Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความรู้เรื่องถ่ายภาพและกล้องถ่ายภาพ
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2020 เวลา 12:00 • ถ่ายภาพ
EP3.2
ISO ภาคต่อ
1. Grain vs Noise
2. Push ISO
3. Cross process
จากบทความที่แล้ว เราเข้าใจถึงหน้าที่ของISO และความสัมพันธ์ในการตั้งค่าISOกับรูรับแสง/shutter speed กันไปแล้ว ครั้งนี้ผมอยากจะมาอธิบายเรื่องgrain/noiseที่เกิดขึ้นในเวลาที่เราดันISOขึ้นไปสูงๆกัน
ในบทนี้อาจพูดถึงฟิล์มเยอะมากหน่อยครับ เพราะว่าเมื่อเปลี่ยนเป็นยุคดิจิตอลนั้นการให้ความสำคัญกับการตั้งค่าISOและเทคนิคต่างๆในการถ่ายภาพที่เกี่ยวกับISOนั้นเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับฟิล์ม
เป็นที่กล่าวกันว่าเกรนที่เกิดขึ้นจากฟิล์มนั้นมีความ "สวย" หรือ "classic" มากกว่า noiseในกล้องดิจิตอลที่เกิดขึ้นมาจากสัญญาณรบกวน โดยภาพด้านล่างนี้เป็นภาพตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างเกรนของฟิล์มกับnoiseในกล้องดิจิตอล
Bill Lawson
คิดว่าทุกคนสามารถแยกความแตกต่างออกโดยไม่ต้องอธิบาย คือตัวเกรนของฟิล์มนั้นจะดูเป็นลักษณะกระจัดกระจายไม่มีรูปแบบเป็นมีเกรนให้เห็นอารมณ์ลักษณะภาพเก่า แต่ในขณะเดียวกันnoiseที่เกิดจากกล้องดิจิตอล จะมีลักษณะเป็นจุดสี และเป็นในลักษณะของpattern มีการเรียงตัวของpixel ในเรื่องการมองว่าแบบไหนสวยกว่ากันผมไม่ขอตัดสิน จึงอยากให้ผู้อ่านลองพิจารณากันเองจากภาพว่า "จุดรบกวน" แบบไหนที่ "ดูดี" มากกว่ากัน หากถ่ายภาพมาสักระยะภาพบางภาพผู้ถ่ายถึงกับจงใจให้มีจุดรบกวนเพื่อให้ภาพดูมีความหมายมากขึ้นก็มี
ตรงนี้เองที่ผมคิดว่ามันทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมโหฬาร ที่ดิจิตอลไม่สามารถทำได้ ในเรื่องของเกรนที่จะให้เหมือนกับฟิล์ม (เกรนโดยธรรมชาติที่ไม่ใช่จากการปรับเปลี่ยนด้วยโปรแกรมแต่งภาพ) ความเป็นธรรมชาติของฟิล์มนี้เองที่ทำให้ยังมีนักถ่ายภาพรุ่นใหม่บางคนหันมาถ่ายภาพฟิล์มอย่างจริงจังเลยก็มี หากใครเคยถ่ายภาพฟิล์ม พอล้างอัดขยายออกมาเป็นภาพ แล้วมีเกรนอย่างชัดเจน บางครั้งจะดูสวยไปอีกแบบ หรือดูมีความหมายไปอีกแบบ ในทางกลับกัน พอมาเป็นดิจิตอลnoise ที่เกิดขึ้นบนภาพกลับดูเหมือนเป็นจุดบกพร่อง ที่เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในภาพ ซึ่งนอกจากจะทำให้ภาพไม่คมชัดแล้ว ยังเกิดจุดสีบนภาพที่เมื่อเรานำมาปรับลดลงด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ จะยิ่งทำให้คุณภาพของภาพนั้นลดลงไปอย่างมาก ที่เล่ามานี้ไม่ได้หมายถึงว่าฟิล์มดีกว่าดิจิตอลนะครับ นี่เป็นเพียงมุมหนึ่งที่ดิจิตอลยังไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ในเรื่องของการถ่ายภาพ โดยเฉพาะภาพถ่ายเอกรงค์ (ภาพmonotone ส่วนมากจะเป็นภาพขาวดำ) ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์อย่างมากในการถ่ายทอดอารมณ์ลึกๆความรู้สึกได้ดีกว่าภาพจากดิจิตอลอย่างมาก
อ. จิตต์ จงมั่นคง ศิลปินแห่งชาติสาขาภาพถ่าย
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ กล้องดิจิตอลในปัจจุบันทำให้เรามีความสะดวกมากขึ้นในการถ่ายภาพ ทำให้ถ่ายภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเทคโนโลยีถ่ายภาพ โดยทำให้ภาพถ่ายดิจิตอลนั้น "ใกล้เคียง" กับฟิล์มมากที่สุดในหลายๆเรื่องนั่นเอง
เรื่องต่อมาคือเรื่องของการpush ISO เรื่องนี้คิดว่าทุกคนที่ถ่ายภาพฟิล์มคงรู้กันอยู่แล้ว ไม่ใช่เทคนิคพิเศษอะไรครับ อยากเอามาเล่าถึงความสนุกในสมัยที่การถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ที่ยังคงต้องมีการ "ลุ้น" ทุกครั้งเมื่อนำฟิล์มไปอัดขยาย
โดยการที่push ISOนั้นหมายถึงการเพิ่มค่าISOให้มากกว่าฟิล์มที่ใส่อยู่ในกล้องนั่นเอง อย่างเช่นเราใส่filmที่มีค่าISO 200 แต่เราตั้งค่าISOของกล้องไปที่ 400หรือมากกว่านั้น แล้วก็ถ่ายที่ค่านั้นไปจนหมดม้วน จากนั้นเมื่อเรานำฟิล์มไปล้างที่ร้าน เราจะต้องบอกร้านเขาด้วยว่าเราpushไปที่ISOเท่าไหร่ หรือpush ISOไปกี่stop ทางร้านเขาก็จะล้างให้เราตามนั้น เป็นเพราะเวลา และน้ำยาที่ใช้นั้นมีความแตกต่างกันภาพที่อัดขยายออกมาได้จะเป็นภาพที่อาจมีเกรน หรือสีที่แปลกออกไปจากเดิม
นอกจากการทดลองถ่ายภาพด้วยการpush ISOแล้ว อีกประโยชน์ที่ใช้วิธีนี้ในการถ่ายภาพฟิล์มคือ เมื่อเราต้องการถ่ายในที่แสงน้อย แต่เราไม่มีฟิล์มISOสูงๆ เราก็สามารถใช้วิธีpush ISOได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนี่อาจจะเป็นข้อดีที่กล้องดิจิตอลเข้ามาทดแทนได้ ที่เราสามารถใช้ISOที่เท่าไหร่ก็ได้ที่เราต้องการในสถานการณ์ต่างๆกัน
https://thedarkroom.com/
เรื่องสุดท้ายคือ cross process เรื่องนี้ก็เกี่ยวกับความสนุกตอนถ่ายภาพฟิล์มเช่นเดียวกันครับ ฟิล์มที่นิยมมากในการถ่ายภาพฟิล์มคือ ฟิล์มเนกาทีฟ และ ฟิล์มสไลด์ โดยที่ฟิล์มเนกาทีฟเวลาล้างฟิล์มออกมาแล้ว สี(ที่ตัวฟิล์ม) จะตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ ส่วนฟิล์มสไลด์เมื่อล้างออกมาจะได้สีที่ตรงกับความเป็นจริงกับภาพที่ถ่าย โดยเทคนิคนี้มักจะใช้กับฟิล์มสไลด์ครับ โดยใช้ฟิล์มสไลด์ถ่ายภาพไปตามปกติ แต่เมื่อนำไปล้างให้นำไปล้างด้วยprocessของฟิล์มnegative โดยผลลัพภ์ที่ได้ออกมานั้นในแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกันเลย สีสันจะออกไปทางเข้ม คอนทราสมากขึ้น หรืออาจเรียกให้เห็นภาพง่ายๆจะเหมือนสไตล์ภาพที่ได้จากกล้องlomoครับ
วิธีนี้เป็นการทดลองถ่ายภาพสนุกๆในสมัยที่ยังนิยมถ่ายภาพด้วยฟิล์ม เพราะผลลัพภ์ที่ได้ในแต่ละครั้งนั้นจะแตกต่างกันออกไป
อีกนิดหนึ่งครับ คิดว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า light leak หรือถ้าแปลตรงๆเรียกว่าแสงรั่ว คือแสงรั่วเข้ามาในฟิล์มถ่ายภาพของเรา ทำให้เวลาอัดขยายภาพออกมาทำให้ภาพมีแสงขาวแบบไม่เห็นรายละเอียดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ทำให้เป็นความคลาสสิคอีกอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม แต่โดยมากจะเป็นที่ภาพแรก เพราะขณะที่เราใส่ฟิล์มเข้าไปที่หลังกล้อง คงหาน้อยคนที่จะใส่ในถุงหรือในห้องมืด ดังนั้นโดยทั่วไปเมื่อใส่ฟิล์มเข้าไปแล้วก็จะกดทิ้งไปภาพสองภาพเพื่อไม่ให้ภาพถ่ายต่อไปมีแสงรั่วเข้ามาครับ โดยที่หากเราต้องการให้มีlight leakที่ภาพเกือบทุกภาพนั้น โดยมากจะถ่ายโดยกล้องlomoโดยเฉพาะครับ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถทำด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการสี ใช้filterต่างๆทุกอย่างทำได้หมด เรียกได้ว่าใกล้เคียงภาพของฟิล์มมาก โดยความเห็นส่วนตัวสิ่งที่ขาดไปคือเรื่องของ "อารมณ์ของภาพและสี" ในการถ่ายภาพเท่านั้น
ในEPหน้าผมอยากมาเล่าเรื่องวิธีการเลือกซื้อกล้องครับ มีหลายต่อหลายคน หรือแม้กระทั่งผู้อ่านเองที่มีความสนใจเรื่องกล้อง อาจเคยถุกคนรอบข้างถามแน่นอนว่า เราอยากได้กล้อง เอารุ่นไหนดี?? เป็นเสมือนคำถามอันดับ1 ที่นักถ่ายภาพทุกคนผมเชื่อว่าต้องถูกถามอย่างแน่นอน ผมเลยอยากจะเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นอีกความเห็นหนึ่งสำหรับคนที่กำลังจะเลือกซื้อกล้องในปัจจุบันครับ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย