18 ก.ย. 2020 เวลา 05:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"อัตราดอกเบี้ย" กระทบต่อ "มูลค่าหุ้น" ?
หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เป็นอัตรายถึงชีวิต และมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทำให้รัฐบาลในหลายประเทศตัดสินใจใช้นโยบาย “ปิดเมือง” ซึ่งส่งผลรุนแรงและรวดเร็วต่อระบบเศรษฐกิจ ธนาคารโลกคาดว่า GDP ของโลกในปี 2020 จะติดลบถึง 8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่มหาศาลมาก
หลายบริษัทที่อ่อนแอต้องตัดสินใจปิดตัวลงหรือเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อความอยู่รอดของบริษัท และอีกหลายบริษัทที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจำเป็นต้อง "กู้เงินเป็นจำนวนมาก" เพื่อ "เพิ่มสภาพคล่อง" ให้กับธุรกิจในยามที่ "รายได้ลดลงอย่างมาก" เพื่อให้ธุรกิจยังอยู่และดำเนินต่อไปได้ ทำให้โครงเงินทุน (Capital structure) อ่อนแอลง
รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกได้ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนทั้งนโยบายการเงิน (Monetary policy) ทั้งพิมพ์เงินเสริมสภาพคล่อง และนโยบายการคลัง (Fiscal policy) แบบขาดดุล (ใช้เงินมากกว่ารายรับ) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ
ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (Federal reserve) ออกนโยบายซึ่งไม่เคยทำมาก่อน โดยการเข้าซื้อพันธบัตรของภาคเอกชน (Corporate bond) เพื่อช่วยธุรกิจให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและดำเนินต่อไปได้ ซึ่งด้วยนโยบายนี้เองทำให้ตลาดหุ้นตอบรับอย่างดีและกลับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงทุกวันนี้
และนโยบายที่สำคัญอีกอย่างคือการลด "อัตราดอกเบี้ยนโยบาย" (Policy rate) มาอยู่ที่ 0.25% สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาและ 0.5% สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก โดยอัตราดอกเบี้ยนี้มีความเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยทั้งระบบไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์, ดอกเบี้ยเงินกู้, ดอกเบี้ยพันธบัตร, ดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ออกใหม่, ฯลฯ
การลดลงของอัตรดอกเบี้ยยาวนานทำให้บริษัทมีการกู้ยืมเงินสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบในทางตรงข้ามต่อตลาดหุ้นหลายทาง หากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น
1. ภาระดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทที่มีเงินกู้สูงจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ผลดำเนินการหรือผลกำไรสิทธิของบริษัทแย่ลง
---> EPS ลดลง
2. เงินไหลออกจากตลาดหุ้นไปเข้าตลาดตราสารหนี้ เพราะเมื่อเทียบอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงอตลาดตราสารหนี้อาจจะคุ้มค่ากว่าสำหรับนักลงทุนบางคน
---> P/E ลดลง
3. ผลกระทบต่อการประเมินมูลค่า เพราะนักการเงินเชื่อว่า อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากตลาดหุ้น (Expected return) = ผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk-free rate) + ผลตอบเทนของตลาด (Market risk premium)
ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น --->อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น ---> Valuation หุ้นลดลง ---> P/E ลดลง
อ่านบทความเพิ่มเติมของผม เรื่อง "เงินวันนี้มีค่ามากกว่าเงินในอนาคต?" เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไม อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากตลาดหุ้น (Expected return) มีผลต่อมูลค่าหุ้นอย่างไร
ยกตัวอย่าง นักลงทุนคาดว่าจะได้หุ้น A จะมีค่า 100 บาท ในอีก 3 ปีข้างหน้า เดิมเคยคาดหวังผลตอบแทนที่ 10% จึงยอมซื้อหุ้น A ที่ 75.13 บาท แต่เมื่อคาดหวังผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็น 15% นักลงทุนคำนวนมูลค่าเหมาะสมใหม่ได้ที่ 65.75 บาทเท่านั้น
ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อตลาดหุ้นและมูลค่าของหุ้น ดังเห็นได้จากในช่วงปี 2017-2018 ที่ FED หรือ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นดอกเบี้ยทำให้ตลาดหุ้นอเมริการและทั่วโลกปรับตัวลง
สำหรับนักลงทุนอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ชี้เป็นชี้ตายสำหรับการลงทุนและยังมีปัจจัยอีกมากมายที่กระทบตลาดหุ้น แต่เราก็ไม่สามารถละเลยได้ว่าอัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อตลาดหุ้นและมูลค่าของหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
หากคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ฝาก กด like กด share และ กด follow
เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ
หรือมีข้อสงสัยอะไร comment มาสอบถามได้เลยครับ
โฆษณา