19 ก.ย. 2020 เวลา 06:00 • การศึกษา
“สกรูปั้ม (Screw pump)” เป็มปั้มชนิด Positive Displacement pump อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมของเราครับ
และปั้มชนิดนี้ยังถือเป็นการดีไซน์แบบเดียวกับปั้มโบราณ (287 B.C.) ในยุคสมัยอาร์คิมิดิสปั้ม (Archimedes’s pump) ที่ออกแบบมาเป็นลักษณะของสกรูไว้ใช้สำหรับวิดน้ำมาใช้ในสมัยนั้น
โดยสกรูปั้มจุดเด่นหลักๆของเค้าคือ “สามาถปั้มของที่มีความเหนียวหนืดได้ดี”
โดยสกรูปั้มอาจจะสามารถจำแนกได้ตามจำนวนของสกรู (Screw) ด้านใน เช่น
- สกรูเดี่ยว (Single Screw)
- สกรูคู่ (Twin Screw)
- สกรูหลายตัว (Various Screw)
โดยหลักการทำงาน คือ (ตามภาพด้านล่างนะครับ) “ของเหลวจะถูกส่งอัดผ่านตัวสกรู (Screw rotor) ภายในห้อง (Screw rotor) และไหลไปตามห้อง”
จากขาเข้าไปที่ขาออก โดยมีต้นกำลังขับมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor driver) และมีแม็คแคนิคอลซีล (Mechanical seal) กันรั่วที่คอเพลาไม่ให้ของเหลวด้านในไหลออกมาด้านนอก
โดยข้อดีคือ
- สามารถปั้มของเหลวที่มีความหนืดสูงได้
- มีระยะด้านใน (Clearance) ที่สูงและระบายอากาศ (Cavity) ได้ดี
- มีการสั่นสะเทือนที่ต่ำ (Low vibration)
- มีความสามารถในการดูดน้ำได้ดี หรือ Self priming
- มีย่านการใช้งานที่กว้าง (Wide range of operation; flow, head)
แต่ก็มีข้อเสีย คือ
- มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากมีการสึกหรอที่สูงจากระยะด้านในที่ต่ำ (Closed tolerance & running clearance)
- มีการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิ์ภาพ (Pump performance) ที่สูง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความหนืด (Viscosity)
-ต้องระวังเรื่องการทิ้งคราบตะกอนด้านในหลังใช้งานเสร็จซึ่งจะไปยึกเกาะช่องว่างเล็กๆด้านใน และเสียหายได้
ซี่งสุดท้ายนี้ปั้มแต่ละชนิดก็จะเก่งที่สุดในจุดใช้งานของเค้านะครับ ดังนั้นการเลือกใช้งานปั้มให้เหมาะสมจึงเป็นหน้าที่สำคัญเลยที่เดียว
แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ
#นายช่างมาแชร์ #screwpump #engineering #อุตสาหกรรม #industrialdesign
โฆษณา