16 ก.ย. 2020 เวลา 03:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ฮ่องกงยังเป็นศูนย์กลางการเงินของเอเซียหรือไม่
1
ก่อนเกิดสถานการณ์ประท้วง ร่างรัฐบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฮ่องกง ฮ่องกงมีสถานะเป็นศูนย์กลางการเงินเอเซีย (Asia Financial Hub)
ซีเยนกรุ๊ป (Z/Yen Group) สถาบันนักคิดในกรุงลอนดอน ผู้จัดทำดัชนีศูนย์กลางทางการเงินของโลก (The Global Financial Center Index) หรือ GFCI ได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจาก องค์กรชั้นนำระดับโลก เช่น ธนาคารโลก (Word Bank) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OCED เป็นต้น โดยพิจารณา จาก 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การพัฒนาของภาคการเงิน ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (อย่างเช่น สิ่งสาธารณูปโภค) ทุนมนุษย์ (โดยเฉพาะทักษะภาษาอังกฤษของแรงงาน) และ ชื่อเสียงของประเทศ
ในปี 2019 ฮ่องกงอยู่อันดับ 3 ของโลก รองจาก นิวยอรค์ และ ลอนดอน และอันดับ 1 ของเอเซีย ตามมาด้วย สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และ โตเกียว
ในอดีต ฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ค.ศ. 1997 อังกกฤษได้ส่งมอบฮ่องกงคืนแก่จีน เมื่อฮ่องกงตกอยู่ภายใต้การปกครองจีน ฮ่องกงตกอยู่ในสถานะเขตบริหารพิเศษ รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ปกครองฮ่องกง โดยให้อิสระฮ่องกง ในการดำเนินนโยบาย เศรษฐกิจ การค้า การเงิน อย่างเสรี เป็นระยะเวลา 50 ปี โดยมีครบกำหนดถึงวันที่ 30 มิ.ย. ค.ศ. 2047 หลังจากนนั้น ฮ่องกงจะถูกปกครองเหมือนเมืองอื่นๆ ของจีน
ผลของการที่ฮ่องกงเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษถึง 99 ปี อังกฤษได้วางรากฐานการศึกษา เศรษฐกิจ การปกครองแก่ฮ่องกงทำให้ ประชาชนฮ่องกงสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฮ่องกงยังถูกจัดเป็นเมืองปลอดภาษี และเป็นประตูสู่ประเทศจีนอีกด้วย ทำให้ฮ่องกงเป็นศูนย์การค้าและการเงิน และเป็นที่ดึงดูดของบริษัทจากต่างชาติ ทั้งจากจีนและประเทศต่างๆทั่วโลก มาลงทุนในฮ่องกง เป็นจำนวนมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือ Marker Cap ถึง 3,936 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
อัตราส่วนมูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ ต่อ GDP ของ ฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม จากการที่ข้อตลกลงระหว่างอังกฤษกับจีน ที่ให้ฮ่องกงอยู่ภายใต้ระบบการปกครอง หนึ่งประเทศ สองระบบ จะสิ้นสุดลงในปี 2047 (เหลือเวลาอีกประมาณ 27 ปี) ส่งผลให้ระบบกฎหมายและระบบงานยุติธรรมของฮ่องกงหมดอายุตามไปด้วย ฮ่องกงจะไม่สามารถเป็นเขตบริหารพิเศษอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นเพียงเเมืองหนึ่งของจีนเท่านั้น จึงทำให้ วัยรุ่น เยาวชน คนทำงาน เกิดความวิตกกังวลถึงเสรีภาพที่ถูกริดรอนไป ส่งผลให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในฮ่องกงขึ้นมา
ผลของเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงที่กินเวลามาเกิน 1 ปี และยังไม่มีทีท่าที่จะหาข้อยุติลงได้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคน ได้วิเคราะห์ว่า ในอนาคตฮ่องกงอาจจะไม่ได้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเซียต่อไป บริษัทต่างชาติอาจจะตัดสินใจย้ายการลงทุนไปเมืองอื่นแทน โดย มี 2 เมือง ที่ถูกจับตาว่า จะมาเป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเซีย แทน ฮ่องกง คือ สิงคโปร์ และ โตเกียว ของญี่ปุ่น
สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจเหมือนฮ่องกง ข้อได้เปรียบของสิงคโปร์ที่เหนือกว่าญี่ปุ่น คือ ประชาชนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีกว่า จากผลสำรวจ การจัดอันดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ดัชนี English Proficiency Index ปี 2019 สิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในอันดับ 5 ของโลก ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 53) อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบของสิงคโปร์ คือ มีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่า ญี่ปุ่น และ มีบริษัทต่างชาติมาลงทุนน้อยกว่าญี่ปุ่น
เมื่อพิจารณาจาก ดัชนีศูนย์กลางทางการเงินของโลก หรือ GFCI ข้อมูล เดือน มี.ค. 2020 โตเกียวถูกจัดอยู่ในอันดับ 3 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเซีย แทนที่ฮ่องกง ขณะที่สิงคโปร์ อยู่อันดับ 5 ของโลก และ อันดับ 3 ของเอเซีย ขณะที่ฮ่องกงหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของเอเซีย
นอกจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ของสิงคโปร์ มี Market Cap 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่อันดับ 23 ของโลก ส่วนตลาดหลักทรัพย์ของโตเกียวมี Market Cap 5,679 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 3 ของโลก และใหญ่กว่าสิงคโปร์ถึง 8 เท่าเลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องจับตากันต่อไป คือ จีนสามารถควบคุมสถานการณ์ เพื่อให้ฮ่องกงยังคงเป็นศูนย์กลางการเงินของเอเซียต่อไปได้หรือไม่ หรือ จะเป็น ตาอยู่ อย่าง สิงคโปร์ กับ ญี่ปุ่น ที่ได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ครั้งนี้
อ้างอิง
โฆษณา