15 ก.ย. 2020 เวลา 02:44 • ความคิดเห็น
เหตุผล หรือ ข้ออ้าง !?
เหตุผล ➡️ เมื่อฟังแล้วเรื่องที่เกิด หรือคิดต่อนับจากนั้นจะให้ความรู้สึกในแง่บวก
ข้ออ้าง ➡️ จะตามมาด้วยความรู้สึกในแง่ลบ
1
"ข้ออ้าง" (excuse) เป็นการกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือความเชื่อ อันเป็นข้อสนับสนุนความคิดและการกระทำของตน เพื่อให้ได้มาในสิ่งซึ่งขาดหลักคุณธรรมหรือขาดความชอบธรรม หรือเพื่อให้พ้นจากความรับผิดใดๆ และการทั้งหมดหรือถึงแม้จะไม่ทั้งหมดแต่การส่วนใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนรวม "เหตุผล" (reason) เป็นการกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือความเชื่อ อันเป็นข้อสนับสนุนความคิดและการกระทำของตน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและความชอบธรรม และการทั้งหมดหรือถึงแม้จะไม่ทั้งหมดแต่การส่วนใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตน. cr.รศ.ดร.ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
เมื่อคุณพยายามจะบอกเหตุผลของคุณ แต่เหตุผลของคุณนั้นกลายเป็นข้ออ้างสำหรับเขา คุณจะทำยังไง !?
แต่...ถ้าพูดตามตรง มันก็ฟังดูแยกได้ยากระหว่าง เหตุผล และ ข้ออ้าง อยู่ดีใช่ไหมล่ะ
หรือที่จริงแล้วมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับประโยคที่พูดออกมา?
จริงๆ แล้วมันน่าจะอยู่ที่ผู้ฟังมากกว่าว่าจะตีความหมายออกมาในรูปแบบไหน เพราะในความจริงมีหลายครั้งที่เรามักจะเอนเอียงความรู้สึกไป
ถ้าเหตุผล หรือข้ออ้างไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ที่พูด แต่ขึ้นอยู่กับผู้ฟัง.... !!
ถ้าบุคคลที่สอง เปิดใจ รับฟังเรื่องราวจากบุคคลแรก เรื่องนั้นก็น่าจะเป็นเหตุผล แต่ถ้าบุคคลที่สอง ไม่เปิดใจ รับฟังเรื่องราวจากบุคคลแรก เรื่องนั้นก็น่าจะเป็นแค่ข้ออ้าง
โลกนี้มีประเภทของอคติอยู่มากมาย ถ้าผู้ที่เราต้องการให้รับฟัง มีอคติกับตัวเรา หรือใช้อารมณ์ในการตัดสินใจในขณะนั้น คำพูดที่พูดไปส่วนใหญ่ก็เป็นข้ออ้างทั้งนั้น ถึงแม้ว่าเราเองจะมีเหตุผล หรือความเป็นจริงมากมาย แต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าคนฟังไม่ยอมเปิดใจ
โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงสาเหตุของความผิดพลาด เรามักยอมรับ “เหตุผล” แต่ไม่ยอมรับ “ข้ออ้าง” การชี้แจง “เหตุผล” ไม่ควรอธิบายในทันที เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเป็น “ข้ออ้าง” กล่าวอีกอย่างก็คือ เหตุผลกับข้ออ้างเป็นสิ่งเดียวกัน
พูดง่ายๆ ก็คือ การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดา การแก้ไขความผิดเป็นเรื่องจำเป็น แต่การพูดถึงสาเหตุของความผิด เป็นเรื่องไม่จำเป็น เพราะงานแต่ละอย่างแตกต่างกันเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือหาทางแก้ไข
ส่วนการตรวจสอบงานภายหลังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในอนาคต ไม่ใช่การแก้ไขในอดีต บางครั้งการค้นหาเหตุผลของความผิดพลาดยิ่งทำให้เสียเวลา ซ้ำยังบั่นทอนความกระตือรือร้น ทางที่ดีควรเตือนตัวเองให้ระมัดระวัง มุ่งหน้าทำงานขั้นต่อไปให้เร็วที่สุด และอย่าทำผิดซ้ำอีก
สรุปก็คือ อยู่ที่เราว่าจะเลือกแก้ไข หรือจะหาเหตุผลอธิบายความผิดที่เกิดขึ้นไปแล้ว แล้วคุณล่ะ เลือกทำแบบไหนกันคะ ??
โฆษณา