28 ก.ย. 2020 เวลา 11:00 • ความคิดเห็น
ทำไมบางครั้งท้องฟ้าถึงเป็นสีชมพู??
เมื่อสองวันที่ผ่านมากระแสท้องฟ้าเป็นสีชมพูกำลังฮิตในโซเชี่ยลมีเดียมาก หลายคนถ่ายรูปท้องฟ้าในสถานที่ต่างๆที่เป็นสีชมพูน่ารักๆแล้วก็โพสลงโซเชี่ยลกันเต็มไปหมดและเราก็เป็นหนึ่งในนั้น😂
เลยเริ่มสงสัยว่าแล้วท้องฟ้ามันกลายเป็นสีชมพูได้ยังไงและทำไมบางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นแต่พอถ่ายรูปออกมาแล้วมันเป็นสีชมพูเฉยเลย
ภาพจาก PINTEREST
วันนี้เลยมีสมมติฐาน 2 ข้อมาพูดคุยกันค่ะ
สมมติฐานหลักที่ท้องฟ้ากลายเป็นสีชมพูก็เพราะว่าเกิดจากการกระเจิงของแสงในวันที่มีก้อนเมฆ ฝุ่นละออง หรือไอนำ้ในชั้นบรรยากาศเยอะ หรือเรียกง่ายๆก็คือขึ้นอยู่กับ "ความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ"
เพราะฉะนั้นตอนตกเย็นที่เราเห็นท้องฟ้ากลายเป็นสีชมพูก็เพราะว่าในช่วงเย็นจะมีความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศสูงเลยส่งผลให้แสงต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้น ทำให้แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นๆอย่างสีฟ้าสะท้อนกลับออกไปในบรรยากาศชั้นบนจนเกือบหมด เหลือไว้เพียงคลื่นแสงสีแดงหรือสีชมพูที่มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่า ซึ่งสามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศเข้ามาได้และกระจายออกไปในหมู่ก้อนเมฆนั่นเอง
ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 26/09/20 เวลาประมาณ 18.30
สมมติฐานรองที่ท้องฟ้ากลายเป็นสีชมพูทั้งหมดก็เพราะว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติก่อนที่พายุกำลังจะเข้า!!
ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนที่พายุฮากิบิสที่แรงที่สุดในรอบ 60 ปีจะเข้าถล่ม ดังนั้นท้องฟ้าเลยกลายเป็นสีชมพูอย่างชัดเจนตามภาพ (อันนี้เริ่มไม่น่ารักแต่เริ่มน่ากลัวแล้วค่ะ😂)
ภาพจาก https://today.line.me/th/v2/article/แปลกตา+ท้องฟ้าสีชมพู+ก่อนพายุไต้ฝุ่นฮากิบิส+ถล่มญี่ปุ่น-krx791 และ https://twitter.com/yuccanimiso/status/1182845740940292096?s=21

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา