27 ก.ย. 2020 เวลา 11:46 • การศึกษา
"การศึกษาไทยในห้วง 20 ปี"
(เรื่องนี้ขออนุญาตสงวนไว้ให้สำหรับ อดีตนักบิณฑ์และพวกพ้อง)
ในห้วงเวลาแห่งการเรียกร้องเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ขณะนี้
จากปี 2540 ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งชาติให้มี "กฏหมายเกี่ยวกับการศึกษา"
ต่อมา ปี 2542 ก็คลอด พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรก แทนแผนการศึกษาที่เคยใช้ในอดีต
(ครูศิลปากรสอนมา)
นักการศึกษา ต่างพยายามขวนขวายหา best practices จากหลายประเทศ
เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างการปฏิรูปการศึกษาของไทย
แต่แน่นอนว่า คงไม่อาจจะนำแบบอย่างประเทศอื่นใด ที่ไกลกว่าเครือจักรภพ
เพราะกฏหมาย หรือบริบททางการศึกษาของสยามหรือไทย
ถอดบทเรียนมาจากแดนผู้ดี
อย่างไรก็ตาม
ในยุคนั้น พรบ. การศึกษา ถือว่า เป็นความหวังของผู้เรียน
ว่า "การศึกษาจะทำให้เขาอยู่รอด" รวมทั้งผมด้วย
ผลกระทบที่เกิดกับตัวเองคือ
จากเด็กบ้านนอกที่ได้มีโอกาสร่ำเรียนในสถาบันเล็กๆ ที่เกิดขึ้นมากว่า 133 ปี
โดยภาคภูมิใจว่า "เป็นสถาบันวิชาการชั้นสูงและถูกสถาปนาโดยพระมหาราชแห่งสยาม"
แต่ในยุคนั้น มหาวิทยาลัยแห่งนี้ แทบไม่เป็นที่รู้จัก และถูกตราหน้าว่า "มหาวิทยาลัยเถื่อน" ด้วยซ้ำ
แต่ด้วย พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 ทำให้ถูกยกสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ มีตัวตนทางกฏหมาย
"นิสิตที่เรียนจบแล้วการันตีว่าสมัครงานได้ตามวุฒิ"
จากวันนั้น มาถึงวันนี้ 20 ปีกว่า
หน่วยงานภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงกฏหมายลูกทางการศึกษาอีกมากมาย
แต่ช่างเถอะ! ความเป็นจริงคือ
วันนี้ มีนักเรียนรุ่นใหม่ ที่ผู้ใหญ่ให้เกียรติว่า "เป็นอนาคตของชาติ" ออกมาร้องป่าวๆ และเรียกร้องว่า
"ควรปฏิรูปการศึกษา"
แน่นอนล่ะ เด็กๆ ส่วนมากเขาไม่ได้อิงอาศัยครูบาอาจารย์เหมือนอย่างยุคก่อน
เขาสามารถเข้าถึงองค์ความรู้จากอินเตอร์เน็ต
เขาสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ จากโชเซียลเน็ตเวิล์ค
เขาสามารถเป็นอยู่ได้ด้วยองค์ความรู้ของเขา
ผู้ใหญ่รุ่นเก่าจึงปฏิเสธไม่ได้นะครับ (รวมถึงกระผมในฐานะผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน)
สิ่งที่เราควรจะให้เด็กๆ เหล่านั้นคือ "จิตวิญญาณ" (อินเตอร์เน็ตไม่ได้สอนจิตวิญญาณ)
แต่ที่น่าอนาจคือ
"ผู้ใหญ่บางคน ยอมขายจิตวิญญาณให้กับอำนาจ เพื่อหักหลังอนาคตของชาติ เพียงเพราะกลัวเด็กเขาจะได้ดีกว่า หรือกลัวว่าตัวจะเสียอำนาจ"
นั้นแสดงให้เห็นว่า "ผู้ใหญ่เหล่านั้นขาดหลักพรหมวิหาร 4 " ตามที่ออกข้อสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยเมื่อไม่นานมานี้เอง (5555)
ในฐานะคนรุ่นเก่า ที่ฝากความหวังกับระบบการศึกษาใหม่
ในฐานะนักการศึกษา ที่เลือกเรียนสายบริหารการศึกษาเพื่อมุ่งจะช่วยพัฒนาประเทศ
ในฐานะนักศึกษาที่พยายาม เล่าเรียนให้จบ ดร. อันเป็นเครื่องตีตราว่า จบหลักสูตรสูงสุดของชาติ
แต่มาวันนี้ ยังต้องฉงนและสงสัยว่า ระบบการศึกษาทั้ง 3 ระบบ คือ ในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย
ที่ลอกประเทศอื่นมานั้น เรานำไปสู่การปฏิบัติได้จริงแค่ไหน มีผลเลิศกว่าอดีตกระนั้นหรือ
คนที่จบสูง มิได้หมายความว่า "เป็นคนดี"
คนที่มีอำนาจยศาบรรดาศักดิ์ ก็มิได้หมายความว่า "เป็นคนดี" เพราะอาจจะซื้อตำแหน่งมาด้วยเงินขายแป้ง
คนที่เป็นใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่า "จะเป็นคนไม่กินข้าว" เหมือนตาสีตาสาบ้านนอก ซะเมื่อไหร่
สิ่งที่ควรจะให้คุณค่าคือ "จิตใจที่ประกอบด้วยธรรม" มิใช่หรือ
ความดี ความเอื้อเฟื้อ ความยึดมั่้นในหลักคำสอนของศาสนาของตน มิใช่หรือ
คือ "New Normal" อย่างแท้จริงและยั่งยืน
"การศึกษาของไทย ยังคงต้องมืดมลต่อไป ถ้าหากไม่ฟังคำของคนรุ่นใหม่บ้าง"
ไม่มีใครเป็นเจ้าของประเทศ
ไม่มีใครเป็นเจ้าของโลก
ไม่มีใครเป็นเจ้าของจักรวาล
คนที่เป็นอยู่มีเพียงลมหายใจเพื่อความอยู่รอด
คนที่เป็นอยู่มีเพียงเวลาที่เหลือซึ่งไม่รู้ว่าจะหมดเมื่อไหร่
แต่คนที่เป็นอยู่ ในวันนี้ สามารถลิขิตตัวเองให้อนาคตว่า "จะไปดี" หรือ "ไปเลว" ได้ด้วยตนเอง
รักและนับถือในความเป็นมนุษย์ของทุกคน
...เม็ดทรายในจักรวาล...
26/09/2563
โฆษณา