24 ก.ย. 2020 เวลา 00:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ติดมือถือมากเกินไป อาจทำให้ชีวิตพังได้ !!
ณ ปัจจุบันนี้สังคมก้มหน้ากันเยอะขึ้น
ในโลกที่เทคโนโลยีก้าวไปอย่างรวดเร็ว สมาร์ทโฟน หรือ โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เป็นสิ่งที่ค่อยอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ
พร้อมทั้งเข้ามาเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของเราอย่างไม่รู้ตัว จนทำให้"เรารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้" ถ้าเรารู้สึกอย่างนั้น คุณกำลังเข้าข่ายอาการที่เรียกว่า "โรคโนโมโฟเบีย" (Nomophobia) หรือพูดง่ายๆคือ อาการติดโทรศัพท์นั้นเอง แต่จะอาการหนักขนาดไหน ถึงจะเข้าข่ายโรคนี้ เราลองมาสำรวจตัวเองจากพฤติกรรมการใช้งาน กันครับ
โนโมโฟเบีย คืออะไร?
“โนโมโฟเบีย” ในนิยามทางการแพทย์นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ เพราะมีการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนหรือสังคม เวลามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นมักจะมีคำเรียกเฉพาะ อย่างเช่น อาการติดสมาร์ทโฟน เป็นไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ ซึ่งคำว่า “โนโม” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำว่า “โฟเบีย” แปลว่ากังวลอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย” แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวัน
ผลเสียจากการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
-เกิดความเครียด : การใช้โทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา เช่น ต้องตอบข้อความในแชตต่างๆ อ่านไลน์ เปิดเมล เข้าเฟซบุ๊ค ตลอดเวลา อาจทำให้เราเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว
-จอประสาทตาเสื่อม : แสงจากหน้าจอโทรศัพท์ ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน เมลาโทนิน ที่ช่วยการควบคุมการนอนหลับและการปล่อยฮอร์โมนดังกล่าวขึ้นอยู่กับแสงสว่างจากโทรศัพท์เป็นสำคัญเป็นสาเหตุให้เรานอนไม่เต็มอิ่ม
-อาการปวดคอ : การก้มมองจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน เป็นท่าที่ไม่เหมาะสมคือ การก้มคอลง 60 องศานานๆนั้นทำให้เกิดอาการปวดคอและต้นคอได้
-เสียสมาธิ : แทนที่จะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ลุล่วงไปด้วยดี ก็ต้องมาพะวงกับการเสียงแจ้งเตือนที่คอยเตือนต่างๆ ให้เสียเวลามาตอบข้อความต่างๆเหล่นนี้ จนขาดสมาธิที่ทำการใดๆ
-อาการนิ้วล็อก : การใช้นิ้วมือกดแป้นพิมพ์ การเล่นเกมส์นานเกินไปทำให้เส้นเอ็นอักเสบเกิดอาการบวม นิ้วล็อกได้ในที่สุด
-อาการปวดศีรษะ : การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน รังสีที่แผ่ออกมาทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมาเช่น การปวดศีรษะ ไมเกรนเป็นต้น
-ซึมเศร้าและวิตกกังวล : การใช้โทรศัพท์มือถือจนติด มักจะมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมาได้ เนื่องจากการรอคอยและคาดหวังการตอบกลับข้อความต่างๆ
พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ โนโมโฟเบีย คือ พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา คอยคลำกระเป๋ากางเกง หรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้าง ๆ ตัวหรือไม่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความในโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา แม้กระทั่งได้ยินเสียงคล้าย ๆ เสียงข้อความเข้า ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็กข้อความก่อน เมื่อตื่นนอนรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กข้อความ หรือก่อนนอนเล่นโทรศัพท์จนกระทั่งหลับ ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ นั่งรอรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า
อาการกังวลใจของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน บางคนอาจรู้สึกเฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ใช้ชีวิตปรกติทั้งวัน อาจเป็นเพราะใช้งานน้อยอยู่แล้ว หรือ ใช่เท่าที่จำเป็นไม่ได้กระทบอะไรมาก
บางคนรู้สึกกังวลใจแค่ในชั่วโมงแรก แต่ช่วงหลังเมื่อหาวิธีสื่อสารด้วยทางอื่นได้ก็หมดกังวล แต่บางคนรู้สึกว่าอดทนได้น้อย รู้สึกกระวนกระวาย วุ่นวายใจ หรือเวลาไปอยู่ในที่อับสัญญาณ ไม่สามารถอัพโหลดภาพได้ บางคนรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด ฉุนเฉียว โวยวายเรื่องไม่มีโทรศัพท์หรือใช้โทรศัพท์ไม่ได้ถือว่าเยอะไปแล้ว เพราะทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ ไปด้วย
แล้วเรา เป็นโรคติดมือถือหรือยัง? ลองสำรวจตัวเองเลย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ ต้องพกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา หงุดหงิดหากไม่มีโทรศัพท์ แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความ และโพสต์ต่างๆ บนโซเชียล แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ แม้ไม่มีเรื่องด่วนหรือไม่มีการแจ้งเตือน แต่ต้องหยิบมือถือขึ้นมาดู แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ ตื่นนอนมาสิ่งแรกที่ทำคือการหยิบมือถือขึ้นมาเช็ก แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ ใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เข้าห้องน้ำ ทานข้าว เดินกลับบ้าน ยืนรอรถ แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ รู้สึกเครียด และกังวลหากโทรศัพท์แบตฯหมด แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ สนทนาบนออนไลน์มากกว่าพูดคุยกับคนรอบข้าง แปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคติดมือถือ
ใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสมควรทำอย่างไร?
ตัวเราเองมีวินัยมากน้อยแค่ไหน? ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานโดยเฉพาะเด็กๆ นั้นเขาจะมีความไวต่อรังสีจากโทรศัพท์มากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า เช่น การกำหนดเวลาให้เด็กๆเล่นเกมส์ได้เป็นเวลาเท่าใด การตั้งกฎขึ้นตั้งแต่เริ่มแรกให้เด็กๆใช้โทรศัพท์ การหากิจกรรมให้เด็กทำและยังมีวิธีใช้มือถือให้ปลอดภัยอีก เช่น
1.การใช้อุปกรณ์หูฟังขณะใช้โทรศัพท์ ทำให้สมองได้รับคลื่นแม่เหล็กน้อยลง
2.ขณะมีเสียงเรียกเข้าควรกดรับให้ไกลตัว เพื่อลดพลังงานของแม่เหล็กจากโทรศัพท์
3.หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ
4.ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ เพราะจะทำให้ขาดสมาธิและเกิดอุบัติเหตุได้
5.ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะเติมเชื้อเพลิง เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้
6.กำหนดเวลาในการใช้โทรศัพท์
7.ไม่ควรใช้โทรศัพท์ก่อนนอน และวางโทรศัพท์ไว้ตัวในขณะนอนหลับ
8.หากิจกรรมทดแทนการนั่งจ้องโทรศัพท์มือถือเช่น การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา หรือ กิจกรรมที่ทำเป็นครอบครัว เป็นต้น
แก้ก่อนจะสาย หากไม่อยากเสียสุขภาพ เสียงาน เพราะโรคติดมือถือ !
ถือว่าเป็นที่ปฎิเสธได้ยากหากจะไม่ให้ใช้โทรศัทพ์มือถือเลย ในยุคที่การสือสารมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกคนบนโลกนี้ แต่หากเราใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ใช้จนเกินความพอดี จนติดเป็นนิสัยแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างจริงจัง ก่อนที่จะสายไปครับ
เริ่มจาก ควรกำหนดขอบเขต ระยะเวลาในการใช้งานอย่างจริงจัง เช่น ห้ามหยิบโทรศัพท์หลัง 4 ทุ่ม หรือกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ในระหว่างวันก็ได้ เช่นอาจจะ ช่วงพักทานข้าว 1 ชม. ไม่เอาโทรศัพท์ติดตัวไปด้วย หรือ ไม่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาระหว่างทางอาหาร หรือ ไม่ใช้โทรศัพท์ระหว่างเข้าห้องน้ำ หรือ ระหว่างเดินทางไปทำงาน ไม่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น
หากิจกรรมอื่นๆ ในช่วงวันหยุด ทำ พยายามปรับพฤติกรรม ในช่วงวันหยุด ที่หลายๆคนอาจจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ออกไปไหน ก็จับโทรศัพท์ดูโน่น ดูนี้ เรื่อยเปื่อย เป็น อาจจะ เลี้ยงปลา ออกไปทานข้าวกับเพื่อน นั่งดูหนัง ปลูกต้นไม้ ปั่นจักยาน ซึ่งจะทำให้เรามีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น
ทุกวันนี้เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ก็มีโรคใหม่ๆเพิ่มมามากขึ้นเช่นกัน ถ้าเรามองย้อนกลับไปเมื่อสมัย พ่อ แม่ ปูย่า ตายาย ของเรา นั้นจะพบว่า มีสุขภาพที่แข็งแรงกว่า อายุยืน สายตาดี กว่า ณ ปัจจุบัน นี้เสียอีกทั้งที่ ไม่มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี แต่อย่างใด มีความเข้าอกเข้าใจกัน ครอบครัวอบอุ่น นั้นหมายถึงว่า สมัยก่อนนั้น ผู้คนมีการปฎิสัมพันธ์กันมาก ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากัน เมื่อโลกเจริญขึ้น เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเดียวที่เราจะทำได้คือ ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีกันได้อย่างเหมาะสม เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลกระทบกับตัวเราและคนคนรอบข้าง.
เมื่อนั้นเราก็จะมีความสุขกับเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้เรานั้นเองครับ เรื่องนี้ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรักนะครับ!!
ที่มา : rama.mahidol.ac.th
:bangkokhealth.com/ thaipost.net
โฆษณา