21 ก.ย. 2020 เวลา 07:34 • นิยาย เรื่องสั้น
เรื่องสั้น เด็กเลี้ยงควาย
#วิถีชีวิตชนบท
ขอบคุณเครดิตภาพจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
เรื่องสั้น"เด็กเลี้ยงควาย"
"ควาย"หรือ"กระบือ"เป็นสัตว์ใหญ่ที่อยู่คู่ชาวนาไทยมานานแสน
นานและเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณกับคนไทยเพราะช่วยไถนาให้
ชาวนาได้ปักดํานาเพื่อปลูกข้าวให้คนได้กินตามประวัติศาสตร์
ในตําราเรียนการออกทําสงครามหลายครั้งจะเอาควายเป็น
พาหนะในการออกรบกับข้าศึกพูดได้ว่า"ควาย"เป็นสัตว์ที่มีบุญ
คุณต่อแผ่นดินก็ว่าได้
ผู้เขียนเอง@เพจเด็กเลี้ยงควาย จําความได้ว่า"เป็นเด็กเลี้ยงควาย"ครั้งแรกในชีวิต
ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่๓ด้วยความยากจนอาชีพหลักของ
ครอบครัวคือทํานา ทําสวนมันสําปะหลัง พ่อจะใช้ควายไถนา ไถ
สวน ผู้เขียนเอง ทุกเช้าวันจันทร์ถึงวันศุกร์ตื่นแต่เช้าตรู่ เพื่อ
ต้อนควายไปล่ามที่ทุ่งนาให้ไปเล็มหญ้าก่อนจะอาบนํ้า แต่งตัว
กินข้าวก่อนไปโรงเรียนแต่ถ้าเป็นวันเสาร์ วันอาทิตย์ จะเลี้ยง
ควายแบบถาวรตั้งแต่เช้าจนคํ่า
ขอบคุณเครดิตภาพท่านผลงานของ อ.คงฤทธิ์ หลาวทอง
"หนังสติ๊ก"คืออาวุธประจําตัวของ"เด็กเลี้ยงควาย"ทุกคนจะ
ต้อง"มีหนังสติ๊ก"บางคนรัก หวง หนังสติ๊กมากกลัวหาย ถึงขนาด
ใช้คล้องคอ บางคนใส่ย่ามสพายพร้อมลูกกระสุน ปั้นจากดิน
เหนียว ลุกกลมๆประโยชน์ของ"หนังสติ๊ก"เอาไว้ล่าสัตว์ นก หนู
กิ้งก่า งูสิงห์ บางครั้งยิงมะม่วงให้ล่วงลงจากกิ่งเพื่อมากินก็มี
ไม่มีอะไรยิงจริงๆ"เด็กเลี้ยงควาย"ก็จะปั้นดินเป็นก้อนกลมๆแล้ว
ใช้"หนังสติ๊ก"ยิงประลองฝีมือกันเพื่อตัดสินว่าฝีมือไครแม่นกว่า
กันไครแพ้อาจโดนลงโทษด้วยการให้ผู้ชนะเขกเข่า หรือไปตัก
นํ้าที่บ่อดินมาให้เพื่อนกิน การลงโทษแล้วแต่จะตั้งกติกากันขึ้น
มาสนุกสนานเฮาฮาตามประสา"เด็กเลี้ยงควาย"
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
การละเล่นของ"เด็กเลี้ยงควาย"ที่สร้างความสนุกสนานมีหลาย
อย่างขณะที่ปล่อยความเล็มหญ้าตามชายทุ่งช่วงอากาศร้อนก็
จะลงเล่นนํ้าในสระเล่นมุดไล่จับกัน เล่นซ่อนหา บางครั้งเล่นมุด
เอาขี้โคลนมาฟาดใส่กันก็มี บางครั้งเล่นกระโดดเชือก ขี่ขา
โปกเปก เล่นฟันดาบเหลามาจากไม้งิ้ว ขี่ม้าก้านกล้วย โหนเถาวัลย์
ส่วน"เด็กเลี้ยงควาย"ผู้หญิงจะนิยมเล่นกระโดดหนังยาง ดีดเม็ดมะขาม โยนลูก
เก็บเล่นลิงชิงหลัก บางครั้งมี"เด็กเลี้ยงควาย"ผู้ชายจอมชน ไป
ชิง"เด็กเลี้ยงควายผู้หญิง"กระโดดหนังยาง เด็กผู้หญิงวิ่งเอากํา
ปั้นไล่ทุบหลัง เด็กผู้ชายวิ่งหนี อยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน ทั้ง
โกรธให้กันทั้งหัวเราะเยาะกัน.
"พักเที่ยง"เด็กเลี้ยงควายจะต้อนควายไปลงกินนํ้าในสระแล้ว
ต้อนควายไปล่ามใต้ต้นไม้ใหญ่ใบหนาเพื่อให้ควายได้นอนพัก
ผ่อนในตอนกลางวัน หลบไอร้อนของแดด"เด็กเลี้ยงควาย"ก็จะ
ไปรวมตัวกันที่"เถียงนามุงฟาง"ไครมีกับข้าวก็มาแบ่งกินกันขาด
ไม่ได้คือ"ห่อข้าวเหนียว"บางคนห่อ"แจ่วบอง"มาจากบ้านก็มีปิ้ง
ปลาแห้งก็มี บางครั้งจะใช้"หนังสติ๊ก"เป็นอาวุธ เพื่อไล่ล่า นก
หนู กิ้งก่า มาปิ้ง อ่อม เป็นอาหาร เพื่อแบ่งปันกันกิน บางครั้งจะ
เก็บหน่อไม้ ใบย่านาง ผักพาย มาแกงเปอะกินด้วยกัน ส่วนนํ้า
ดื่มก็มีในตุ่มบนเถียงนาตักมาจากบ่อดินอยู่ปลายนา
"วิทยุ"AMใช้ถ่านแบบมีหูหิ้วขณะที่กินข้าวอยู่บน"เถียงนา"ขณะ
ที่เด็กเลี้ยงควายนั่งล้อมวงกินข้าวกันอย่าเอร็ดอร่อยจะเปิดฟัง
ละครวิทยุจาก"คณะเกศทิพย์"กินไป ฟังละครวิทยุไป ไม่มีไคร
เอ่ยปากพูดสักคํา บางคนเอียงหูฟังละครวิทยุ ลุ้นฟัง พอละคร
จบหรือช่วงพักโฆษณา ถึงมีคนเอ่ยเสียงออกมาว่า"สงสาร
พระเอกนางเอกไม่เข้าใจพระเอกเลย"บางครั้ง"เด็กเลี้ยง
ควาย"จะเปิดวิทยุฟังเพลงลูกทุ่ง จากสถานีวิทยุ บางเพลงที่กํา
ลังฮิตฟังแล้วฟังอีก จนเด็กเลี้ยงควายร้องตามได้ บางคนร้องไป
ฟ้อนไป เต้นไปตามจังหวะเพลง
กินข้าวเสร็จเที่ยง"เด็กเลี้ยงควาย"จะพากันนอนพักผ่อนบนเถียง
นาเปิดวิทยุฟังเพลงหาผลไม้ตามฤดูกาลมากินกัน มะม่วงเปรี้ยว
แจ่วเกลือบ้าง บางที่จะมีมะขามอ่อนจิ้มปลาร้า บางครั้งจะปีนขึ้น
ไปกินลูกหว้าสุกบนต้น มีหลายครั้งห่อแจ่วปีนไปกินบนต้น
มะม่วง เด็ดมะม่วงอ่อน มาจิ้มแจ่วกินบนต้นก็มี บางคนซนดื้อถึง
ขนาดปวดเยี่ยวไม่ยอมลงจากต้นมะม่วง เยี่ยวลงมาด้านล่างเลย
ก็มีเพราะขี้เกียจปีนลงมา.
พอตะวันพลบคํ่า"เด็กเลี้ยงควาย"จะต้อนควายเพื่อให้เล็มหญ้า
ตามชายทุ่งมุ่งหน้าสู่หมู่บ้าน บางคนไม่ยอมเดินขึ้นนั่งหลังควาย
สะพายย่ามหนังสติ๊กคล้องคอเพื่อควบคุมฝูงควายเข้าหมู่บ้า
นท่ามกลางฝุ่นดินตลบอบอวล จากการยํ้าเท้าของฝูงวัว ก่อน
ตะวันจะลับขอบฟ้า
ทุกวันนี้"วิถีชีวิตชชนบท"เปลี่ยนไปตามกาลเวลาเพราะ
เทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้ามามีบทบาท"เด็กเลี้ยงควาย"
ก็แทบจะไม่มีเพราะมี"ควายเหล็ก"มาแทน(รถไถนา)เด็ก
บางคนเกิดมาไม่เคยเห็นควายตัวจริงเลย เคยเห็นแต่ในหนังสือ
แบบเรียนท่อง ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก มีรูป ค ควาย เป็นภาพประกอบ
อีกอย่างผู้เขียนไม่อยากให้คนกล่าวพาดพิงถึง"ควาย"เวลา
ทะเลาะกันเพราะ"ควาย"ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย แต่ควาย
เป็นสัตว์ที่มี"บุญคุณ"อย่างมากมายกับ"คนไทย"ตางหาก.
-ขอบคุณที่ติดตามจากใจ
-เรียงเรียงโดย @เพจเด็กเลี้ยงควาย
๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
โฆษณา