Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Everythinghobby
•
ติดตาม
18 ก.ย. 2020 เวลา 12:38 • การเกษตร
ห้องเรียนธรรมชาติ ที่ “หมู่บ้านเขาเต่า”
“48 ปี” ที่ล่วงมา – จนถึงปัจจุบัน “ตะกาด” บริเวณ “เขาเต่า” กลายเป็นชั้นเรียนธรรมชาติสำหรับเด็กนักเรียนผู้โชคดี
หมู่บ้านเล็ก ๆ ติดทะเลใกล้เขาที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนเต่า ที่ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อที่เรียกกันว่า “บ้านเขาเต่า” ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพประมงมาแต่ครั้งรุ่นปู่ย่าตายาย แต่ในสมัยนั้นชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากกว่าที่เป็นในปัจจุบันมาก ถนนหนทางก็ลำบาก เป็นดินเลนมีหลุมบ่อเต็มไปหมด ไม่มี “น้ำ” สำหรับดื่มกิน ต้องไปหาบมาจาก “ตาน้ำ” ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และยังไม่มีน้ำสำหรับการปลูกพืชอีกด้วย อีกทั้ง “ดิน” ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกเลย
... ในวันหนึ่งของปี 2496 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปบ้านเขาเต่า โดยรถจี๊บโปโล และรถยนต์พระที่นั่งจมเลนในตะกาด ทุกคนที่ไปในวันนั้นต้องลงมาช่วยกันเข็น ตะกาดนี้ เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง เป็นที่ที่น้ำทะเลขึ้นมา เมื่อถึงเวลาน้ำลง พื้นที่ตรงนั้นก็กลายเป็นเลน ทำอะไรไม่ได้ แม้แต่ต้นไม้ก็ยังขึ้นไม่ได้ มีเพียงปูตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปูเปี้ยว อยู่เต็มไปหมด
“หมู่บ้านเขาเต่า” จึงเป็นเสมือนโรงเรียนธรรมชาติแห่งแรก ที่ได้ทรงศึกษาปัญหาทั้งเรื่อง น้ำ และ ดิน โดยทรงเริ่มแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดของชาวบ้านที่นี่เป็นลำดับแรก โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ 60,000 บาท แก่กรมชลประทาน ก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับชาวบ้านได้ใช้ทั้งการอุปโภค บริโภค เลี้ยงปลา รวมทั้งเพื่อการเพาะปลูกพืชอีกด้วย
“อ่างเก็บน้ำเขาเต่า” แห่งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชดำริเรื่องน้ำ ที่ทรงเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดว่า ...น้ำคือชีวิตของประชาชน...
เหตุการณ์ “รถจี๊บโปโลจมเลนในตะกาด” เดียวกันนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของ “การพัฒนาปรับปรุงดิน” ที่เสื่อมคุณภาพ ทรงสนพระทัยศึกษาปัญหา “ดินในตะกาด” ของบ้านเขาเต่าที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ดังนั้น จึงทรงให้ผู้เชี่ยวชาญดินชาวต่างประเทศ ตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งลงความเห็นเมื่อ 40 ปีที่แล้วว่า “เป็นดินที่พืชไม่ขึ้น เป็นดินที่เลวที่สุดในโลก”
บัดนี้ … ในบ่ายของวันที่ 6 ตุลาคม 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานที่แห่งนี้ อีกครั้งหนึ่ง แต่ในสถานภาพของ “ครู” ผู้เมตตา ทรงสอนเรื่อง ดินและน้ำ และธรณีวิทยาแก่คณะนักเรียนระดับมัธยมต้นและปลายผู้โชคดีของโรงเรียนวังไกลกังวล ที่ไม่อาจจะหาช่วงเวลาอันเป็นมงคลที่ประเสริฐกว่านี้ได้อีกแล้วในชีวิต เพราะ มีครู เป็น “ในหลวง”
“…ถ้าดินอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ปลูกอะไร มันไม่ทำงาน นี่มันทำงาน จะเห็นเป็นปม ๆ ถ้าอยากให้ดีใส่ถั่ว…”
พระราชกระแสนี้ เป็นการสอนนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลเกี่ยวกับดิน ที่บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาลเขาเต่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ใครหลายคนคงเห็นและจำได้ดีว่า วันนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นครูสอนวิชาว่าด้วย “เรื่องดิน”
การสอนในครั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ให้เด็กนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่นอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังสามารถจดจำได้ดีและเข้าใจมากกว่าการเรียนรู้ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทรงหาวิธีการแก้ไขปัญหาดินจาก “ดินที่เลวที่สุดในโลก” กลายเป็นดินที่สามารถ “ปลูกข้าวปลูกผัก” ได้
การปรับปรุงคุณภาพดินที่บ้านเขาเต่า ใช้วิธีการง่าย ๆ ตามแนวพระราชดำริ
“..เอาทรายมาใส่ ประมาณ 50 ซม. หรือ 1 เมตร แล้วเอาดินเชิงเนินมาใส่…” เพื่อไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปในดิน และจะได้พัฒนาดินนั้นได้
“…40 ปีกว่า 50 ปี มานี้เขาใช้อย่างนี้ เจาะลงไปเป็นดินที่เลว ใช้ไม่ได้ ปลูกหญ้าก็ไม่ขึ้น … หลายปี ดินมันก็สลายไป เปลี่ยนไปเป็นดินที่ใช้ได้ … ปลูกหญ้า ปลูกต้นไม้ … ทำให้ดินเปลี่ยนแปลง…”
ต่อมา เมื่อทรงศึกษาถึงศักยภาพของหญ้าแฝกว่ามีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพดินด้วย ดังนั้น “…ใส่หญ้าแฝกไป หญ้าแฝกเจาะลงไปแล้วก็พาพวกจุลินทรีย์ลงไปด้วย … ดูดไนโตรเจน แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นปุ๋ยไนโตรเจน เป็นปม ๆ ทำให้ดินดีขึ้น…” ที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทรงนำมาอธิบายแก่เด็กนักเรียน ว่า “…ที่เขาชะงุ้ม ทีแรกไม่ได้เป็นดิน เป็นหินลูกรัง … ก็ไปทำกลายเป็นดิน แล้วก็ปลูกพืชอะไรต่าง ๆ สามารถที่จะใช้ได้ เดี๋ยวนี้สบายมาก…”
“ยังไม่ได้เรียน” นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้น เมื่อทรงซักถามเกี่ยวกับเคมี
“อ้าว… ยังไม่ได้เรียน? เรียนเคมีมีทฤษฎี …น้ำ H2O H ไฮโดรเจน O ออกซิเจน H มี 2 … แล้วนี่ S ซัลเฟอร์ มาโดนออกซิเจน เป็น SO ผสมกับน้ำเป็น H2SO4 เป็นซัลฟูริค แอซิค ต่อไป…ถึงว่ามาทำนี่…ดร.พิสุทธิ์ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญดิน เคมีดิน แล้วก็อันนี้มาใช้อะไรได้…ไม่ได้ ถึงว่าได้นี่ เราต้องปรับปรุง เราอยากทำตรงนี้ให้ดีขึ้น… ปรับปรุงให้เป็นดินที่ไม่มีความละเอียดพิเศษ ต้องใช้เวลาอย่างที่อาจารย์ว่า ดร.พิสุทธิ์ บอกว่ายิ่งใส่น้ำแล้วเอาน้ำออกจะยิ่งเปรี้ยว บอกทำอะไรไม่ได้ ปลูกข้าวปลูกผัก…ปลูกข้าวไม่ได้”
ทรงอธิบายเรื่องแกล้งดินเพิ่มเติม ว่า “…เราจะแกล้งดิน แกล้งดินให้ดินนั้นกลายเป็นโรงงานทำซัลฟูริค แอซิค …แล้วปลูกข้าว ขึ้นมานิดหนึ่ง … มันใช้ไม่ได้ … เอาน้ำออก รอให้น้ำเข้าก่อนแล้วปลูกใหม่ ขึ้นสูงสองเท่า … ทำอย่างนี้ที่ดินที่เราทำ แทนที่จะทำปีละครั้ง ปลูกข้าวปีละครั้ง เราไปปลูกข้าวปีละสามครั้ง … ให้ดินพักหน่อย แล้วปีต่อไปทำใหม่…”
และในที่สุด “…โครงการแกล้งดิน กลายเป็นส่งเสริมดินให้ดี…”
ก่อนเสด็จฯ กลับในวันนั้น เด็กนักเรียน พร้อมใจกันกราบพระบาท ด้วยสำนึกในพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพดิน จากสิ่งที่ทรงประสบและแก้ไขปัญหาด้วยพระองค์เอง ณ ห้องเรียนธรรมชาติที่บ้านเขาเต่า นับเป็นมงคลแห่งชีวิตที่มิอาจลืมได้เลย
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ขอบคุณเรื่องเล่าจาก วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา ฉบับเดือนธันวาคม 2544
#มูลนิธิปิดทองหลังพระ
#ทุกวิกฤติผ่านได้เพราะคนไทยไม่ท้อไม่ถอย
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง
#สืบสานพระราชปณิธาน
#ศาสตร์ของพระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
#พอเพียงเพื่อยั่งยืน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
Website:
www.pidthong.org
Twitter:
twitter.com/pidthong
Instagram:
instagram.com/pidthonglangphra
YouTube:
https://goo.gl/6d37Fv
ห้องเรียนธรรมชาติ ที่ “หมู่บ้านเขาเต่า”
“48 ปี” ที่ล่วงมา – จนถึงปัจจุบัน “ตะกาด” บริเวณ “เขาเต่า” กลายเป็นชั้นเรียนธรรมชาติสำหรับเด็กนักเรียนผู้โชคดี
หมู่บ้านเล็ก ๆ ติดทะเลใกล้เขาที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนเต่า ที่ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชื่อที่เรียกกันว่า “บ้านเขาเต่า” ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพประมงมาแต่ครั้งรุ่นปู่ย่าตายาย แต่ในสมัยนั้นชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบากกว่าที่เป็นในปัจจุบันมาก ถนนหนทางก็ลำบาก เป็นดินเลนมีหลุมบ่อเต็มไปหมด ไม่มี “น้ำ” สำหรับดื่มกิน ต้องไปหาบมาจาก “ตาน้ำ” ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน และยังไม่มีน้ำสำหรับการปลูกพืชอีกด้วย อีกทั้ง “ดิน” ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกเลย
... ในวันหนึ่งของปี 2496 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปบ้านเขาเต่า โดยรถจี๊บโปโล และรถยนต์พระที่นั่งจมเลนในตะกาด ทุกคนที่ไปในวันนั้นต้องลงมาช่วยกันเข็น ตะกาดนี้ เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง เป็นที่ที่น้ำทะเลขึ้นมา เมื่อถึงเวลาน้ำลง พื้นที่ตรงนั้นก็กลายเป็นเลน ทำอะไรไม่ได้ แม้แต่ต้นไม้ก็ยังขึ้นไม่ได้ มีเพียงปูตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ปูเปี้ยว อยู่เต็มไปหมด
“หมู่บ้านเขาเต่า” จึงเป็นเสมือนโรงเรียนธรรมชาติแห่งแรก ที่ได้ทรงศึกษาปัญหาทั้งเรื่อง น้ำ และ ดิน โดยทรงเริ่มแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดของชาวบ้านที่นี่เป็นลำดับแรก โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ 60,000 บาท แก่กรมชลประทาน ก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ทำให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับชาวบ้านได้ใช้ทั้งการอุปโภค บริโภค เลี้ยงปลา รวมทั้งเพื่อการเพาะปลูกพืชอีกด้วย
“อ่างเก็บน้ำเขาเต่า” แห่งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชดำริเรื่องน้ำ ที่ทรงเห็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดว่า ...น้ำคือชีวิตของประชาชน...
เหตุการณ์ “รถจี๊บโปโลจมเลนในตะกาด” เดียวกันนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของ “การพัฒนาปรับปรุงดิน” ที่เสื่อมคุณภาพ ทรงสนพระทัยศึกษาปัญหา “ดินในตะกาด” ของบ้านเขาเต่าที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ดังนั้น จึงทรงให้ผู้เชี่ยวชาญดินชาวต่างประเทศ ตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งลงความเห็นเมื่อ 40 ปีที่แล้วว่า “เป็นดินที่พืชไม่ขึ้น เป็นดินที่เลวที่สุดในโลก”
บัดนี้ … ในบ่ายของวันที่ 6 ตุลาคม 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานที่แห่งนี้ อีกครั้งหนึ่ง แต่ในสถานภาพของ “ครู” ผู้เมตตา ทรงสอนเรื่อง ดินและน้ำ และธรณีวิทยาแก่คณะนักเรียนระดับมัธยมต้นและปลายผู้โชคดีของโรงเรียนวังไกลกังวล ที่ไม่อาจจะหาช่วงเวลาอันเป็นมงคลที่ประเสริฐกว่านี้ได้อีกแล้วในชีวิต เพราะ มีครู เป็น “ในหลวง”
“…ถ้าดินอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ปลูกอะไร มันไม่ทำงาน นี่มันทำงาน จะเห็นเป็นปม ๆ ถ้าอยากให้ดีใส่ถั่ว…”
พระราชกระแสนี้ เป็นการสอนนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวลเกี่ยวกับดิน ที่บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาลเขาเต่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ใครหลายคนคงเห็นและจำได้ดีว่า วันนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นครูสอนวิชาว่าด้วย “เรื่องดิน”
การสอนในครั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ให้เด็กนักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่นอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังสามารถจดจำได้ดีและเข้าใจมากกว่าการเรียนรู้ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทรงหาวิธีการแก้ไขปัญหาดินจาก “ดินที่เลวที่สุดในโลก” กลายเป็นดินที่สามารถ “ปลูกข้าวปลูกผัก” ได้
การปรับปรุงคุณภาพดินที่บ้านเขาเต่า ใช้วิธีการง่าย ๆ ตามแนวพระราชดำริ
“..เอาทรายมาใส่ ประมาณ 50 ซม. หรือ 1 เมตร แล้วเอาดินเชิงเนินมาใส่…” เพื่อไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปในดิน และจะได้พัฒนาดินนั้นได้
“…40 ปีกว่า 50 ปี มานี้เขาใช้อย่างนี้ เจาะลงไปเป็นดินที่เลว ใช้ไม่ได้ ปลูกหญ้าก็ไม่ขึ้น … หลายปี ดินมันก็สลายไป เปลี่ยนไปเป็นดินที่ใช้ได้ … ปลูกหญ้า ปลูกต้นไม้ … ทำให้ดินเปลี่ยนแปลง…”
ต่อมา เมื่อทรงศึกษาถึงศักยภาพของหญ้าแฝกว่ามีผลต่อการปรับปรุงคุณภาพดินด้วย ดังนั้น “…ใส่หญ้าแฝกไป หญ้าแฝกเจาะลงไปแล้วก็พาพวกจุลินทรีย์ลงไปด้วย … ดูดไนโตรเจน แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นปุ๋ยไนโตรเจน เป็นปม ๆ ทำให้ดินดีขึ้น…” ที่เขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทรงนำมาอธิบายแก่เด็กนักเรียน ว่า “…ที่เขาชะงุ้ม ทีแรกไม่ได้เป็นดิน เป็นหินลูกรัง … ก็ไปทำกลายเป็นดิน แล้วก็ปลูกพืชอะไรต่าง ๆ สามารถที่จะใช้ได้ เดี๋ยวนี้สบายมาก…”
“ยังไม่ได้เรียน” นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้น เมื่อทรงซักถามเกี่ยวกับเคมี
“อ้าว… ยังไม่ได้เรียน? เรียนเคมีมีทฤษฎี …น้ำ H2O H ไฮโดรเจน O ออกซิเจน H มี 2 … แล้วนี่ S ซัลเฟอร์ มาโดนออกซิเจน เป็น SO ผสมกับน้ำเป็น H2SO4 เป็นซัลฟูริค แอซิค ต่อไป…ถึงว่ามาทำนี่…ดร.พิสุทธิ์ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญดิน เคมีดิน แล้วก็อันนี้มาใช้อะไรได้…ไม่ได้ ถึงว่าได้นี่ เราต้องปรับปรุง เราอยากทำตรงนี้ให้ดีขึ้น… ปรับปรุงให้เป็นดินที่ไม่มีความละเอียดพิเศษ ต้องใช้เวลาอย่างที่อาจารย์ว่า ดร.พิสุทธิ์ บอกว่ายิ่งใส่น้ำแล้วเอาน้ำออกจะยิ่งเปรี้ยว บอกทำอะไรไม่ได้ ปลูกข้าวปลูกผัก…ปลูกข้าวไม่ได้”
ทรงอธิบายเรื่องแกล้งดินเพิ่มเติม ว่า “…เราจะแกล้งดิน แกล้งดินให้ดินนั้นกลายเป็นโรงงานทำซัลฟูริค แอซิค …แล้วปลูกข้าว ขึ้นมานิดหนึ่ง … มันใช้ไม่ได้ … เอาน้ำออก รอให้น้ำเข้าก่อนแล้วปลูกใหม่ ขึ้นสูงสองเท่า … ทำอย่างนี้ที่ดินที่เราทำ แทนที่จะทำปีละครั้ง ปลูกข้าวปีละครั้ง เราไปปลูกข้าวปีละสามครั้ง … ให้ดินพักหน่อย แล้วปีต่อไปทำใหม่…”
และในที่สุด “…โครงการแกล้งดิน กลายเป็นส่งเสริมดินให้ดี…”
ก่อนเสด็จฯ กลับในวันนั้น เด็กนักเรียน พร้อมใจกันกราบพระบาท ด้วยสำนึกในพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพดิน จากสิ่งที่ทรงประสบและแก้ไขปัญหาด้วยพระองค์เอง ณ ห้องเรียนธรรมชาติที่บ้านเขาเต่า นับเป็นมงคลแห่งชีวิตที่มิอาจลืมได้เลย
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
ขอบคุณเรื่องเล่าจาก วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา ฉบับเดือนธันวาคม 2544
#มูลนิธิปิดทองหลังพระ
#ทุกวิกฤติผ่านได้เพราะคนไทยไม่ท้อไม่ถอย
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง
#สืบสานพระราชปณิธาน
#ศาสตร์ของพระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
#พอเพียงเพื่อยั่งยืน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
Website:
www.pidthong.org
Twitter:
twitter.com/pidthong
Instagram:
instagram.com/pidthonglangphra
YouTube:
https://goo.gl/6d37Fv
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3239021692877536&id=100003092102872&sfnsn=mo&extid=yhtVlGC6ZncScfS3
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย