Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความรู้เรื่องถ่ายภาพและกล้องถ่ายภาพ
•
ติดตาม
19 ก.ย. 2020 เวลา 06:36 • ถ่ายภาพ
EP2
Shutter speed
ความเร็วชัดเตอร์
จากบทความEP1 ที่ว่ากันในเรื่องรูรับแสง เราได้รู้กันแล้วว่ามีความสำคัญอย่างไร
บทนี้เราจะมาพูดถึงความเร็วชัตเตอร์ หรือshutter speed ที่ทำงานควบคู่กันกับรูรับแสง (ต่อไปนี้ผมจะเรียกรูรับแสงว่า f-stopแล้วกันนะครับ) ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
อย่างที่บอกไปครับว่า f-stopมีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะตกกระทบลงสู่ฟิล์ม หรือเซนเซอร์รับภาพ แต่จะรู้ได้อย่างไรล่ะครับว่า จะให้แสงนั้นตกลงบนฟิล์ม หรือเซอเซอร์นานขนาดไหน? ใช่แล้วครับ ก็ต้องอาศัยความเร็วชัตเตอร์นั่นเองมาเป็นตัวกำหนดให้แสงตกลงบนฟิล์ม หรือเซนเซอร์นานเท่าใดนั่นเอง
ถ้าบางท่านยังงงอยู่ ตามมาครับ
หากเปรียบรูรับแสงเหมือนตาคน นั่นคือเรารับแสงเข้ามาตลอดเวลาจึงเกิดภาพอยู่ตลอดเวลา หากเราหลับตาก็คือไม่ให้แสงเข้าตา เราก็มองอะไรไม่เห็น...นั่นก็คือ แสงไม่ตกกระทบผ่านรูม่านตา ภาพก็ไม่เกิดนั่นเอง ฉันใดฉันนั้นครับ กล้องเช่นเดียวกัน ถ้าเปิดรับแสงตลอดเวลาก็ไม่สามารถกำหนดว่าแสงจะเข้ามาเท่าใด ผลที่ออกมามีความเป็นไปได้สูงที่ภาพอาจจะoverนั่นเองครับ (รับแสงมากเกินไป) อย่างไรก็ตาม นักถ่ายภาพดวงดาวตอนกลางคืน หรือถ่ายภาพพลุ อันนี้เป็นข้อยกเว้นนะครับ เพราะช่างภาพเหล่านั้นรู้วิธีการควบคุมแสงที่จะเข้าสู่กล้องถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี ทำให้ภาพออกมาไม่overนั่นเอง วิธีการถ่ายภาพเหล่านั้นผมไม่ขอพูดถึงเพราะคิดว่าหาได้ทั่วไปในเว็บอื่นๆ หรืออยากให้เล่าก็บอกมาได้นะครับ ไม่เคยหวงอยู่แล้ว
อีกนิดครับการที่ช่างภาพกลางคืนเหล่านั้นให้กล้องเปิดรับแสงแบบควบคุมเอง เหมือนกับเราลืมตาอยู่ และเมื่อใดที่เขาต้องการปิดรับแสง เขาก็ปิด "ชัตเตอร์" นั่นเอง เหมือนกับการให้กล้องหลับตานั่นเองครับ โดยการที่เปิดชัตเตอร์ค้างไว้นี่ทางภาษากล้องเขาเรียกว่า "Bulb" ถ้าใครจะลองใช้โหมดนี้แนะนำให้ใช้คู่กับสายลั่นชัตเตอร์ หรือใช้รีโมทเอานะครับ ภาพจะได้ไม่สั่น เพราะถ้าใช้นิ้วกด ดูจากในจอกล้องอาจจะดูไม่เบลอ เพราะจอกล้องบางครั้งความละเอียดได้แค่ประมาณนึงเท่านั้น พอมาเปิดดูในจอใหญ่จะพบว่าภาพเบลอครับ
คราวนี้เมื่อเรารู้กันแล้วว่าf-stopทำหน้าที่ควบคุมแสงที่ผ่านเข้ามา shutter speedทำหน้าที่กำหนดเวลาที่แสงจะเข้ามาตกกระทบสู่กล้อง และฟิล์ม
ต่อไปในเรื่องเชิงเทคนิค คือกล้องจะมีการกำหนดเป็นตัวเลขขึ้นมา ในเรื่องของเวลาในการที่จะให้แสงตกกระทบลงบนเซนเซอร์ หรือฟิล์ม โดยทั่วไปจะมีดังนี้ครับ
ไผมจะไล่ตั้งแต่เปิดนานสุดคือ Bulb(เปิดชัตเตอร์ค้าง) เปิดค้าง 30sec, 20sec,.... ไปจนถึง 1/3000sec หรือมากกว่านั้น
อาจยังงงนิดๆนะครับว่า 1/... นี่คืออะไร หน่วยเป็นวินาทีครับ นั่นหมายถึง ถ้า1/3000 คือ เศษ1ส่วน3000วินาที เราอาจจะจินตนาการไม่ออก ผมหาข้อมูลมาว่ามนุษย์เรามีความเร็วในการกระพริบตาที่ 1/1000 (หากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ) นั่นหมายถึงว่า กล้องที่มีความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/3000 นี่คงเร็วแบบจินตนาการไม่ออกกันเลยที่เดียว ซึ่งความเร็วชัตเตอร์ขนาดนี้เขานิยมถ่ายภาพพวกกีฬา หรือวัตถุที่มีความเร็วสูงมากเพื่อหยุดวัตถุนั้นให้นิ่งในภาพถ่ายนั่นเองครับ
โดยทั่วไปแล้วผมยังไม่เคยใช้ที่ความเร็วขนาดนั้นเลย ถ่ายภาพทั่วไปใช้อย่างมาก ไม่เกิน 1/1000แน่นอนครับ
พูดมาเยิ่นยาว เข้าใจกันหมดแล้ว คราวนี้มาถึงความสัมพันธ์ของf-stopกับshutter speed กันเสียทีว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และเราจะควบคุมมันได้อย่างไร
อย่างนี้ต้องยกตัวอย่างครับ ไม่งั้นอาจงง
สมมุตว่าเราจะ "ถ่ายภาพบุคคล" ในสวนสาธารณะ หรือที่เราไปเที่ยว ใน "ตอนกลางวัน" แดดออกดี "ถ่ายกลางแจ้ง" เราต้องการให้หลัง "เบลอ" สวยๆ
ถ้าโจทย์เป็นอย่างนี้จะถ่ายที่f-stopและshutter speedที่เท่าไหร่ครับ (ISO100 แล้วกันครับ) ติ๊กต๊อกๆๆๆ
เฉลย มันอาจไม่ตายตัวนะครับ แต่ผมเอากลางๆไว้ก่อน ขึ้นอยู่กับปัจจัยกล้องของเราด้วย โดยปกติค่าจะอยู่ที่ F2.8-5.6, 1/250-1/500
ตั้งค่าแบบM (Manual) ตามนี้ภาพที่ได้ก็จะหลังเบลอสวยๆแน่นอนครับผม
อธิบายขยายความนิดนึง...ที่บอกไปครับว่ายิ่งรูรับแสงกว้าง(เลขน้อย)ด้วยคุณสมบัติของเลนส์จะทำให้ภาพฉากหลังเบลอโฟกัสเน้นที่วัตถุ พอเลขน้อยกว้างทำให้แสงเข้ามามาก เราเลยต้องทำให้ความเร็วชัตเตอร์ปิดเร็วขึ้น เพื่อให้โทนของภาพออกมาได้แสงที่พอดี ไม่over/under แบบนี้งงไหมครับ...สมมุตว่าถ้า 1/80ล่ะ จะเป็นยังไง แบบนี้ภาพอาจออกไปโทนสว่างมากเกินไป หรือover เพราะf-stopก็กว้างshutter speedก็ไม่เร็วพอที่จะให้แสงเข้าไปแบบพอดี(แสงเข้ามากเกินไป) ทำให้ภาพออกมาoverนั่นเอง ในทางตรงกันข้ามหาก shutter speed ที่ 1/1500 ภาพอาจunder เนื่องจากแสงเข้าไม่พอนั่นเอง ไม่งงใช่ไหมครับ
อีกตัวอย่างแล้วกันครับ สมมุติว่าจะถ่ายภาพ "น้ำตก" ในอุทธยาน "ป่าครึ้มๆ" ถ่ายตอน "กลางวัน" เราอยากให้น้ำตกเป็น "สายๆนวลสวยๆ" ต้องถ่ายอย่างไร (ISO100)
เราควรตั้งค่าไปที่ F22, 3sec หรือนานกว่านั้นแล้วแต่เลยครับ ที่สำคัญลืมหรือยังครับว่ายิ่งเปิดshutter speedนานๆ ต้องใช้ขาตั้งกล้องกับสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทนะครับ ภาพที่ได้คมชัดสวยงาม อัดภาพออกมาแจ่มแน่นอนอวดที่บ้านได้เลยครับ
สำหรับเหตุผลลองคิดกันดูด้วยconceptเหมือนตัวอย่างแรกครับ ใครคิดไม่ออกถามมาได้ครับ อยากลองให้คิดดูเองครับจะได้จำได้ ถ่ายไปเรื่อยๆไม่ต้องจำเลยครับ เพระาจริงๆมันไม่ได้ตายตัว แค่รู้หลักเราสามารถปรับเปลียนได้ตามใจชอบเลย
แถมเรื่องขาตั้งกล้องนิดนึงครับ นักถ่ายภาพกับขาตั้งกล้องนี่เป็นเหมือนแขนกับขา ขาดกันไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น หากคิดจริงจังกับการถ่ายภาพแล้วล่ะก็ ควรหาขาตั้งกล้องดีๆสักอันครับ เอาแบบใช้ไปตลอดชีวิตเลย อย่าไปเสียดายเงินกับขาตั้งกล้องแพงๆ เพราะมันคุ้มค่าจริงๆครับ อย่างผมตอนฝึกถ่ายภาพใหม่ๆ ก็ศึกษามาบ้าง เลยซื้อมายี่ห้อนึงของเยอรมัน ครูสอนถ่ายภาพมาบอกว่าใช้ได้ตลอดชีวิตเลยนะนี่ดีแล้ว จนทุกวันนี้ผมก็ยังใช้อยู่เลยครับ แถมผมไม่เคยมีปัญหากับขาตั้งกล้องตัวนี้เลย ถึงแม้น้ำหนักมันจะมากหน่อย แบกไปไหนมาไหนลำบาก แต่ความมั่นคงแน่นหนา และแข็งแรงนั้นหายห่วงครับ ไม่ทำให้ภาพงานเราเสียแน่นอน อย่างไรก็ตามสมัยผมมันน่าจะเกือบ20ปีแล้ว สมัยนี้เทคโนโลยีที่ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา และแข็งแรง มั่นคง มีออกมาเรื่อยๆ ลองไปซื้อหากันดูครับ
ขออภัยที่บทความนี้ยาวไปนิด แต่หากใครอ่านจนจบก็ขอขอบพระคุณมากครับ เขียนมาแบบปรื้ดๆเลย อยากให้ทุกคนได้ความรู้จากบทความนี้กลับไป สำหรับEPหน้าจะว่ากันเรื่อง ISO ครับ อันนี้สัมพันธ์กับ f-stop และ shutter speed เหมือนกัน (ทำไมวุ่นวายจัง) แต่ถ้าเข้าใจ3ตัวนี้ว่าทำงานร่วมกันอย่างไร ก็แทบจะถ่ายภาพได้สวยกว่าเดิมแบบหน้ามือเป็นหลังมือแล้วล่ะครับ ผมกล้ารับประกัน เพราะ3สิ่งนี้แม้ช่างภาพอาชีพก็ต้องใช้อยู่ประจำ เพราะมันเป็นหลักการbasicของกล้องนั่นเอง พบกันใหม่EPหน้า ขอบคุณที่อ่านจนถึงบรรทัดสุดท้ายครับ
บันทึก
9
2
9
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย