26 ก.ย. 2020 เวลา 15:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แม้แต่หลุมดำมันก็ยังโยกเยกได้??
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายของหลุมดำมวลยิ่งยวดใจกลางกาแล็คซี่ M87 ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของหลุมดำที่น่าสนใจ
แสงเรืองเสี้ยววงจันทร์ของหลุมดำนั้นมีการหมุนแกว่งไปมา
เมื่อปีที่แล้วหนึ่งในการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่น่าสำคัญคือการเปิดเผยภาพถ่ายหลุมดำเป็นครั้งแรก ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่ภาพถ่ายโดยตรงเสียทีเดียว
เพราะเป็นการรวมรวมข้อมูลตรวจวัดแล้วนำมาสร้างเป็นภาพของหลุมดำมวลยิ่งยวดที่อยู่ใจกลางกาแล็คซี่ M87 ที่มีมวลมากกว่า 6,500 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์
1
ภาพของหลุมดำมวลยิ่งยวดใจกลางกาแล็คซี่ M87 ที่สร้างความฮือฮาเมื่อปีก่อน
แต่ทั้งนี้ภาพที่ได้นี้เป็นภาพที่สร้างขึ้นจากข้อมูลการสังเกตในช่วงเดือนเมษายนปี 2017 ซึ่งความจริงแล้วนักดาราศาสตร์ได้เฝ้ามองมันมาแล้วกว่า 20 ปี ด้วยกล้อง Event Horizon Telescope (EHT)
และมาวันนี้เมื่อทีม ETH ได้นำข้อมูลการสังเกตตั้งแต่ปี 2009 ถึงปี 2013 นำมาวิเคราะห์ด้วยอัลกอลิทึมที่ใช้สร้างภาพหลุมดำนี้จากข้อมูลในปี 2017 เพื่อสร้างภาพหลุมดำขึ้นมาใหม่
ผลที่ได้นั้น ภาพที่ได้ในปี 2009 จะมีความละเอียดน้อยกว่า เพราะด้วยข้อจำกัดของอุปกรณ์ในยุคนั้น แต่ก็ยังเพียงพอที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบความจริงบางอย่างของเจ้าหลุมดำนี้เพิ่มเติม
ภาพหลุมดำที่สร้างจากข้อมูลการสังเกตในปีต่าง ๆ
ข้อแรก: ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) เขตแดนที่ไม่มีการหวนกลับแม้แต่แสงก็หนีออกมาไม่ได้ของเจ้าหลุมดำนี้มีขนาดเท่าเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ้านมามันจะดูดกลืนมวลสารปริมาณมหาศาล แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ขนาดของขอบฟ้าเหตุการณ์เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์
โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของ event horizon ของเจ้าหลุมดำนี้มีขนาด 38,000 ล้านกิโลเมตรเท่าเดิมมาตลอดตั้งแต่ปี 2009 แม้ว่ามันจะมีมวลเพิ่มขึ้นตลอดเวลาก็ตาม
วงแหวนมรณะมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ข้อสอง: ภาพของวงแหวนที่คล้ายจันทร์เสี้ยวเรืองแสงนั้นมีการโยกเยกไปมาตลอดช่วงเวลาที่เฝ้าสังเกต
ในทีแรกทีม EHT ยังไม่อาจสังเกตเห็นปรากฎการณ์นี้เพราะช่วงเวลาของข้อมูลที่นำมาประมวลผลสร้างเป็นภาพหลุมดำมีไม่มากพอ
แต่เมื่อทีมสามารถประมวลผลข้อมูลตั้งแต่ปี 2009 จึงได้รู้ว่าวงแหวนเรืองแสงของกลุ่มมวลสารในจารเร่งมวลสารนี้มีการหมุนแกว่งโยกเยกไปมารอบขอบฟ้าเหตุการณ์ได้
1
ส่วนประกอบของหลุมดำ
ซึ่งการค้นพบนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันอาจช่วยให้เราเข้าใจกระบวนการเกิดลำพวยก๊าซที่พุ่งออกจากแกนหมุนของหลุมดำ (Relativistic jet)
แน่นอนว่าทีม EHT ยังคงเฝ้ามองและสังเกตเจ้าหลุมดำ M87* นี้ต่อไป และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อุปกรณ์ตรวจวัดที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เราคงได้ภาพของหลุมดำที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ และมันอาจจะมีอะไรให้เราได้ตะลึงอีกก็เป็นได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา