25 ก.ย. 2020 เวลา 10:30 • ธุรกิจ
Chit Beer คราฟท์เบียร์แบรนด์ไทย ที่เกิดขึ้นมาเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์
เคยสังเกตกันไหม ว่าในประเทศไทยมีแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่เพียงไม่กี่ชื่อ..
เป็นเพราะอะไร ?
เหตุผลหลักๆ มาจากเงินทุน ที่นักลงทุนจำเป็นต้องมีงบมหาศาลในการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทสำหรับผลิตน้ำเมา ซึ่งจำกัดด้วยข้อกดหมาย 2 ประการ คือ..
1. สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้าง โรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่ ต้องมีใบอนุญาตโรงต้มเบียร์ขนาดใหญ่ มีเงินทุนจดทะเบียนร้อยล้านบาท และจะสามารถผลิตเบียร์ได้เกินสิบล้านลิตรต่อปี
2. สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างโรงงานผลิตเบียร์ขนาดเล็ก ต้องมีใบอนุญาตโรงต้มเบียร์ขนาดเล็ก มีเงินทุนจดทะเบียนสิบล้านบาท สามารถผลิตเบียร์ได้ไม่เกินหนึ่งล้านลิตร และจะไม่สามารถบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายได้
นอกจากนี้ อีกวิธีการหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่มีทุนปานกลาง จะผลิตเบียร์โดยการผลิตที่ต่างประเทศ ก่อนจะเข้ามาตีตราและวางขายในไทย
ซึ่งเป็นขั้นตอนมี่ยุ่งยาก และมีต้นทุนไม่ต่างจากการตั้งโรงงาน
นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไม แบรนด์เบียร์ไทยถึงมีไม่กี่ชื่อ เมื่อเทียบกับต่างแดน
หากกล่าวกันตรงๆ ก็คือ..
“กฎหมายผูกขาดไว้เพื่อรองรับนายทุนใหญ่” นั่นเอง..
Chit Beer แบรนด์คราฟท์เบียร์ไทย ถือกำเนิดและมีที่ตั้งอยู่ที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ของประเทศไทย
ได้รับการวางรากฐาน และบุกเบิกโดย “ดร. พันเอก วิชิต ซ้ายเกล้า” ข้าราชการทหาร ตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และในขณะเดียวกันก็เป็นวิศวกรระบบให้กับสามบริษัทด้านไอที
ดร. พันเอก วิชิต จะชอบเรียกแทนตัวเองกับลูกค้าที่มาลิ้มลองเบียร์คราฟท์ว่า “พี่ชิต” เสมอ
ที่น่าสนใจ คือจุดเริ่มต้นที่พี่ชิต ได้มาทำธุรกิจคราฟท์เบียร์ นั่นก็เพราะ..
“ต้องการปลดแอกกฏหมายไทย สำหรับนำ้เมา” ที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนใหญ่
1
แต่คำว่าปลดแอกสำหรับพี่ชิตในที่นี้ คือไม่ได้เป็นการประท้วง ไม่ได้เป็นการนำกำลังออกมาสู้รบ แต่เป็นการประกาศศักดาด้วย “การค้า”
แล้ววิธีการของพี่ชิต ดำเนินมาอย่างไร ?
แน่นอนว่าเริ่มต้น จำเป็นต้องลองผิดลองถูกในการหาสูตรเบียร์คราฟท์เสียก่อน
เมื่อผลิตออกมาเป็นคราฟท์เบียร์รสชาติต่างๆ แล้ว ก็ใช้วิชาความรู้ที่เป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับการตลาดและธุรกิจ
1
มาใช้กับคราฟท์เบียร์ของตนเองชื่อว่า “Chit Beer” จนกระทั่งได้รับการกล่าวขาน และได้รับความนิยมจากผู้คนในเวลาอันรวดเร็ว
ที่น่าสนใจ คือ Chit Beer ไม่สามารถผลิตเบียร์ในปริมาณเยอะ ตามข้อจำกัดของกฎหมาย
พี่ชิตจึงใช้กลยุทธ์ด้วยการเปิดสอนทำคราฟท์เบียร์ขึ้นเอง
ซึ่งจะทำให้ลูกศิษย์ของพี่ชิต สามารถเอาวิธีการนำไปปรับใช้เอง และจะเป็นตัวช่วยสร้างแบรนด์คราฟท์เบียร์ให้เพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แต่คำถามที่น่าสนใจ นั้นก็คือ เมื่อมีแบรนด์คราฟท์เบียร์เยอะขึ้น แล้วผู้บริโภคจะไม่ลืมชื่อ Chit Beer เหรอ
แน่นอนว่าไม่มีใครที่ลืมแน่ เพราะต้นกำเนิดฉบับออริจินอล มาจากที่นี่ “Chit Beer”
อย่างไรก็ดี วิธีการของพี่ชิตยังช่วยปลดแอกกฎหมายนำ้เมาของไทย ได้อีกรูปแบบหนึ่ง
เพราะไม่ต้องใช้กำลังรบ ไม่ต้องมีใครออกมาขัดแย้ง ไม่ต้องมีสงครามเพื่อให้สันติสุขบังเกิด
แต่เมื่อมีผู้ผลิตคราฟท์เบียร์เยอะขึ้น และได้รับความสนใจจากนักดื่มชาวไทยเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบการค้าของนายทุนใหญ่
เพียงแค่นี้ การปลดแอกความไม่ยุติธรรม ก็จะเกิดขึ้นบนอารยธรรมที่งดงามไม่แพ้ใคร ในโลกตะวันออก..
ส่งต่อทุกแรงบันดาลใจ Share For Inspire
Follow Us On “Facebook” https://www.facebook.com/swivelth
Follow Us On “Instragram” https://www.instagram.com/swivel.th/
Reference
หมายเหตุ: สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ไม่สนับสนุนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้เขียนต้องการเสนอคอนเทนท์นี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลายๆ ด้าน และไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้น
โฆษณา