Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BAKE NEWS
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2020 เวลา 14:05 • ประวัติศาสตร์
การล่มสลายของระบอบกษัตริย์รัสเซีย : ราชวงศ์โรมานอฟ
การล่มสลายของระบอบกษัตริย์รัสเซีย ส่วนหนึ่งมาจากการปฏิวัติรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1917 จากความยืดเยื้อของสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วง ค.ศ. 1914-1918
แม้รัสเซียจะมีกองทหารจำนวนมากแต่มีอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การรบแนวหน้าไม่ประสบผลสำเร็จ สงครามในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในประเทศเป็นอย่างมาก เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวยาก หมากแพง จํานวนคนว่างงานก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ คนในประเทศเริ่มต่อต้านรัฐบาล แต่ทว่า กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 ยังยืนยันที่จะทำสงครามต่อไป
ซาร์นิโคลัสที่ 2 ขึ้นครองราชย์ต่อจากซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระบิดาที่เสียชีวิตเมื่อปี 1894 ซึ่งตลอดการครองราชย์ซาร์อเล็กซานเดอร์ไม่เคยเข้าร่วมกับสงครามระหว่างประเทศเลยและยังได้รับฉายาว่าเป็น “ผู้รักษาสันติภาพ” แต่ซาร์นิโคลัสดำเนินนโยบายต่างออกไป พระองค์ต้องการขยายอิทธิพลของรัสเซียไปยังประเทศรอบข้าง
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเฮสส์ รัฐหนึ่งในจักรวรรดิเยอรมัน ก่อนจะเปลี่ยนพระนามเป็น จักรพรรดินี หรือ ซารินาอเล็กซานดรา เฟโดโอรอฟนา ตามธรรมเนียมแบบรัสเซีย มีเรื่องเล่ากันว่าวันที่อภิเษกได้มีประชาชนมาร่วมมากมายเกินที่คาดไว้จนทำให้มีการเหยียบกันจนเกิดโศกนาฏกรรม KHODYNKA มีผู้สียชีวิตกว่า 1,389 คน
4
ซาร์นิโคลัสที่ 2 และครอบครัว
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรพรรดินี ซารีนา ได้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ที่ประจำอยู่ในสมรภูมิสงคราม ซารีนาทรงเชื่อคําแนะนําของรัสปูติน (นักแสวงบุญผู้รักษาโรคและเป็นผู้ถวายคำแนะนำอย่างลับ ๆ แก่ราชวงศ์โรมานอฟ ต่อมากลายเป็นผู้มีอิทธิพลในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ในการแต่งตั้งผู้ใกล้ชิดของเขาที่ไร้ความสามารถให้ดํารงตำแหน่งสำคัญๆ ทำให้การปกครองยิ่งไร้เสถียรภาพ จึงเริ่มเกิดเสียงเรียกร้องจากสภาดูมา ให้มีการปฏิรูปการเมืองการปกครอง
5
รัสปูติน มีอิทธิพลต่อจักรพรรดินี ซารีนา เป็นอย่างมาก
ประชาชนชาวรัสเซียไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ ทหาร ตำรวจ กรรมกร นักศึกษา ปัญาชน เริ่มออกมาต่อต้านรัฐบาลโดยเดินขบวนชุมนุมประท้วงและก่อจลาจลตามเมืองต่างๆ เพราะไม่สามารถอดทนกับสภาวะตกงานและอดอยากได้อีกต่อไป
การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เริ่มต้นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ (3 มีนาคมตามปฏิทินสากล) จากการนัดหยุดงานและชุมนุมใหญ่ของกรรมกรโรงงานพติลอฟ (Puitoy) ซึ่งเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเปโตรกราด
1
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 (8 มีนาคม ตามปฏิทินสากล) มีการเดินขบวนของกรรมกรหญิง ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล ตามมาด้วยการนัดหยุดงานจากทุกอาชีพทั่วทั้งประเทศ คนงานหลายพันคนหลั่งไหลไปตามถนนในกรุงเปโตรกราดเพื่อแสดงความไม่พอใจรัฐบาล
1
การเดินขบวนของกรรมกรหญิง
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 มีข่าวลือว่า รัฐบาลรัสเซียเริ่มใช้มาตรการปันส่วนอาหาร โดยเฉพาะแป้งและขนมปัง ทำให้เกิดข่าวลือเรื่องการขาดแคลนอาหารจึงยิ่งทำให้เกิดการจลาจล มีรายงานว่ามีประชาชนมาร่วมชุมนุมกว่า 200,000 คน
ในคืนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ซาร์นิโคลัสที่ 2 มีรับสั่งให้รีบสลายการชุมนุมประท้วง ฝ่ายรัฐบาลได้จับกุมสมาชิกพรรคบอลเชวิค ทางพรรคบอลเชวิคจึงออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประชาชนลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านระบอบซาร์
1
ผู้ชุมนุมประท้วงกว่า 200,000 คน
คืนวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เหตุการณ์ยิ่งรายแรงขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาประชาชนบุกยึดสถานีรถไฟ คลังอาวุธ จุดยุทธศาสตร์ และเผาสถานที่ราชการสําคัญ ๆ ในกรุงเปโตรกราด เช่น ศาลแขวง สำนักงานใหญ่ของหน่วยตำรวจลับ รวมทั้งปลดปล่อยนักโทษการเมืองให้เป็นอิสระ ในที่สุดกรุงเปโตรกราดก็ตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายปฏิวัติและมีการจัดตั้งสภาโซเวียตเปโตรกราดแห่งผู้แทนกรรมกรและทหาร (Petrograd Soviet of Worker’s and Soldiers Deputies)
นอกจากนั้นสมาชิกในสภาดูมาบางส่วนไม่สามารถทนดูเฉยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการชั่วคราวแห่งสภาดูมาขึ้นมา นำโดย มิคาอิล โรดเซียนโก (Mikhail Rodzianko) ประธานสภาดูมา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักธุรกิจรายใหญ่ในมอสโคว์และนายธนาคารในกรุงเปโตรกราด
มิคาอิล โรดเซียนโก ประธานสภาดูมา ได้โทรเลขถึงซาร์นิโคลัสที่ 2 ทูลแจ้งเรื่องความวุ่นวายโกลาหลที่เกิดขึ้นในกรุงเปโตรกราด เพื่อขอให้พระองค์ทรงจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่และเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารประเทศ แต่พระองค์ไม่สนพระทัย อีกทั้งรัฐบาลยังส่งทหารหน่วยคอซแซค (Cossack) ที่ว่ากันว่าเป็นทหารที่จงรักภักดีต่อซาร์มาควบคุมและปราบปรามประชาชน แต่ทหารกลุ่มนี้เห็นใจชาวรัสเซียและเปลี่ยนท่าทีมาสนับสนุนประชาชนแทน
1
สภาโซเวียตเปโตรกราดแห่งผู้แทนกรรมกรและทหาร
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ซาร์นิโคลัสที่ 2 ตัดสินใจเดินทางออกจากแนวหน้าในสมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่1 เพื่อมุ่งกลับกรุงเปโตรกราด ในตอนเย็นของวันที่ 1 มีนาคม ขณะทราหน่วยพิทักษ์พระราชวังอะเล็กซานเดอร์ ที่ซาร์สโกเอเซโล (Tsarskoe Selo) ได้ “ประกาศความเป็นกลาง” หรือบางส่วนก็หนีออกจากกรุงเปโตรกราดซึ่งเป็นการละทิ้งราชวงศ์ของซาร์
ขณะเดียวกัน ฝ่ายปฏิวัติที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมาธิการชั่วคราวแห่งสภาดูมา และสภาโซเวียตเปโตรกราด ได้มีประกาศการสิ้นสุดอํานาจของรัฐบาลซาร์ ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1917
ซาร์นิโคลัสที่ 2 ขณะอยู่แนวหน้าในสมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่1
2 มีนาคม ค.ศ. 1917
นิโคไล รุซสกี ผู้นำกองทัพ (Nikolai Ruzsky) วาซิลี โชล์กิน (Vasily Shulgin) และอะเล็กซานเดอร์ กุชคอฟ (Alexander Guchkov) ได้ถวายคำแนะนำซาร์นิโคลัสที่ 2 ว่าการสละราชย์เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยกอบกู้ประเทศได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยสละราชบัลลังก์ให้แก่ชาเรวิช อะเล็กเซย์ (Tsarevich Alexei) พระราชโอรส แต่ทรงเปลี่ยนพระทัยประกาศมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชาแกรนด์ ดุกไมเคิล อะเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Michael Alexandrovich) แต่พระอนุชาทรงปฏิเสธราชบัลลังก์ จึงทําให้ราชวงศ์โรมานอฟซึ่งปกครองรัสเซียกว่า 300 ปีสิ้นสุดลง
หลังโดนโค่นล้ม พระเจ้าซาร์และราชวงศ์โรมานอฟ ถูกพวกบอลเชวิก หรือพวกคอมมิวนิสต์โซเวียตควบคุมตัวไว้ที่เมืองเยคาเทรินบุร์ก ก่อนมีมติว่าให้ดำเนินการประหารสมาชิกราชวงศ์โรมานอฟทั้งหมด
สภาพห้องที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่2 และราชวงศ์โรมานอฟ โดนประหาร
หลังจากที่ราชวงศ์โรมานอฟ สิ้นสุดลง ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
วลาดีมีร์ เลนิน ทำการยึดอำนาจได้สำเร็จ
37 บันทึก
44
14
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
THE LAST CZAR : สิ้นสุดระบอบกษัตริย์รัสเซีย
37
44
14
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย