20 ก.ย. 2020 เวลา 09:49 • ไลฟ์สไตล์
"กว่าง" นักสู้แห่งขุนเขา
การชนกว่าง หรือ แมงคาม (ภาษาอีสาน) เป็นการประเพณีการละเล่นพื้นบ้านของคนภาคเหนือมาอย่างยาวนาน โดยส่วนมากจะมีในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนเดือนสิงหาคม ไปจนถึงปลายเดือนตุลาคมเป็นคนไป
กว่างเป็นสัตว์จำพวกแมลงปีกแข็ง มี 6 ขา สีน้ำตาลเข้ม-ดำ ตัวผู้มีเขาโค้งยาวบน-ล่าง แล้วแต่สายพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะไม่มีเขา จะออกหากินในช่วงเวลากลางคืน อาหารหลักคือจำพวกผลไม้หรือพืชผักบางชนิด
วัฏจักรชีวิตของกว่างนั้น จะวางไข่และเป็นตัวอ่อนอยู่ในดินเป็นเวลา 1-2 เดือน จากนั้นจะกลายเป็นดักแด้อีก 1 ปี ถึงจะเป็นตัวเต็มวัยซึ่งมีชีวิตเพียง 2-3 เดือนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
Credit. mgronline
วิธีการหากว่างมาชนนั้น จะไปหาตามต้นไม้ในช่วงเช้า หรือใช้อ้อยปอกเปลือกเอากว่างตัวเมีย หรือกว่างตัวผู้อีกตัวผูกไว้ แล้วนำไปแขวนตามสถานที่ที่คาดว่ากว่างจะบินผ่านในตอนเย็น ทิ้งไว้ทั้งคืนแล้วกลับมาดูในช่วงเช้าอีกวัน
ในการชนกว่างนั้นจะใช้เวทีสำหรับชนกว่างที่เรียกว่า คอนไม้ ทำมาจากแกนไม้ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ยาวประมาณ 25-30 นิ้ว โดยจะเจาะรูตรงกลางไว้สำหรับใส่ตัวเมีย เพื่อให้ตัวผู้ได้กลิ่นและจะทำการต่อสู้กัน
เมื่อกว่างขึ้นเวทีพร้อมสำหรับการชนแล้ว จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ไม้ผั่นกว่าง ยาว 5-8 นิ้ว ตรงกลางใส่แผ่นสังกะสีหรืออลูมิเนียม เมื่อทำการหมุนจะเกิดเสียง เพื่อสร้างความฮึกเหิมให้กับกว่างที่ชน
Credit. technologychaoban
กฏกติกาในการชนกว่างนั้นเริ่มแรกจะทำการจับคู่กว่างที่มีขนาดเหมาะสมกัน (คล้ายๆกับการจับคู่มวย) โดยดูจากขนาดของลำตัว ขนาดความยาวของเขา เพื่อไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน
การชนกว่างจะนับเป็นคาม (ยก) โดยปกติตกลงกันที่ 12 คาม (ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน) เมื่อกว่างตัวใดสามารถดันคู่ต่อสู้ให้ถอยหลังจนถึงเส้นจะนับเป็น 1 คาม และจะเริ่มนำกว่างมาชนใหม่ที่กลางคอนไม้ แต่ถ้าเกิดมีกว่างตัวใดไม่ยอมสู้หรือเดินหนีเกินกว่า 3 ครั้งจะถือว่าแพ้ ถ้ากรณีครบ 12 ยกแล้วไม่มีตัวใดชนะถือว่าเสมอกันไป
นอกจากการชนกว่างแล้วก็ยังการประกวดแข่งขันความสวยงายมของกว่าง ซึ่งในปัจจุบันทางภาคเหนือยังเป็นที่นิยมอยู่มาก โดยบางจังหวัดหรือบางพื้นที่มีการจัดให้เป็นงานประเพณีหรืองานเทศกาลประจำปีอีกด้วย
โฆษณา