++การเลือกใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิต++
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงมีหลายกลุ่ม แบ่งตามการออกฤทธิ์ ดังนี้
•กลุ่มออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ(furosemide, amiloride) ใช้ขับน้ำออกจากเลือดทำให้ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง ความดันจึงลดลง
•กลุ่มออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์angiotensin converting (ACEI)(enalapril, captopril, lisinopril, ramipril, peridopril) ฤทธิ์ยามีผลข้างเคียงคือ “อาการไอแห้งๆ” *ไม่ใช่อาการแพ้ยา ไม่อันตราย แต่ทำให้ผู้ป่วยรำคาญ และหากส่งผลต่อชีวิตประจำวันจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับหรือเปลี่ยนยา
•กลุ่มออกฤทธิ์ปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์(CCB)(amlodipine, nifedipine, manidipine, lercanidipine) ฤทธิ์ยามีผลข้างเคียงคือ ใจสั่น, ปวดหัว, ข้อเท้าบวม, ท้องผูก
•กลุ่มออกฤทธิ์ขัดขวางการจับตัวที่ตัวรับเอนไซม์angiotensin(ARB)(losartan, irbesartan, valsartan, candesartan) ฤทธิ์ยามีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
•กลุ่มออกฤทธิ์ปิดกั้นเบต้า (atenolol, propanolol, metoprolol) ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้อัตราการเต้นหัวใจช้าลง ชีพจรช้าลงความดันก็ลงตาม *ผลข้างเคียงทำให้อ่อนเพลีย, อาการซึมเศร้า, ฝันร้าย, เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ***ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด, ถุงลมโป่งพอง***
•กลุ่มออกฤทธิ์ปิดกั้นแอลฟา(prazosin, doxazosin) ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ผลข้างเคียงทำให้หน้ามืด
•กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง(hydralazine, minoxidil) ยาออกฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ผลข้างเคียงอาจทำให้ใจสั่น
*****ผู้ป่วยบางคนต้องใช้ยา 2ชนิดหรือมากกว่า ความดันจึงจะลดลงในระดับที่น่าพอใจ ผู้ป่วยมักต้องกินยามื้อละหลายเม็ด อย่าเพิ่งเบื่อ อย่าหยุดยาเองเพราะเบื่อที่ต้องกินทุกวัน **หยุดยาเองจะทำให้ความดันกลับมาสูงจนอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ จนทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้***
*****พบแพทย์และทานยาอย่างต่อเนื่อง และตรงเวลา หากลืมทายยาในวันนั้น ให้ทานยาในมื้อวันถัดไปและไม่ต้องเพิ่มจำนวน*****
*****การปรับพฤติกรรมเช่น เลิกดื่มแอลกอฮอล์, เลิกบุหรี่, ลดการทานเกลือ(ไม่เกิน6กรัม/วัน) *****ออกกำลังกายสม่ำเสมอครั้งละ30-45นาที*****