18 ก.ย. 2020 เวลา 11:15 • สุขภาพ
สรุปเคส สปสช. ยกเลิกสัญญา คลินิกและโรงพยาบาลทั่วกรุง ผู้ป่วยกว่าล้านคนวุ่น
1
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักก่อนว่า บัตรทอง คืออะไร
.
บัตรทอง หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง/30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตลอดช่วงชีวิต ซึ่งผู้ใช้บัตรทองจะต้องลงทะเบียนไว้กับสถานพยาบาลที่ตนต้องการเข้ารับการรักษา โดยทั่วไปจะเลือกสถานพยาบาลใกล้บ้าน ล่าสุดได้ยกเลิกเก็บ 30 บาท ในกลุ่มประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข (จ่ายค่าบริการและค่ายาครั้งละ 30 บาท) ตั้งแต่การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันโรค รวมถึงการคลอดลูก และการทำฟันด้วย ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าอาการและค่าห้องสามัญ ค่าการจัดส่งต่อ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และค่าบริการนวดแผนไทย ให้สำหรับคนทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 60 ปีขึ้นไป
วันนี้ 18 กันยายน 2563 มีข่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ยกเลิกสัญญา คลินิกชุมชนอบอุ่น และโรงพยาบาล ส่งผลต่อคนไข้กว่าล้านคน
นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ สปสช.ได้ยกเลิกสัญญาคลินิกชุมชนอบอุ่น 18 แห่ง เมื่อวันที่ 19 ก.ค.เนื่องจากตรวจสอบพบทุจริต ส่งผลให้กระทบประชาชนจำนวน 200,000 คน หบังจากขยายผลพบการทุจริต อีก 66 คลินิกมีข้อสงสัย ยอดเงินที่พบมีการเบิกเกินไปกว่า 70 ล้านบาท
วันนี้ สปสช.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบอกเลิกสัญญากับคลินิกและโรงพยาบาล เพิ่มเติม เนื่องจากพบประชาชนถูกสวมสิทธิ โดยประชาชนกลุ่มนี้จะไม่ได้มีโอกาสคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดัน ทำให้ไม่รู้ตัวว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ และไม่ได้เข้ารับการรักษา งบประมาณที่ถูกทุจริตก็เป็นงบประมาณของประเทศและมาจากภาษีประชาชน
รายชื่อคลินิกและโรงพยาบาลที่ถูกยกเลิกสัญญา
กรณีการยกเลิก ส่งผลให้กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบทันทีมีตั้งแต่
- คนไข้ที่ได้รับการนัดผ่าตัดล่วงหน้า
- กลุ่มที่นัดไปรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นคนไข้ใน
- หญิงตั้งครรภ์ นัดวันคลอดแล้ว
- ฟอกไตต่อเนื่อง
ที่หนักสุดคือกลุ่มที่มีนัดผ่า หรือรับเคมีบำบัด แล้วจู่ๆ สถานบริการเดิมยกเลิกบัตรทอง
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการในพื้นที่ใดก็ได้ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทางกรุงเทพมหานคร ได้เตรียมระบบข้อมูล ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรัง และต้องการที่จะได้ข้อมูลยา หรือผลการตรวจ ซึ่งประชาชนสามารถไปขอประวัติการรักษาพยาบาล ที่คลินิกที่ทำการรักษาอยู่ได้ ถ้าไม่สะดวก สามารถเข้าไปที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
1
ในอนาคต สปสช. กำลังจัดหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาทดแทน ซึ่งหากส่งผู้ป่วยเข้าไปในระบบของภาครัฐทั้งหมด อาจมีความแออัด และไม่ได้รับการบริการที่ทั่วถึง
ตอนนี้อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน อย่างไรก็ตาม สามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการใดก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน
ที่ยังอยู่ในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สายด่วน สปสช. 1330 กด2
ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม
โฆษณา