Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Select for Better Sleep
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2020 เวลา 06:10 • สุขภาพ
เมื่อคุณเป็นคนหนึ่งที่...ตอนนอนต้องเปิดไฟนอน!
การเปิดไฟนอน...เรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติของหลายๆ ท่านเลยก็ว่าได้ ที่เมื่อ ปิดไฟ
แล้วนอนไม่หลับ สาเหตุจะมาจากการที่ตาของมนุษย์เราจะปรับให้คุ้นชินกับแสง
สว่าง เราเลยชินกับการนอนในที่ ที่มีแสงสว่าง
ดังนั้นเมื่อเราต้องไปอยู่ในที่มืดสนิท เราก็จะเกิดความกังวล มีผลพลอยทำให้เรา
นอนไม่หลับ เราเลยเข้าใจว่า ต้องนอนเปิดไฟนะ ถ้าปิดไฟจะนอนไม่หลับ
{รู้หรือไม่ว่า} แสง มีบทบาทในการควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ด้วยนะคะ โดยแสง จะส่งผลกระทบต่อ #ฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งการ
นอนหลับ ที่จะถูกหลั่งออกมา เฉพาะในตอนกลางคืนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราได้รับแสงสว่าง เวลากลางคืน จะมีผลให้เมลาโทนินหลั่งผิดปกติและไม่สมดุล!
2
แสง ความสว่าง รวมถึงแสงแดด และแสงไฟที่กระทบดวงตาเราด้วยนะคะ และใน
ตอนที่เราหลับนั้น หากเรายังคงได้รับ แสง มันจะส่งผลร้ายต่อเราอย่างที่เราไม่คาด
คิดเลยทีเดียวนะคะ
👉 เพราะแสงไฟเหล่านั้นยังคงรบกวนการทำงานของฮอร์โมน #เมลาโทนิน ซึ่งเป็น
ฮอร์โมนที่ช่วยให้เรานอนหลับสนิท ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน ช่วยชะลอความแก่
ช่วยให้ร่างกายเราได้ซ่อมซ่อมส่วนที่สึกหรอ นะคะ
ในห้องนอนเราควรหลีกเลี่ยงการใช้โคมไฟแบบแสงสีฟ้า
เพื่อนๆ สามารถอ่านบทความหรือฟังเสียงพอดแคส เรื่องการนอนหลับสนิท หลับลึก จนร่างกายได้รับเมลาโทนินได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้นะคะ
https://www.blockdit.com/articles/5f5b165a3af6390c2bc4eca7
แล้วเราจะทำยังไง...หากเราเป็นคนหนึ่งที่ นอนเปิดไฟมาตลอด
💡อันดับแรกเลยนะคะ หากเรายังยึดติดกับการนอนเปิดไฟ เราควรเริ่มจากการ
เปลี่ยนเป็นหลอดไฟ โดยเฉพาะโคมไฟข้างเตียงให้เป็นแบบ LED (หรือ Sleep
Companion) ที่จะช่วยให้การหลับเราเป็นธรรมชาติมากขึ้น
💡เปลี่ยนหลอดไฟในห้องนอน ให้เป็นแสงสีส้ม
💡ถ้าเป็นไปได้นะคะ ควร เลิกใช้หลอดไฟฟลูออร์เรวเซนต์ โดยเฉพาะแบบที่เป็น
เกลียวๆ เพราะแสงสีฟ้าที่อยู่ในหลอดไฟ จะทำให้ตาเราทำงานหนักขึ้น กระทบต่อ
การหลั่งเมลาโทนิน
📱หยุดใช้สมาร์ทโฟนก่อนเข้านอน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 🖥 รวมทั้งจอคอมพิวเตอร์
ทีวีด้วยนะคะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ มีแสงสีฟ้า ที่รบกวนการทำงานของฮอโมน แล้ว
ยังทำร้ายดวงตาเราด้วยนะคะ
2
🛏 หากบริเวณที่เรานอน มีหน้าต่างหรือระเบียงที่แสงไฟด้านนอกส่องเข้าได้ เราควรหาอะไรมาปิดบังส่วนที่ไฟเข้ามา โดยไม่ต้องใช้ม่านปิดทึบนะคะ เพราะหากตอนเช้าพระอาทิตย์ขึ้นแล้วแสงสามารถส่องผ่านเข้ามาในห้องเราได้ จะเป็นการดีกับเรามากๆ เพราะร่างกายเราจะสามารถตื่นอย่างเป็นธรรมชาติ จากการถูกกระตุ้นด้วยแสง
จากพระอาทิตย์ที่ทำงานร่วมกับนาฬิกาชีวภาพในร่างกายเรานะคะ
นอกจากนี้เรายังมีเทคนิคที่เบดอ่านเจอจากหนังสือแปลของญี่ปุ่นนะคะ โดยเค้าแนะนำ เรื่องการปิดไฟ หรือลดแสงไฟว่า โดยให้เราเริ่มจากการ
ค่อย ๆ ปรับตัวให้ตาเริ่มคุ้นชินกับความมืด โดยการค่อย ๆ ลดแสงสว่างให้นอนลง เช่น หันไฟเข้าหาผนังจะได้ไม่ได้รับแสงสว่างโดยตรง หรือปิดไฟหนึ่งดวงจากเดิมที่
เคยเปิดสองดวง
🛌 เทคนิคที่เค้าใช้ในการ เปลี่ยนจาก เปิดไฟนอน เป็น ปิดไฟนอน โดย "เทคนิคอาสัยกลไกในร่างกาย" ที่ว่า เมื่อ "อุณหภูมิแกนกลางร่างกายลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจะ
ทำให้รู้สึกง่วงนอน"
2
ในการทำให้ข้อเท้าอบอุ่นเป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการปรับอุณหภูมิแกนกลางร่างกายให้ลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อข้อเท้าอบอุ่น เหงื่อก็จะออกจากฝ่าเท้า เมื่อเหงื่อถูกอากาศในห้องแอร์ก็จะระเหย และร่างกายก็จะระบายความร้อนออกมา อุณหภูมิของ
ร่างกายเราก็จะลดลง
1
วิธีการโดยเริ่มจาก หลังจากอาบน้ำแล้ว ให้เราลองใส่ปลอกขา โดยปิดคลุมตั้งแต่
เข่าไปจนถึงข้อเท้า หรือใส่ถุงเท้ายาวที่เปิดนิ้วเท้าและทำให้ข้อเท้าอบอุ่นไว้ ใส่ไว้
ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นเราจะเริ่มรู้สึกง่วงนอน
*สำหรับท่านที่ขี้ร้อนอาจจะถอดถุงเท้าออกก่อนนอนก็ได้นะคะ
** ลองทำต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ โดยยังคงนอนเปิดไฟเหมือนเดิม
1
หลังจากนั้นเดิมทีสมองเราเคยรับรู้ว่า เมื่อเปิดไฟไว้ถึงจะหลับ สมองก็จะเริ่มจะจดจำใหม่ว่า "เมื่ออุณหภูมิแกนกลางร่างกายลดต่ำลงก็จะหลับ" และหากเราทำต่อเนื่อง
หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ให้ลองปิดไฟนอน โดยยังคงใส่ปลอกขาหรือถุงเท้านี้อยู่
1
เราก็จะ ปิดไฟ...แล้วนอนหลับ ได้แล้วค่า
เคล็ดลับทั้งหมดนี้เราหวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย เพราะเราอยาก
ให้เเพื่อนๆ นอนหลับอย่างมีคุณภาพนะคะ หากเพื่อนๆ เห็นว่ามีประโยชน์สามารถ
แชร์ได้เลยค่ะ
1
ได้ผลลัพธ์อย่างไร อย่าลืมมาบอกกันบ้างน้า
แล้วพบกับเรื่องราวดีๆ ได้ที่นี่ และที่เพจ FB Sleep Select Thailand
https://web.facebook.com/Sleepselectthailand/
1
25 บันทึก
36
3
34
25
36
3
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย