Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 ก.ย. 2020 เวลา 11:40 • สิ่งแวดล้อม
เมื่อ ลงทุนแมน ได้ดูการเคลื่อนย้ายขาแท่น มาจัดวางเป็นปะการังเทียม
2 เดือนก่อน ลงทุนแมน ได้ลงบทความเรื่องขาแท่นปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้ว
สร้างประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?
เพื่อให้เห็นว่าการเคลื่อนย้ายขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม
แล้วนำลงไปสู่ใต้ท้องทะเลให้กลายเป็นปะการังเทียม
เขามีวิธีดำเนินการอย่างไร
ซึ่งต้องบอกว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ
ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
แล้วมันเป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เมื่อต้นเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พาคณะสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั่งเรือไปดูการเคลื่อนย้ายขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขาแท่นที่ 4 จากจำนวน 7 ขาแท่นในบริเวณใกล้จุดจัดวางปะการังเทียม ภายใต้ โครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่ทาง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมมือกับทางเชฟรอน และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รู้หรือไม่ว่า ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมมีน้ำหนักถึง 300 - 700 ตัน ขนาดฐานกว้าง 20 - 22.5 เมตร สูง 70 - 84 เมตร
ด้วยน้ำหนักขนาดนี้ และมีขนาดใหญ่โตขนาดนี้
ก็เลยทำให้ต้องใช้เรือยกขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะในการยกมากถึง 3,000 ตัน มาทำหน้าที่ลากจูงขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปยังเป้าหมายที่บริเวณใกล้ๆ กับเกาะพะงันโดยมีระยะทางประมาณ 150 - 200 กิโลเมตร
และด้วยความสูงของขาแท่น 70 - 84 เมตร
ก็เลยทำให้การวางขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำเป็นต้องวางในแนวนอน ที่ระดับน้ำประมาณ 40 เมตร เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ โดยขาแท่นนั้นก็จะอยู่ลึกจากผิวน้ำมากกว่า 15 เมตร
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่าขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจะกลายเป็นปะการังเทียมได้จริงหรือไม่
จริงๆ แล้ว ขาแท่นมีซอกมุมสลับซับซ้อนมากมาย และมีความคงทนแข็งแรง เพราะทำจากเหล็กกล้า (carbon steel) จึงเหมาะแก่การทำให้สัตว์น้ำต่างๆ เข้าไปหลบภัย จนถึงการใช้ชีวิตอยู่ในนี้
ซึ่งเมื่อวางครบทั้ง 7 ขาแท่นที่กำหนดไว้ในพื้นที่ 2 คูณ 2 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเกาะพะงัน ก็มีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีปะการังและสัตว์ทะเลน้อยใหญ่ มารวมตัวอาศัยเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำแห่งใหม่ ที่ช่วยสร้างความสมดุลให้ระบบนิเวศ
นอกจากแนวปะการังเทียมนี้จะมีประโยชน์ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งแล้ว ยังมีความคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
ให้มาดำน้ำชมความสวยงามใต้ท้องทะเล และการนันทนาการได้
ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็ย่อมสร้างรายได้และอาชีพให้แก่ชาวบ้านในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงในอนาคตก็อาจมีการรองรับการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผลที่ตามมาคือเกิดการจ้างงานในท้องถิ่น
ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายขาแท่นในแต่ละครั้ง
จะอยู่ในการดูแลของหน่วยงานภาครัฐ โดยทาง เชฟรอน ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในระดับสากล
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เลยทำให้เราคิดถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่แนวปะการังเทียมกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำยอดนิยมอันดับต้นๆ พร้อมกับสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
แล้ว ท้องทะเลไทย จะเป็นแบบนั้นได้ไหม
ก็ขึ้นอยู่กับว่า ภาครัฐ จนถึงบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ได้สร้างประโยชน์แก่ใต้ท้องทะเลไทย
และโครงการนี้ก็จะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นในอนาคตต่อไป..
ซึ่งภายหลังจากการจัดวางครบทั้ง 7 ขาแท่น ที่คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนนี้ ทั้งสามหน่วยงาน จะต้องร่วมกันศึกษาติดตามผลกันต่อไปในระยะแรกอีก 2 ปี ในมิติต่างๆ ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ และสังคมจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ตามมาตรฐานทางวิชาการ ที่จะต่อยอดสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการอนุรักษ์ทะเลต่อไป
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ว่า การรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกเป็นโครงสร้างส่วนบน หรือ Topside อยู่เหนือระดับน้ำทะเล รี้อถอนได้โดยนำไปจัดการบนฝั่ง หรือ นำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในกิจการปิโตรเลียม
กับส่วนที่สองซึ่งเป็นขาแท่นใต้ระดับน้ำทะเล สามารถรื้อถอนโดยขนย้ายขึ้นไปจัดการบนฝั่ง หรือเคลื่อนย้ายทำเป็นปะการังเทียม โดยต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ
14 บันทึก
95
10
14
95
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย