด้วย ลักษณะโครงสร้างของการนอน ของคนเราจะประกอบด้วยการนอนที่เป็นระดับต่างๆ (Sleep staging) เช่น การนอนระดับหนึ่ง (Sleep stage I) สอง (Sleep stage II) สาม (Sleep stage III) และ การนอนระดับ REM sleep จะมีการหมุนเวียนเป็นวงจรทุกๆ 90 นาที (Ultradian rhythm) หรือวงจรการเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับระดับต่างๆนี้จะเป็นอย่างต่อเนื่องและไม่ถูกขัดจังหวะด้วยการตื่น ถึงจะถือว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพไม่อย่างนั้นแล้วถ้าเกิดการขัดจังหวะของระดับการนอนหลับจะมีผลทำให้ มีอาการ นอนไม่เต็มอิ่ม มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อขณะตื่นขึ้นหรือ ก่อให้เกิดอาการง่วงในช่วงกลางวัน
ระดับต่างๆของการนอนหลับ (Sleep staging)
มีข้อมูลที่ยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง การนอนหลับที่ดีและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยก ตัวอย่าง เช่น ในสัตว์ ทดลองที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ที่อดนอนจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าในสัตว์ทดลองที่มีการนอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากนี้มีการศึกษาในมนุษย์ที่ให้วัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ใน สองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกมีการนอนหลับที่เพียงพอและกลุ่มสองที่อดนอน และได้ติดตามเป็นเวลา 10 วัน พบว่าในกลุ่มที่มีการอดนอนจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน ด้อยกว่าในกลุ่มที่มีการนอนหลับที่เพียงพอ โดยมีการสร้างโปรตีนที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ผิดปกติไปในกลุ่มที่มีการอดนอน และมีการศึกษาในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด เอ บี หรือไข้หวัดหมู (Swine influenza or Swine flu) ก็ได้ผลอย่างเดียวกันโดยที่กลุ่มที่อดนอนจะมีการสร้างภูมิจากวัคซีนได้น้อยกว่า นักวิจัยได้มีการศึกษาและยืนยันว่าคุณภาพการนอนที่ไม่ดีมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
มีการศึกษามากมายที่บอกว่า การอดนอนมีผลทำให้เพิ่มจำนวน เม็ดเลือดขาว ในกระแสเลือดมีผลทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวที่ต้องอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหรือม้ามมีจำนวนลดลงการที่มีการเคลื่อนที่ เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เข้าไปในกระแสเลือดมากเกินไปทำให้ไม่สามารถที่จะช่วยต่อสู้หรือทำลายการติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้
1
การนอนจะมีการผลิตสารที่เรียกว่า Pro-inflammatory proteins
นอกจากนี้มีการพบว่าในครึ่งแรกของการนอนจะมีการผลิตสารที่เรียกว่า Pro-inflammatory proteins มีความสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในร่างกาย หลังจากนั้นในการนอนครึ่งหลังจะมีการสมดุลของการสร้างสารที่เรียกว่าสารต่อต้านการอักเสบ (anti-inflammatory protein) การอดนอนจะทำให้สมดุลของสารทั้งสองชนิดนี้ผิดปกติไปมีผลทำให้สาร Pro-inflammatory proteins ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์เรา
มีการศึกษายังพบว่าภาวะอดนอนจะทำให้มีการลดลงของเม็ดเลือดขาวที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคและไวรัสที่เรียกว่า Natural killer cells นอกจากนี้การนอนหลับที่ดีจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดขาวไปยังจุดที่มีการติดเชื้อได้ดี และในทางตรงกันข้ามถ้ามีเพราะว่าอดนอนที่เกิดขึ้นจะทำให้กลไกเหล่านี้สูญเสียไป
ในแง่ของการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค การนอนหลับที่ดีจะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการจดจำต่อสิ่งแปลกปลอมที่บุกรุกเข้ามาในร่างกาย ได้ดีมีผลทำให้ระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะจดจำเชื้อโรคที่บุกเข้ามาได้รวดเร็วมีผลทำให้ร่างกาย สามารถทำลาย เชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้เร็วกว่า มีการศึกษาพบว่าถ้ามีการนอนหลับในระดับสาม (Sleep stage III) ที่เพียงพอจะมีผลทำให้การจดจำของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต่อเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่บุกรุกเข้ามาในร่างกายได้ดีมาก
Immune cells release proteins called cytokines
ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนและภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ใช่เฉพาะว่าการนอนหลับมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแค่นั้น แต่ระบบคุ้มกันของร่างกายที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาแล้วร่างกายมันจะมีการผลิตสารเคมีตัวหนึ่งที่เรียกว่า cytokine ซึ่งจะมีผลทำให้การนอนหลับดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้ระบบ กล้ามเนื้อของร่างกายได้พักในขณะนอนหลับทำให้ร่างกายสามารถที่จะเอาพลังงานจากส่วนนี้ไปใช้เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ผลจาการอดนอน
เพื่อช่วยทำให้การนอนหลับมีคุณภาพที่ดีขึ้นเราควรจะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้การนอนหลับดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้มีคำแนะนำว่าในช่วงกลางวันเราควรต้องมีการเจอแสงแดดหรือแสงสว่างในบริเวณกลางแจ้งหรือนอกอาคารบ้าง และในยามกลางคืนก็อยู่ในห้องที่มืดเพียงพอหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจากแสงต่างๆโดยเฉพาะในโลกปัจจุบัน เช่น แสงจากโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในช่วงกลางคืน หรือก่อนนอน จะช่วยทำให้วงจรการนอนและการตื่นให้เป็นปกติด้วย
โฆษณา