26 ก.ย. 2020 เวลา 05:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ในความฝันวิ่งหนีอะไรไม่เคยทันเลย
(ทำไมเราวิ่ง slow motion เวลาฝันกันนะ)
น้องใน LINEกลุ่ม ที่ผมสนิทด้วย มักจะส่งรูป ฮาๆขำๆ มาให้ ซึ่งพอเห็นรูปนี้ แล้วรู้สึกโดนใจเลย
ผมว่าผมก็เป็นนะ ในความฝันวิ่งช้ามาก หนีอะไรก็โดนไล่ตามทันทุกทีสิน่า, ล่าสุดหนีลูกค้า..ก็ไม่ทัน!!
คุณผู้อ่านเป็นเหมือนกันมั๊ยครับ?
ภาพนี้ได้มาจาก LINE กลุ่มที่น้องคนหนึ่งส่งมา
พอสงสัยก็พยายามหาคำตอบเบื้องหลัง, แต่เรื่องนี้ออกตัวก่อนเลยว่า ผมหาคำตอบที่เป๊ะๆอย่างที่ต้องการยังไม่ได้
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเล็กๆอันหนึ่ง (ซึ่งผมอ่านแล้วยอมรับเลยว่ามันวิจัยยาก แต่คนทำก็มีความพยายามมากๆจริงๆ ผมแปะ link เอาไว้ด้านล่างเผื่อคุณผู้อ่านอยากเข้าไปดูเพิ่มเติมรายละเอียดนะครับ
การวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นในปี 2013 นำโดย Dr. Daniel Erlacher, นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Bern ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทำการทดลองเกี่ยวกันการใช้เวลาในการทำสิ่งต่างๆในขณะที่ฝัน แล้วเปรียบเทียบกับขณะตื่น
การทดลองออกจะยุ่งยากแต่ถ้าผมข้ามไป ไม่ได้กล่าวถึงอาจทำให้คุณผู้อ่านขาดประเด็นสำคัญๆ เลยขอแตะๆเรื่องการทดลองคร่าวๆแบบง่ายๆนะครับ
1. เริ่มจากรับสมัครอาสาสมัครผู้เข้าทำการทำลองครับ โดยคัดเลือกจากคนที่สามารถรู้สึกตัวได้ในขณะผัน (lucid dream)
(🤔.. นี่ก็ยากแล้ว การหาคนที่รู้ตัวเวลาฝันได้จำนวนมากพอจะทดลอง) หาอยู่นานได้มา 31คนเอง
จำนวนผู้เข้าร่วมการทดสอบมีไม่มากนัก 31คนเอง, แถมต้องมีทักษะรู้สึกตัวขณะฝัน (lucid dream) ได้
2. ให้ผู้เข้าทำการทดลองฝึกสิ่งที่ต้องทำในขณะฝัน​โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ
2.1 การนับ (นับ 1 - 10 พร้อมกับส่งสัญญาญด้วยการกรอกตาซ้าย-ขวา)
2.2 การเดิน (ทุกครั้งที่ก้าวขา ก็นับ 1-10, กรอกตาด้วยเหมือนกัน)
2.3 ยิมนาสติก (กระโดดขึ้น-ลง, หน้า-หลัง.. ประมาณนี้แหละครับ, น่าจะยากเนอะ แน่นอนว่ารวมนับ 1-10 และกรอกตา)
หากนับครบ 1-10 ให้นับต่อ 1-20 และ 1-30.. ตรงนี้อีกแหละครับที่ผมคิดว่ามันยุ่งยาก อยากปรบมือให้ในความพยายามของ Dr. Daniel Erlacher จริงๆ
เพื่อให้มั่นใจว่าการทดลองเป็นไปอย่างแม่นยำ ผู้เข้าทดสอบทุกคนจะต้องผ่านการฝึก ทำทั้ง การนับ การเดิน ยิมนาสติก โดยทำพร้อมๆกับกรอกตา เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยก่อนทำการทดสอบจริงๆขณะหลับ ด้วยนะครับ
3. ทำการบันทึกค่าสมองระหว่างการนอนหลับ แล้วเปรียบเทียบกับการกรอกตา และผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับที่ผู้เข้าทำการทดสอบบอกมาหลังจากตื่นจากการฝัน
รูปแบบการบันทึกค่า ส่วนใหญ่หลังจาก 30วินาทีไปแล้ว หลับลึกไม่รู้ตัวไปเรียบร้อย
4. ผลการทดสอบ
ผู้เข้าทดสอบใช้เวลานานขึ้น “52.5%!”ในการเดินในฝัน, สำหรับการนับหรือยิมนาสติกก็ใช้เวลาขึ้นเหมือนกัน แต่ดูเหมือนยังไม่ถึงขนาดเรียกว่าเป็นนัยสำคัญ
การเดินในฝันจะช้าลง 52% ซึ่งทางสถิติถือว่าเป็นนัยสำคัญ
5. บทสรุปจาก Dr. Daniel Erlacher
😴 ผู้เข้าทำการทดลองมีแนวโน้มใช้เวลา “นานขึ้น”ในการทำกิจกรรมต่างๆในฝันถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับตอนตื่นในชีวิตจริง
🤔 การวิ่งแบบ slow motion เมื่ออยู่ในฝันนั้นเป็นไปได้ แต่ว่าจริงๆแล้วพูดไม่ได้ว่าจะเป็นกันทุกคน อันนี้ ดร.อ้างอิงจากผลการสัมภาษณ์คนจำนวนถึง 200,000คนเลยทีเดียว!
ถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นกันทุกคน แต่อาการวิ่ง slow motion ในฝันนี้, ติดอันดับที่ 55เลยทีเดียว
😄 มีหลายคนที่เวลาฝันนั้นวิ่งด้วความเร็วปกติ, หรือบางครั้งเร็วสุดๆแบบ super hero เลยก็มี...อู้ว~~ เยี่ยม
🤔 ขาของคนเรากับสมองเชื่อมต่อกัน เวลาเราหลับฝันว่าวิ่ง ขามันไม่ได้เคลื่อนไหวเร็วอย่างที่สมองสั่ง เราจึงรู้สึกมีอะไรหน่วงรั้งมากกว่าเวลาอยู่ในชีวิตจริง นั่นทำให้เรารู้สึก slow motion
ส่งท้าย
ไม่รู้ผู้อ่านคิดอย่างไรกับคนที่สามารถรู้สึกตัวในความฝันได้ ผมเพียงเคยเป็น แค่ไม่ขอบเพราะอยากนอนให้เต็มอิ่ม😅แค่นั้นเลยครับ
ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ
วิ่งๆๆ ทำไม่วิ่งไม่ออก??, ฝันอยู่มั๊ย??
โฆษณา