Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โครงการสุขภาพของคน คือ สุขภาพของชาติ
•
ติดตาม
22 ก.ย. 2020 เวลา 05:10 • สิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี และการเตรียมน้ำตัวอย่าง BOD
บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD)
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีเป็นการวิเคราะห์เพื่อที่จะทราบถึงปริมาณความสกปรกของน้ำเช่น น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการออกแบบระบบบำบัด ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งและประสิทธิภาพของระบบ โดยคิดเปรียบเทียบในรูปของปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดี การหาค่าบีโอดีของน้ำนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีขึ้นอยู่กับความสกปรกมากน้อย ของน้ำคือ
1. direct method ใช้ในกรณีที่ตัวอย่างมีค่าบีโอดีไม่เกิน 7 mg/L ไม่จำเป็นต้อง นําตัวอย่างนั้นมาเจือจาง สามารถหาค่าบีโอดีได้เลย
2. dilution method ใช้ในกรณีที่น้ำตัวอย่างมีควาบีโอดีเกิน 7 mg/L การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีด้วยวิธี direct method การหาค่าบีโอดีโดยตรงมีขั้นตอนดังนี้ เติมออกซิเจนลงในน้ำตัวอย่าง
ถ่ายน้ำตัวอย่างที่อิ่มตัวด้วยอากาศลงในขวดบีโอดี 2 ขวด นําขวดบีโอดีขวดที่1 มาหาค่า DO ของจุดเริ่มต้น (DO0 )
ส่วนขวดบีโอดี ขวดที่ 2 นําไปบ่มที่ตู้บ่มบีโอดี 20 ± 1องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน แล้วนํามาหาค่า DO ของวันที่ 5 (DO5 ) 4. BOD5 = DO0 ± DO5 การวิเคราะห์ค่าบีโอดีด้วยวิธี dilution method ในการวิเคราะห์หาค่าบีโอดีด้วยวิธี dilution method มีข้อควรคํานึงดังนี้ 1. การเจือจาง การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีด้วยวิธีนี้ใช้กับตัวอย่างน้ำที่มีความสกปรก มาก เช่น น้ำเสียจากบ้านเรือน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเหล่านี้จะมีค่าบีโอดีสูงเกินความเข้ม ข้นของออกซิเจน
การเตรียมน้ำตัวอย่าง
ตวงน้ำตัวอย่างปริมาตร 1 ลิตรในกระบอกตวง เทลงในถังเติมอากาศอย่างน้อย 20 นาที เพื่อให้น้ำอิ่มตัวด้วยปริมาณออกซิเจน
การทำ DO0
1. 1. ตวงน้ำตัวอย่างใส่ขวดบีโอดีด้วยวิธีกาลักน้ำ โดยระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ หากเกิดให้ใช้แท่งแก้วเคาะเบาๆ ที่ข้างขวด
2. 2. เติมแมกนีเซียมซัลเฟตลงไป 1 มล. โดยใช้ปิเปตขนาด 1 มล.ดูดขึ้นมา วิธีเติมให้ปลายปิเปตแตะข้างขวดและค่อยๆ ปล่อยสารลงไป
3. 3. เติม Alkali – iodi azide ลงไป 1 มล.โดยใช้ปิเปตขนาด 1 มล.ดูดขึ้นมา วิธีเติมให้ปลายปิเปตแตะข้างขวดและค่อยๆ ปล่อยสารลงไป
4. 4. ปิดฝาและเขย่าขวดบีโอดี การเขย่าขวดบีโอดี ให้จับขวดโดยให้นิ้วชี้กดฝาขวดไว้ แล้วพลิกไปมาประมาณ 15 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที จะมีตะกอนเกิดขึ้น
5. 5. เติมกรดซัลฟุริกลงไป 1 มล. โดยใช้ปิเปตขนาด 1 มล.ดูดขึ้นมา วิธีเติมให้ปลายปิเปตแตะข้างขวดและค่อยๆ ปล่อยสารลงไป ปิดฝาและเขย่าขวดบีโอดี การเขย่าขวดบีโอดี ให้จับขวดโดยให้นิ้วชี้กดฝาขวดไว้ แล้วพลิกไปมาจนตะกอนหายไป
6. 6. ตวงน้ำตัวอย่างในกระบอกตวงขนาด 100 มล. ออก 99 มล. เพราะฉะนั้นจะเหลือน้ำในขวดบีโอดี 201 มล.
7. 7. นำน้ำตัวอย่างที่เหลือในขวดยีโอดี ไปไตเตรทด้วยโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 0.05 N จนน้ำตัวอย่างเปลี่ยนเป็นสีน้ำฟางข้าว
8. 8. หยดน้ำแป้ง 5 หยด (อินดิเคเตอร์) น้ำตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรทต่อจนสีน้ำเงินหายไป บันทึกผล
การเจือจางและชนิดตัวอย่างน้ำ
Dilution
Type of sample
0.0 – 1.0 %
1 – 5 %
5 -25 %
25 – 100 %
Strong industrial wastes
Row & settled wastewater
Biologically treated effluent
Polluted river waters
บีโอดีทีวัดได้กับอัตราการเจือจางต่างๆ
% mixture
Range of BOD
0.01
0.02
0.05
0.1
0.2
0.5
1.0
5.0
10.0
20.0
50.0
100.0
20,000-70,000
10,000-35,000
4,000-14,000
2,000-7,000
1,000-3,500
400-1,400
200-700
40-140
20-70
10-35
4-14
0-7
การบ่ม BOD (BOD incubator)
หลังจากอินคิวเบทที่ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส 5 วันแล้วนำมาหาค่าออกซิเจนละลาย ตัวอยางที่ใช้ได้จะต้องมีค่าออกซิเจนละลายเหลืออยู่อย่างน้อย 1 mg/L และมีการใช้ออกซิเจนไปอย่างน้อย 2 mg/L
ขอบคุณข้อมูลดีๆ
http://www.envi.cmru.ac.th/waterquality/chapter1_t2.html
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย