Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2020 เวลา 09:00 • ประวัติศาสตร์
นรกไม่แพ้นาซี! รู้จักค่ายกักกันสุดเหี้ยมจากทั่วโลก ไม่อึดจริงแทบเอาชีวิตไม่รอด
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เมื่อพูดถึงค่ายกักกันเรามักจะนึกถึงแต่ค่ายกักกันของนาซีอย่างเอาท์ชวิทซ์ที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายล้านคน แต่โลกเรายังมีค่ายกักกันที่ไม่ได้ถูกพูดถึงอีกหลายแห่งที่มีความโหดร้ายไม่แพ้กันอยู่ด้วย
4
1. ในช่วงปีค.ศ. 1960 คิวบาได้นำพลเมืองของประเทศตัวเองเข้าค่ายกักกันโดยไม่ได้มีการสอบสวนหรือการอธิบายอะไร กลุ่มคนรักร่วมเพศเป็นเป้าหมายหลักและยังรวมถึงคนที่ติดเชื้อ HIV ด้วย เจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบบ้านทุกหลังของทุกเมืองเพื่อทำการตรวจเลือดผู้ที่ “เข้าข่าย” ตามคุณสมบัติ
1
WIKIPEDIA PD
ชายที่รักร่วมเพศหลายพันคนถูกจับและส่งไปยังค่ายแรงงานที่มีคำขวัญว่า “การทำงานทำให้กลายเป็นชาย” พวกเขายังถูกทรมาน ทำให้อับอาย อดอยากจนเสียชีวิต หลายคนเลือกที่จะฆ่าตัวตายเพื่อหนีความทรมานและการถูกล่วงละเมิด ค่ายนี้ได้บรรยายไว้ว่าไม่ต่างจากค่ายกูลักของสตาลินเลยทีเดียว
2
2. สงครามแอฟริกาใต้ในปี ค.ศ.1900-1902 อังกฤษพยายามจะทำให้กลุ่มชาติพันธุ์โบเออร์อ่อนกำลังลงด้วยการส่งเด็กและผู้หญิงชาวโบเออร์เข้าไปยังค่ายกักกัน 45 แห่งทั่วแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ยังมีคนผิวดำอีกกว่า 107,000 คนถูกส่งเข้าไปยังค่ายกักกันเหล่านี้และถูกใช้เป็นทาส
การถูกจับเข้าค่ายกักกันนั้นเลวร้ายยิ่งขึ้นไปเมื่อ เฮอร์เบิร์ด คินเชนเนอร์ ผู้สนับสนุนนโยบายสกอทช์เอิร์ธ(แนวทางเผาทำลายสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าศึก เช่น การเผาพืชพันธุ์ทางการเกษตรหรือแหล่งผลิตอาหาร) มาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งแอฟริกาใต้ ภายใต้การบงการของเขา เด็ก ผู้หญิงและคนผิวดำนับแสนคนถูกกวาดต้อนตามอำเภอใจเข้าไปยังค่ายกักกันที่แออัดยัดเยียดอยู่แล้ว
WIKIPEDIA PD
คนที่อยู่ในค่ายก็จะไม่ได้รับความสนใจใยดีในเรื่องของความเป็นอยู่ มีอาหารให้รับประทานเพียงน้อยนิด ถูกปล่อยทิ้งให้เป็นโรคหัด ไทฟอยด์และเกิดโรคระบาดในค่าย เด็กและผู้หญิงกว่า 26,000 เสียชีวิตในค่าย และคนผิวดำที่ถูกคุมขังเสียชีวิตกว่า 14,000 คน
3. เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ชาวเวียดนามใต้ที่ร่วมรบกับสหรัฐอเมริกามีทางเลือกอยู่สองอย่างคือหลบหนีออกจากประเทศหรืออยู่ในประเทศต่อโดยมีความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษโดยรัฐบาลสังคมนิยมเวียดนาม
แม้จะบอกว่าพวกเขาแค่ต้องไปเข้าค่ายการศึกษาเพียงแค่ 10 วัน แต่คนเวียดนามใต้ที่เลือกที่จะอยู่ต่อถูกบังคับให้เข้าไปยังค่ายกักกันที่เฉลี่ยแล้วพวกเขาต้องอยู่ในนั้นนานถึง 10 ปี
แม้ค่ายนี้จะถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับอดีตทหารและคนทำงานให้รัฐบาลของเวียดนามใต้ แต่ใครก็ตามที่ถูกสงสัยว่าต่อต้านคอมมิวนิสต์จะถูกจับโยนเข้าไปในค่ายโดยไม่มีการพิสูจน์ ตั้งแต่การก่อตั้งค่ายจนถึงสิ้นสุดมีผู้ที่ต้องอยู่ในค่ายนี้กว่า 2.5 ล้านคน
1
WIKIPEDIA PD
รัฐบาลเวียดนามในขณะนั้นได้นำเสนอว่าค่ายการศึกษานี้เป็นสถานที่ที่มีมนุษยธรรมที่จะเปลี่ยนให้คนทรยศให้สามารถกลับตัวกลับใจเข้าสู่สังคมได้ แต่แท้จริงแล้วมันคือค่ายแห่งความทรมานและล้างสมอง นักโทษจะถูกทุบตี ล่ามโซ่เพื่อให้ยอมรับสารภาพใน “ความผิด” นอกจากนี้ยังมีการปลูกฝังให้มองสหรัฐอเมริกาเหมือนปีศาจร้าย
การใช้แรงงานอย่างหนักถูกมองว่าเป็นหัวใจของการศึกษาใหม่หรือการเปลี่ยนแนวคิด นักโทษจะต้องทำงานที่อันตรายหนักจนหลังเกิดความเสียหายเช่น การขุดบ่อน้ำ แผ้วถางป่า การกวาดทุ่นระเบิด
ที่ค่ายการศึกษานี้ก็ไม่ต่างจากค่ายกักกันอื่นๆ ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตอย่างสูงจากโรคระบาดและการขาดอาหาร มีบันทึกของผู้ต้องขังที่นี่ไม่มากแต่คาดการณ์ว่าอาจมีผู้เสียชีวิตยังค่ายการศึกษานี้สูงถึง 165,000 คน
4. หลังจากที่เคปเวิร์คได้เป็นจุดพักของเส้นทางการค้าทาสมาอย่างยาวนานกว่า 300 ปี แอนโตนิโอ เด โอลิเวรา ซาลาซาร์ ผู้นำเผด็จการชาวโปรตุเกสก็ได้สร้างค่ายทาราฟาลขึ้นมาในปี ค.ศ. 1936 เพื่อคุมขังคอมมิวนิสต์ ผู้นิยมอนาธิปไตย ผู้ต่อต้านการล่าอาณานิคม เสรีนิยมหรือใครก็ตามที่ต่อต้านเขา ค่ายนี้ถูกให้สมญานามว่า “ค่ายแห่งความตายอย่างช้าๆ”
WIKIPEDIA PD
เหล่านักโทษคือผู้ที่คุ้นเคยกับอากาศหนาวเย็นอย่างยุโรปถูกจับให้มาอยู่ในดินแดนที่ร้อนระอุ หนึ่งในวิธีการลงโทษที่ฉาวโฉ่ที่สุดคือการให้นักโทษต้องอยู่ใน “กระทะทอด” มันคือห้องขังที่ทำจากคอนกรีตหนาตั้งอยู่กลางแดดนานนับปีและหลายคนก็เสียชีวิตในนั้น
WIKIPEDIA PD
และจากการกดดันอย่างหนักจากนานาประเทศ ค่ายนี้ต้องปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1954 แต่อย่างไรก็ตามมีการกลับมาเปิดค่ายนี้อีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1970 และนำผู้นำชาวแอฟริกันที่ต่อสู้กับโปรตุเกสเพื่ออิสรภาพมาจำคุกที่นี่ แม้สภาพความเป็นอยู่ของค่ายนี้จะเลวร้ายอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่สาแก่ใจรัฐบาลโปรตุเกส พวกเขายังได้สร้างคูน้ำ กำแพงคอนกรีตสูง รั้วลวดหนามและยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ทำให้คล้ายกับป้อมของยุคกลาง นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการสร้างห้องทรมานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนาซีอีกด้วย
ในช่วงปฏิวัติคาร์เนชันที่กรุงลิสบอนเมื่อปี ค.ศ. 1974 ได้มีการปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระและค่ายนี้ก็ถูกปิดตัวอย่างถาวร
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
9 บันทึก
20
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ I
9
20
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย