Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ป่ะว่า
•
ติดตาม
24 ก.ย. 2020 เวลา 23:00 • ประวัติศาสตร์
รู้ป่ะว่า...ดอกผักตบชวา เคยเป็นแฟชั่นยอดฮิตของชาวพระนคร
นางสงกรานต์ทัดดอกสามหาว
“ผักตบชวา” หรือ “สามหาว” พืชนี้ที่เรารู้จักกันดี เห็นได้ทั่วทุกที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในแม่น้ำลำคลองหรือห้วย หนอง คลอง บึง ยิ่งถ้าเป็นแหล่งน้ำสกปรก เจ้าผักตบยิ่งชอบนักแล
แม้จะมีชื่อว่า “ชวา” แต่แท้จริงแล้วพืชตัวนี้ เดินทางมาไกลข้ามซีกโลกจากทวีปอเมริกาใต้ มาสู่ประเทศอินโดนีเซีย โดยเจ้าอาณานิคมในสมัยนั้นที่ชื่อว่า “เนเธอร์แลนด์”
โดยเพาะเลี้ยงไว้ในเขตพระราชวัง หลายเดือนผ่านไป เมื่อดอกผักตบชวาเริ่มเบ่งบานเต็มพื้นที่ นางกำนัลสาวงามเมืองอิเหนาเห็นถึงความงดงามของมัน จึงลองเด็ดแล้วเอามาทัดหูดู ด้วยดอกสีม่วงอมฟ้าขนาดใหญ่ ทำให้สาวเธอดูโดดเด่นขึ้นมาทันที
เมื่อหลายๆคนเห็นเข้าต่างก็ลองทัดหูดูบ้าง จากหนึ่งคน เป็นหลายคน และแล้วเทรนด์ผักตบชวาก็กระจายไปทั่วทั้งเมืองหลวง ไม่เพียงแต่พวกเธอเท่านั้น มันยังฮิตไปจนถึงเจ้านายฝ่ายในของสุลต่านเกาะชวาเลยทีเดียว
ในระหว่างที่เทรนด์ดอกผักตบชวากำลังฮิตถึงขีดสุดอยู่นั้น...
ได้มีบุคคลสำคัญจากประเทศสยาม เดินทางมาเที่ยวเพื่อพักผ่อนที่เกาะแห่งนี้ บุคคลนั้นคือ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” พร้อมด้วย “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ” เมื่อปี 2439
สมเด็จพระนางเจ้าฯทรงเห็นนางกำนัลและเจ้านายฝ่ายในทัดดอกไม้กันทั่วเมืองก็เกิดความสงสัยว่าเจ้าดอกไม้นั่นคือสิ่งใดกัน สอบถามจึงได้ความว่ามันคือ ดอกผักตบ ที่เดินทางมาไกลพร้อมกับเจ้าอาณานิคม
2
ด้วยความแปลกใหม่ของต้นไม้พันธุ์นี้ และบ้านเมืองเราก็ยังไม่ใครเคยได้เห็น ก่อนวันเสด็จกลับสยาม สมเด็จพระนางเจ้าฯ จึงได้สั่งให้ข้าราชบริพารเก็บผักตบชวาจำนวน 3 เข่ง พร้อมด้วยน้ำจำนวน 10 ปี๊บ เพื่อไม่ให้ผักตบชวาผิดน้ำเดี๋ยวจะตายเสียก่อน
เมื่อถึงเมืองบางกอก ก็นำผักตบจากชวามาเลี้ยงไว้ในอ่างดินหน้าสนามวังสระปทุม ใครถามว่าคือต้นอะไรก็บอกไปว่า “ผักตบชวา”
ผ่านไป 1 เดือน ผักตบชวาออกดอกกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว พระองค์จึงแบ่งหน่อให้เจ้านายและบรรดาข้าราบริพารนำเอาไปปลูกกันถ้วนหน้า ถือได้ว่าผักตบชวาเป็นพืชเฉพาะของคนในวังเท่านั้น
แต่!! ผ่านไป 6 เดือน ผักตบชวาก็แพร่กระจายพันธุ์ล้นสระปทุม จนต้องขนไปทิ้งที่คลองสามเสนหลังวัง, คลองเปรมประชากร, คลองผดุงกรุงเกษม และเหตุนี้นี่เองที่คนบางกอกได้มีโอกาสเห็นดอกผักตบชวาเป็นครั้งแรก จึงนำมาทัดเพราะเห็นว่าสวยดี แล้วคนก็แห่กันมาเด็ดทัดกันบ้าง กลายเป็นเทรนด์ฮิตดอกผักตบชวาไปทั่วทั้งพระนคร แต่กระแสความนิยมนั้นอยู่ได้ไม่นานก็หมดลง เพราะดอกผักตบชวากลายเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ทั่วไปเสียแล้ว
หลายสิบปีผ่านไป “ผักตบชวา” เดินทางกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แล้วแต่กระแสน้ำจะไหลพาไป จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่า ผักตบชวาถือเป็นภัยคุมคามจำเป็นต้องกำจัดทิ้งเสีย จึงออกพระราชบัญญัติกำจัดผักตบชวา พ.ศ.2456
และแล้ว... ปี 2485 เป็นปีที่ฝนตกหนัก ทำแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่ง เกิดน้ำท่วมเมืองหลวงครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ครั้นเมื่อน้ำลดจนเข้าสู่สภาวะปกติ ก็ได้ลากเอา “ผักตบชวา” ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปด้วย
แน่นอนแทบไม่ต้องคิด วันเวลาผ่านไป “กอผักตบชวา” แผ่ขยายอิทธิพลกลืนกินสองข้างแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอุปสรรค์ในการแล่นเรือเป็นอย่างมาก รัฐบาลทุกยุคสมัยร่วมกันรณรงค์กำจัด “ผักตบชวา” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากเจ้าหญิงผู้งดงาม กลายเป็นพืชที่สร้างปัญหาไม่รู้จักสิ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระราชินี ทรงมีพระราชดำริในการนำ “ผักตบชวา” มาทำเป็นเครื่องใช้ กระเป๋า ที่รองหม้อ เครื่องประดับ หรือปุ๋ยหมัก
ธรรมชาติได้สร้างเมล็ดของผักตบชวาให้แข็งแกร่ง แม้ว่าน้ำจะแห้งและต้นตายไปแล้วแต่เมล็ดของมันจะยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีเลยเชียวหละ ถึงว่าสิปราบเท่าไหร่ก็ไม่หมด 🤔
1 บันทึก
33
22
21
1
33
22
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย