Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิตจิต
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2020 เวลา 11:00 • ปรัชญา
หลักการพัฒนาตัวเองที่หลายคนไม่รู้...
ตอนที่แล้าเรามองความจริงไร้ปลายทางเชิงปรัชญา ตอนนี้เรามองการพัฒนาตัวเองด้วยหลักกา่รเต๋า...ตรงจุด ไร้จุดหมาย
credit:www.pexels.com
บางคนเกิดมาอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่รักคนอื่นมากกว่าตน
เขามีปมกับ “ความลำเอียง”
ตอนโตจึงรักความยุติธรรม
บางคนตอนเด็กเห็นเพื่อนๆเล่นของเล่น พอขอเล่นด้วยก็ไม่มีใครให้
เขามีปมกับ “ความเห็นแก่ตัว”
ตอนโตจึงชอบแบ่งปัน ชอบช่วยเหลือ
บางคนตอนเด็กอยู่ในบ้านที่มีแต่คนเข้าออกตลอดเวลา
เขามีปมกับความ “วุ่นวาย”
ตอนโตจึงชอบเก็บตัว มีสมาธิ ชอบอ่านหนังสือ
credit:www.pexels.com
ความเจ็บปวดในวัยเด็กสร้างความเป็นตัวเรา
นี่เป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่บอกว่าทำไมบุคลิกของเรา…แตกต่างกัน
9 นพลักษณ์ (Enneagram)
เป็นศาสตร์หนึ่งที่อธิบายถึงการพัฒนาตัวเอง
ผ่านบุคลิกภาพ 9 แบบ แตกต่างกันในแต่ละคน
การพัฒนาตัวเองจึงเป็นสิ่งเฉพาะสำหรับตัวเราเท่านั้น
เราไม่สามารถพัฒนาตัวเราผ่านทาง “ความเป็น” ของคนอื่นได้
credit:www.facebook.com/neeraoayng/
เช่น ถ้าให้คนรักความยุติธรรม(เบอร์8) ไปเก็บตัวอ่านหนังสือศึกษาหาความรู้(เบอร์5) ยิ่งจะทำให้คนรักความยุติธรรมลุ่มหลงในอุดมการณ์ ไม่แยแสคนอื่น
นั้นเป็นการพัฒนาตัวเองผิดวิธี
ที่ถูกคือ ต้องช่วยเหลือคน ต้องแบ่งปัน
นี้นอกจากจะเยียวยาบาดแผลทางใจแล้ว
ยังส่งเสริมบุคลิกยุติธรรมให้ได้รักและพบเจอผู้คน คนรักความยุติธรรมจึงเติบโตในแบบที่เขาควรจะเป็น
credit:www.pexels.com
(สำหรับรายละเอียดของ “9 นพลักษณ์ และพัฒนาตัวเองจากการภาวนา” จะจัดทำใน ซีรีย์หน้าๆๆครับ)
ประเด็นก็คือว่าหากคนรักความยุติธรรมพัฒนาตัวเองอย่างถูกวิธี
เขาจะกลายเป็นคนที่ชอบแบ่งปัน (เบอร์2) เมื่อเขากลายเป็นคนชอบแบ่งปัน
เขาก็จะพัฒนาตัวเอง เป็นอย่างศิลปิน (เบอร์4)
จากศิลปินก็จะพัฒนาและเติบโตในแบบต่อๆไป ต่อๆไป...
credit:www.pexels.com
นั้นหมายความ ว่าถัาเราพัฒนาตัวเองไปข้างหน้า บุคลิกของเราก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ถ้าเราจำกัด “ความเป็น” ของตัวเราเมื่อใด
เมื่อนั้นเราหยุดพัฒนา
จิตวิทยาการพัฒนาตัวเองแบบเต๋า
จึงเป็นการพัฒนาที่พร้อมเป็นตัวเองในนิยามที่ดีกว่า
เพราะ เต๋าไร้ขอบเขตและไม่สิ้นสุด
ช่วงนี้อยู่ในซีรี่ย์ที่ผมเอามาจากหนังสือ “Tao: The Pathless Path” เป็นการอธิบายแนวคิดเต๋าโดย Osho
ตอนหน้าผมจะวิเคราะห์เรื่อง “หนทางที่ไร้ปลายทาง” ในเชิงศีลธรรมในตอนที่6 (ep.6)
ก่อนนอนอย่าลืมมาอัพเดทชีวิตจิตกันนะครับ
เครดิต: Osho, and Recorded Books, Inc. Tao : The Pathless Path. INSERT-MISSING-SERVICE-NAME. New York: St. Martin's Press, 2016.
SUDDEJ วิเคราะห์จากการอบรม Ennegram
สวัสดีครับผมสุดเดช นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ "ชีวิตจิต"
ถ้าใครชอบชีวิตจิตเหมือนกัน ติดตามผมได้ที่ . . .
เฟสบุ๊ค: ชีวิตจิต
https://www.facebook.com/suddej
ไลน์: ชีวิตจิต
https://lin.ee/dESKylF
ช่องยูทูป: SUDDEJ
https://www.youtube.com/channel/UCu8SUQFCy7xvHVyOBaea1nQ
...ขอให้ท่านสัมผัสความสุขในชีวิต...
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะครับ
🤗 🙇 😀
3 บันทึก
8
6
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"ชีวิตจิต" ผ่านเต๋า
3
8
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย