Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2020 เวลา 01:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กล้ามเนื้อชนิดต่างๆในร่างกายมนุษย์
(เรียบเรียงโดย ปณิตา ฤทธาภรณ์)
กล้ามเนื้อ(Muscle) คือ เนื้อเยื่อที่มีการหดตัวเมื่อถูกกระตุ้น ทำให้เกิดแรงต่ออวัยวะ ,ของเหลว จนถึง หรือเนื้อเยื่อรอบๆ
กล้ามเนื้อไม่ได้มีความสำคัญแค่กับการเคลื่อนที่ของร่างกายและแขนขาที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ยังรวมถึงไปกระบวนการย่อยอาหาร, กำจัดของเสีย, การหายใจ, การพูด และระบบไหลเวียนโลหิต อีกทั้งยังเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายด้วย
กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อเรียบ
2. กล้ามเนื้อหัวใจ
3.กล้ามเนื้อลาย
ซึ่งทั้งสามชนิดมีความแตกต่างทั้งรูปร่าง, สรีรวิทยา และหน้าที่
1. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจ เซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะเรียบ แหลมที่ปลายและสั้นกว่ากล้ามเนื้อลาย มีนิวเคลียสเดียวอยู่บริเวณกลางเซลล์
กล้ามเนื้อเรียบส่วนมากพบได้ที่ผนังทางเดินอาหาร, ทางเดินหายใจ ,ทางเดินปัสสาวะ, มดลูก และ เส้นเลือด รวมๆเรียกว่า ‘Visceral muscle’
ในบางบริเวณอย่าง หลอดอาหารหรือลำไส้เล็ก กล้ามเนื้อเรียบมีการเรียงตัวเป็นชั้น วงกลมและมีอีกชั้นเรียงตัวตามแนวยาว เมื่อมีการหดตัวของกล้ามเนื้อชั้นที่เป็นวงจะทำให้เกิดการดันสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น อาหาร ให้เกิดการเคลื่อนที่
กล้ามเนื้อเรียบยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมขนาดของเส้นเลือด, ความดันโลหิตและการไหลของเลือดในเส้นเลือดด้วย
2.กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle) ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างเรียวยาว เรียกว่า ‘muscle fiber’ แต่ละเซลล์ประกอบด้วยหลายนิวเคลียสอยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์
กล้ามเนื้อลายมีลักษณะ เป็นลาย (striation) และอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับแขนขา ลักษณะของลายเกิดจากรูปแบบที่เหลื่อมกันของเส้นใยโปรตีนซึ่งทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อได้
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) พบเฉพาะที่หัวใจเท่านั้น ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ มีลายคล้ายกล้ามเนื้อลาย แต่เซลล์จะมีรูปร่างสั้นกว่า เรียกว่า ‘cardiomyocytes’ มีแขนงส่วนปลายและมักมีนิวเคลียสเดียวอยู่บริเวณกลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยไกลโคเจนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์
บริเวณส่วนปลายเซลล์การเชื่อมต่อกันซึ่งรอยต่อนี้เรียกว่า ‘intercalated disc’ รอยต่อดังกล่าวทำให้เกิดการส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์ต่อไปทำให้เกิดการหดตัวและคลายตัวอย่างต่อเนื่องของหัวใจ
อ่านจบแล้วอย่าลืมออกกำลังกายนะ
กล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อหัวใจ จะได้แข็งแรงไปพร้อมๆกัน ^^
อ้างอิง
หนังสือ Human anatomy เขียนโดย Saladin
**กล้ามเนื้อหูรูดประกอบด้วยทั้งกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย มีหน้าที่ควบคุมการปล่อยปัสสาวะหรืออุจจาระที่อยู่ภายในออกจากกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่
13 บันทึก
36
2
8
13
36
2
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย