22 ก.ย. 2020 เวลา 02:44 • นิยาย เรื่องสั้น
เรื่องสั้น นอนนา
#วิถีชีวิตชนบท
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
✍️การนอนนามีการเริ่มต้นมาแต่สมัยไหนยังไม่มีตําราเล่มไหนเขียนไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่ผู้เขียน จําความได้ก็ได้สัมผัสกับการนอนนาตั้งแต่จําความได้ครับน่าจะอายุประมาณ 6 ขวบไปนอนนากับพ่อแม่
✍️คนอีสานบ้านเฮาจะเริ่มไปนอนนาตั้งแต่ช่วงจะลงมือทํานาคือเดือน 6 ฝนเริ่มตกพรํ่าๆจะเดินทางระหว่างบ้านไปนาบางคนก้อยู่ไกลหลายกิโล อีกอย่างฝนตก ยากลําบากกับการ ต้อนวัวควายไปกลับระหว่างทุ่งนากับบ้าน เลยปักหลักนอนนาไปเลย ไม่ต้องเทียวไปเทียวมา
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
✍️สิ่งที่เตรียมไปในการนอนนา ของใช้จําเป็นต่างๆเสื้อผ้าใส่ทํานา เกลือ ข้าวสาร ตะเกียงนํ้ามันก๊าซ ขาดไม่ได้คือปลาร้า ส่วนเรื่องกับข้าว ผัก ปลา นก หนู อาหารอื่นๆจะหากินตามที่มีอยู่บริเวณทุ่งนาป่าข้าว จะเข้าไปในหมู่บ้านอีกทีในเมื่อข้าวสารหมด ไปตําเอาข้าวจากครกกระเดื่องหรือครกไม้ตําด้วยสากขนาดใหญ่
3
✍️ช่วงปักดํานาจะปักเบ็ดตามขอบคันนา เหยื่อใส่ปลานั้น ขุดเอาใส้เดือนแถวๆนั้นพอเช้าเริ่มมองเห็นพอรางๆก็จะทําการเดินไปยามเบ็ดที่ปักไว้ขณะที่ไล่ยามไปเรื่อยๆสายตาจะมองไปเบ็ดคันถัดไปเบ็ดคันไหนโก่งๆแสดงว่าปลากินเหยื่อ..แล้วมีลุ้น..แต่พอไปดึงคันเบ็ดขึ้นมากับเป็น..ปูนา..กินเหยื่อแล้วดึงเบ็ดไปพันรอบกอข้าวก็มีห้าห้าห้า
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
✍️ช่วงตีข้าว(นวดข้าว)ลมหนาวเริ่มเข้ามาไกล้ปีใหม่บางคืนนอนเหน็บหนาวถ้าเป็นนอนซุ้มจะไม่หนาวเท่านอนบนเถียงนาเพนาะมีฟางกันลมและไออุ่นจากฟาง(กระท่อม4เหลี่ยมมุงและกันลมด้วยฟางข้าว) จะได้ยินเสียง"ว่าวธนู"เสียงดังไพเราะเสนาะหูล่องลอยตามสายลมมาแต่ไกล ช่วงนี้นํ้าเริ่มแห้งขอด ปลารวมตัวตามแอ่งนํ้า(ปลาข่อน)เริ่มจับหลาไปแปรรูป ทําปลาร้า ปลาแห้ง ไว้กิน เพราะกินสดๆกินไม่ทัน นํ้าเริ่มแห้งปลาไม่มีที่อยู่ นํ้าจะเหลือคนแต่ที่สระใหญ่ๆ เท่านั้น
✍️ส่วนการดักหนูจะเอากระบอกไม้ไผ่ทําเป็นคันไม้ไผ่ คลองสายห่วง คัดด้วยลิ้น แล้วโรยข้าวไปในกระบอกไม้ไผ่ หนูจะเข้าไปกิน ข้าวในกระบอกไม้ไผ่ จะชนลิ้นที่ตักไว้แล้วลิ้นจะหลุดเชือจะรัดคอหนูในที่สุด แต่วิธีการดักหนูแต่ละที่จะแตกต่างกันออกไป ทางจังหวัดร้อยเอ็ดจะใช้ลวดสลิง กับเสาหลักไม้ไผ่ไปดักไว้ ทําเป็นห่วง พอหนูเดินผ่าน ห่วงจะรูดที่คอหนูจนหนูติดไปไม่ได้
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
✍️นวดข้าว(ตีข้าว)ไปเพลงจากรายการวิทยุไปเหนื่อยก็นอนพัก ตื่นมาก็หามะขามอ่อน หรือตําเมี่ยง ตะไคร้ใส่มดแดง กับ หําบักมี้(ลูกขนุนขนาดเล็ก)ผักกระโดน ตกเที่ยงอาหารขาดไม่ได้เลยคือส้มตํา ส่วนกับนั้น บางวันก็ต้มหอยขม ปิ้งปลาหมอ ส่วนผักกับ ก็เก็บแถวๆนั้น ผักบุ้งนา สายบัว กระถิน ผักพาย สะเดา ไม่ต้องซื้ออยากเมื่อไหร่เก็บกินตอนนั้น
✍️เครื่องดื่ม(สาโท)หลังจากทํานามาเหน็จเหนื่อยบางทีอยากจะหาอะไรมาแก้เหนื่อยเพื่อผ่อนคลายบ้างจะนิยมทําสาโทกินกันเอง"สาโท"คือจัดอยู่ในประเภทขนมหวานไทยหรือสุราภูมิปัญญาไทย จะนําข้าวเหนียวนึ่ง ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วโรยผสม ด้วยแป้ง สาโท ปล่อยทิ้งไว้ 7-10 วันยีสในแป้งจะทําปฎิกิริยาทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มความหวานให้เป็นดีกรี ช่วงแรกๆ(หัวนํ้า)จะหวาน นํ้าสอง นํ้าสาม จะเพิ่มดีกรีจะออกขมๆหวานๆ
ขอบคุณเครดิตภาพจากPinterest
✍️ทุกวันนี้การนอนนาจะคงมีหลงเหลืออยู่แต่น้อยมากเพราะเครื่องมือทางการทํานา มีบทบาทมากขึ้น เช่นรถสีข้าว รถเกี่ยวข้าว จากเคยเลี้ยงควาย แต่มาใช้รถไถนา นา 10-20 ไร่ใช้รถเกี่ยววันเดียวเสร็จ วิถีชีวิตและความผุกพันธุ์ จึงค่อยๆหายไปกับกาลเวลา.
✍️ขอบคุณที่ติดตามจากใจ
เรียงเรียงโดย @เพจเด็กเลี้ยงควาย
๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
โฆษณา