28 ก.ย. 2020 เวลา 07:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความเจ็บปวดของ “พืช”
เวลาที่เกิดอันตรายหรือความเจ็บปวดนั้น มนุษย์หรือสัตว์จะมีการตอบสนอง นั่นคือการสู้หรือไม่ก็หนี
แต่หากบอกว่าพืชนั้นก็มีความรู้สึก มีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดเช่นกัน หลายคนอาจทำหน้างงและนึกไม่ออกว่าเป็นยังไง
ในปีค.ศ.2018 (พ.ศ.2561) ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย “University of Wisconsin-Madison” สหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัย โดยมีเนื้อหาว่าเมื่อพืชได้รับบาดเจ็บ มีความเจ็บปวด ก็จะส่งสัญญาณจากระบบประสาทไปทั่วพืชนั้น ไม่ต่างจากเวลาที่มนุษย์หรือสัตว์ได้รับความเจ็บปวด
โดยปกติเมื่อมนุษย์ได้รับความเจ็บปวด ระบบรับความรู้สึกจะส่งสัญญาณไปถึงระบบประสาท และทำการหลั่งสารสื่อกระแสประสาทกลูตาเมต และทำให้มีการหลั่งอะดรีนาลีน สั่งการให้หนีหรือสู้
พืชนั้นไม่มีระบบประสาท แต่จากการศึกษาและถ่ายวีดีโอขณะที่พืชถูกหนอนกิน ก็พบว่ามันก็มีปฏิกิริยาตอบสนองเช่นกัน
นี่คือวีดีโอขณะที่หนอนกำลังกินพืช และปฏิกิริยาของพืชที่ถูกกิน
ด้วยความที่ไม่มีระบบประสาท พืชจึงไม่มีกระแสประสาท แต่ยังคงมีสารกลูตาเมต ซึ่งหลั่งออกมาขณะถูกกิน และยังมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียดของมันเองอีกด้วย
อันที่จริง นักวิทยาศาสตร์เองก็ได้ศึกษาเรื่องความเจ็บปวดของพืชมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าความรู้สึกนี้มาจากไหน
ได้มีการทดลองทำให้พืชเสียหาย เช่น ให้หนอนกิน เอากรรไกรมาตัด และศึกษาดู ก็พบว่าพืชมีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยปกป้องตนเองออกมา
การตอบสนองต่อความเจ็บปวดของพืชนั้น ไม่เหมือนกับมนุษย์และสัตว์ หากแต่มันก็มีวิธีการในแบบของมันเอง
ครั้งหน้าหากกินผัดผัก เราอาจจะรู้สึกได้ว่าผักที่กำลังกินนั้น กำลังเจ็บปวดอยู่ก็เป็นได้
โฆษณา