24 ก.ย. 2020 เวลา 03:30 • ปรัชญา
did we make great decision then our ancestors?
เราตัดสินใจได้ดีกว่า บรรพบุรุษของเราหรือไม่?
มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปเมื่อ 1000000 ปี
ที่แล้ว ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สลักสำคัญอะไรมากนักในทวีปอัฟริกา
จากสิ่งมีชีวิตที่เดินหลังค่อม แขนต้องคอยใช้ดันพื้นเพื่อเคลื่อนที่ให้คล่องตัวขึ้น.....ราวกับลิง ซึ่งที่จริงแล้วเราเป็นลิงมาก่อน มีบรรพบุรุษร่วมกันกับลิง chimpanzee เรามีต้นตระกูลที่ชื่อว่า Homo พวกเราคือสายพันธุ์ sapien เมื่อเรียกชื่อเต็มจึงได้ว่า " Homo sapien "
จุดเริ่มต้นการตัดสินใจของวานร
สมัยที่เรายังเป็นวานรน้อยชอบซุกซนตามผืนหญ้าที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนักเรายังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากพ่อแม่ที่เป็นลิงของเรา ซึ่งมีมันสมองที่โตเต็มที่พร้อมจะรับมือกับการตัดสินใจที่หนักหน่วง ความยากลำบากกว่า
การคิดว่าจะสู้หรือหนีเมื่อเจอกับเสือ ซึ่งเป็นการคิด ที่นำไปสู่ "การตัดสินใจ Making Decision "
เมื่อลิงน้อยหิวสิ่งที่ต้องทำคืออะไร?
ระหว่างกินนมแม่ หรือ เล่นกับเพื่อนที่......กินนมอิ่มแล้ว?
แน่นอนครับ การตัดสินใจของวานรตัวน้อยย่อมเลือกอาหารอย่างแน่นอน เป็นการตัดสินใจตามสัญชาตญาณ หรือ เหตุผลแบบลิงนั่นเอง...แล้วหลังจากนั้นมันสามารถมาเล่นกับเพื่อนที่หลังได้ ถ้าไม่จุกเสียก่อน
แล้วถ้าเจ้าลิงน้อยเจอกับศัตรูอย่างเสือหรือสิงโตละ จะทำอย่างไร?
แน่นอนว่า ความกลัว (fear) ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และการตัดสินใจของลิงละจะมีเหตุผลเหมือนเวลาหิวหรือเปล่า?
แน่นอน เมื่ออันตรายมา เจ้าลิงน้อยย่อมหนีขึ้นต้นไม้อย่างรวดเร็ว หรือ หลบเข้าพุ่มไม้ที่เสือจะตามมาไม่ได้ ช่างเป็นการตัดสินใจตามเหตุผลที่ฉลาดเสียจริง!!!
เท่จริงเจ้าลิงตัวนี้!
พัฒนาไปสู่มนุษย์
จากการเดินที่ใช้มือช่วยของเราพัฒนาไปสู่การเดิน 2 ขา การทรงตัวของเราเริ่มดีขึ้น กระดูกสันหลังพัฒนาความแข็งแกร่งให้สามารถรับน้ำหนักจากกระโหลกที่มีสมองอันมหึมาที่เต็มไปด้วยเซลล์ประสาทหลายพันล้านเซลล์ แล้วการที่เรามีสมองขนาดใหญ่ขึ้นเซลล์ประสาทที่มากมาย ช่วยให้การตัดสินใจของเราดีขึ้นหรือไม่? เราจะไปหาคำตอบกันครับ
ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อย Example
สมมุติว่าคุณแจ็คกำลังขับรถอยู่บนทางด่วนกำลังเดินทางไปทำงานให้ทัน 8 โมงเช้า ขณะนี้เวลา 7.00 โมงตรง แล้วมีรถอีก 1 คันขับปาดหน้ารถของเขาด้วยความเร็วสูง ความเครียดเกิดขึ้นมาอย่างฉับพลัน เส้นเลือดสูบฉีดอย่างหนักขึ้นสู่ใบหน้า หน้าของเขาค่อยๆแดงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับอารมณ์โกรธที่ผุดขึ้นมารวดเร็วราวกับวัชพืช..... แจ็คโกรธมากจึงขับรถตามคันนั้นไปด้วยความเร็วสูงเพื่อไปด่าอีกฝ่ายนึง แจ็คขับตามอย่างไรก็ตามไม่ทันจนเวลาผ่านไป 30 นาที เขาไม่รู้ตัวว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ที่ไหน เพราะขับมาไกลมาก มองหาตามทางก็พบว่าตัวเองหลงทางเสียแล้ว จะกลับไปทำงานต้องเปิด GPS กลับไปใช้เวลา 1 ชั่วโมง.....
เป็นไงบ้างครับ กับตัวอย่างข้างต้นเกี่ยวกับการตัดสินใจของมนุษย์ที่มีเหตุผลอย่างแจ็คคนนี้
ผมเชื่อว่า หลายๆคนต่างมีพฤติกรรมเช่นนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องรถ แต่เป็นอีกหลายเรื่องที่เราตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล แต่"เกิดจากอารมณ์ล้วนๆ"
แล้วทุกการตัดสินใจด้วยอารมณ์ของเราล้วนพาเราไปสู่ความย่ำแย่(โดยเกือบทุกครั้ง!!!)
เราคือ" สิ่งมีชีวิตที่ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล"
การที่เรามีสมองส่วนหน้า Prefrontal Cortex ที่ใหญ่กว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นไม่ได้บ่งบอกเลยว่า เราจะมีเหตุผลมากกว่า อารมณ์
เมื่อรวมกับยุคสมัยนี้ที่สิ่งเร้า มีมากมายกว่าแต่ก่อน เช่น โฆษณาหมูกระทะ ชาบูชิ เสื้อผ้าสวยงาม อื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนที่เราสามารถ พบเจอได้ในโทรศัพท์ หรือ ป้ายโฆษณาข้างทางจนทำให้เราไม่อาจหักห้ามใจตัวเองได้......
วิธีแก้คือการ ฝึกควบคุมตนเองครับ
ท่านผู้อ่านสามารถกดไปอ่านได้ในลิ้งด้านล่างนี้นะครับ
ขอบคุณที่กดเข้ามาอ่านกันนะครับ พักนี้ไม่ค่อยว่างเช่นเคย แต่จะหมั่นหาเวลามาแบ่งปันความรู้นะครับ
โฆษณา