19 ก.ย. 2020 เวลา 15:13 • สุขภาพ
เจาะสาเหตุการเสียชีวิตของชายไทยคนล่าสุด
ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบการเสียชีวิตครั้งนี้!!!
1
ภาพนายหมัด มะมิน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวด้วยจริงๆค่ะ (ขอบคุณภาพจากไทยรัฐ online)
เคสนี้เป็นชายอายุ 54 ปี มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
ติดเชื้อจากที่ซาอุดิอาราเบีย โดยพบเชื้อตั้งแต่วันที่ 21 กค. (หรือประมาณ 54 วันที่แล้ว) และมีประวัติการหายใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวตั้งแต่ที่ซาอุฯแล้ว เป็นเหตุให้ต้องทำการ cardiopulmonary resuscitation หรือปั๊มหัวใจ หลังรักษาตัวที่ซาอุฯ เอาท่อช่วยหายใจออกได้ แต่ยังจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนอยู่ พอจะเดินทางได้ก็ขึ้น Air ambulance กลับมาเมืองไทยพอไหว แต่ขณะนั้นอาการไม่ได้ดีมากนักเพราะออกซิเจน ใช้ขนาดสูงอยู่
1
และตอนนั้นก็พบว่า PCR COVID-19 เป็นลบแล้วด้วย ก่อนจะมาไทย
เดินทางถึงไทยวันที่ 2 กย. เข้ารพ.ราชวิถี หลังจากนั้นเพียง 1 วัน คือวันที่ 3 กย. อาการก็หนักลง ต้องหายใจเองไม่ไหว ต้องใช้ท่อช่วยหายใจอีกครั้ง หลังจากนั้นก็เริ่มมีอาการปอดติดเชื้อ และความดันโลหิตตกจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องใช้ยากระตุ้นความดันมากมาย จนเป็นเหตุให้อวัยวะต่างๆทำงานไม่ไหว และเสียชีวิตในที่สุด
2
สาเหตุหลังสุดที่ทำให้เสียชีวิตคือ “ติดเชื้อในกระแสเลือด” ซึ่งเชื้อนั้นคือเชื้อ "ดื้อยา" รุนแรง ที่เรียกตัวย่อว่า CRAB หรือ Carbapenem resistance Acinetobacter baumanii
1
สาเหตุที่ติดเชื้อ เป็นจาก
1. ตัวผู้ป่วยเอง อยู่ในสภาวะภูมิต้านทานต่ำมากๆ เพราะตัว COVID-19 เอง เพราะการเจ็บป่วยที่รุนแรงก่อนหน้านี้ด้วย และเป็นไปได้ว่าจากยาที่ได้ ต่างๆ มักจะมีผล กดภูมิต้านทานลง เช่น steroid เป็นต้น
2
2. เชื้อตัวนี้ดื้อยา ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมกันมากมาย จนเชื้อแบคทีเรียมันก็พัฒนาตนเอง ตัวไม่ดื้อก็ตายๆไป ตัวไหนดื้อ ก็รอด พอใช้ยากันเยอะๆๆ ตัวที่หลุดรอดก็มีมากขึ้นๆๆเรื่อยๆ
1
3. เชื้อตัวนี้อยู่ในโรงพยาบาล ในสิ่งแวดล้อมต่างๆในโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นแหล่งรวมการใช้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมมากที่สุดในโรงพยาบาล ยิ่งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ต้องพูดถึง เพราะใช้เยอะมากๆๆๆ จนมีเชื้อพวกนี้เต็มไปหมด สังเกตได้จากเวลาที่คุญไปเยี่ยมคนไข้ จะเห็นพยบ.แขวนป้ายตัวย่อภาษาอังกฤษ เช่น CRAB, CRE, CRAO, VRE, MRSA, ESBL ฯลฯ
3
ภาพจากรพ.นางรอง
เชื้อพวกนี้ บางตัวไม่มียาปฏิชีวนะเหลือให้ใช้แล้วนะคะ คือ มันดื้อหมดทุกตัวแล้ว ดังนั้น ถ้าเป็นขึ้นมา ก็มีแต่จะเสียชีวิตเท่านั้น
Acenitobater baumannii (หมอๆชอบเรียกว่า เอ บอม) หน้าตาน่ารัก แต่ร้ายมากๆ
**สิ่งที่ทางแพทย์ทำได้ คือป้องกันการติดเชื้อเท่าที่ทำได้ คือ ล้างมือ ใส่ชุดเสื้อคลุมตรวจคนไข้ ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะให้สมเหตุสมผล (เท่าที่ทำได้)
*****ในด้านประชาชน ขอให้ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้เท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการไปซื้อยา “แก้อักเสบ” หริอยาฆ่าเชื้อ กินกันเอง โรคที่ใช้กันมั่วๆบ่อยๆคือ ท้องเสีย หวัด ซึ่งจริงๆ 90% ของโรคนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อเลย การใช้บ่อยๆ ก็เสริมให้เกิดการดื้อยาขึ้นมานั่นเอง
ภาพจากผู้จัดการ online
สาเหตุการติดเชื้อในโรงพยาบาล ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน ICU ประเทศไทย จัดเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ (จริงๆก็ระดับโลกเลย) ซึ่งเคสล่ามคนนี้ ก็หนีไม่พ้นเช่นกัน
ดังนั้นการเสียชีวิตของล่ามไทยคนนี้ ทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบ ช่วยกันป้องกันเท่าที่ตนเองจะทำได้นะคะ
### ลด ละ เลิก การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ###
โฆษณา