28 ก.ย. 2020 เวลา 09:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดวงจันทร์มาจากไหน
ในปัจจุบัน มีทฤษฎีการถือกำเนิดของดวงจันทร์ซึ่งเป็นที่รู้จักอยู่ 4 ทฤษฎี บวกกับทฤษฎีใหม่ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ทฤษฎีเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
1.ทฤษฎีการแยกตัว (Fission Theory) – ดวงจันทร์เคยเป็นส่วนหนึ่งของโลกมาก่อน และเกิดการแยกตัวออกจากโลกที่หมุนอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยจักรวาล จุดที่ถูกคาดว่าดวงจันทร์แยกตัวออกจากโลกมากที่สุดคือบริเวณแอ่งสมุทรแปซิฟิก
ภาพจำลอง Fission Theory - ที่มา Farnham Astronomical Society
2.ทฤษฎีการจับ (Capture Theory) – ดวงจันทร์เกิดขึ้นที่อื่นในระบบสุริยจักรวาล ลอยผ่านโลกและถูกสนามแรงโน้มถ่วงโลกดึงดูดเอาไว้
ภาพจำลอง Capture Theory - ที่มา http://twoflags.byethost3.com/
3.ทฤษฎีการรวมตัว (Condensation Theory) – ดวงจันทร์และโลกต่างถือกำเนิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันเป็นระบบสุริยจักรวาล ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นในวงโคจรโลก
ภาพจำลองการก่อตัวของระบบสุริยจักรวาลจากวงแหวนฝุ่นและก๊าซที่หมุนวน และทฤษฎีการรวมตัวขึ้นของโลกและดวงจันทร์ก็มีสมมุติฐานที่ใกล้เคียงกัน - ที่มา NASA
4.ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ (Giant Impact Theory) – ดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงดาวอังคารพุ่งชนโลก และเศษวัสดุจากการพุ่งชนเมื่อราว 4.5 ล้านปีก่อนฟุ้งกระจายขึ้นสู่อวกาศ กลายเป็นวงแหวนโคจรรอบโลก ก่อนจะรวมกันเป็นดวงจันทร์
1
ในทฤษฎีทั้งสี่ ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่หรือ Giant Impact Theory เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน ดาวเคราะห์ที่พุ่งเข้าชนโลกถูกเรียกขานว่าธีอา (Theia) ซึ่งตั้งตามชื่อไททันธีอา เทพีแห่งการมองเห็นและแสงสว่างในตำนานเทพปกรณัมกรีก ทฤษฎีนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ตัวอย่างหินดวงจันทร์จากโครงการอะพอลโล ที่พบว่าไอโซโทปของออกซิเจนมีอัตราส่วนใกล้เคียงกับโลกมาก บ่งชี้ว่าโลกและดวงจันทร์มาจากต้นกำเนิดเดียวกัน
3
ภาพจำลอง Giant Impace Theory - ที่มา NASA
แต่มีทฤษฎีที่ใหม่กว่านั้นที่เสนอว่าดวงจันทร์เกิดก่อนโลก โดยโมเดลของทฤษฎีนี้สามารถตอบคำถามเรื่ององค์ประกอบทางเคมีของดวงจันทร์ที่ทฤษฎีการพุ่งชนครั้งใหญ่ไม่อาจตอบได้
ทฤษฎีใหม่นี้กล่าวถึงซินเนสเทีย (synestia) ซึ่งเป็นสภาพที่ก่อตัวขึ้นเมื่อวัตถุที่มีขนาดใหญ่ระดับดาวเคราะห์ปะทะกัน จนมวลหินหลอมเหลวและหินระเหยโคจรรอบตัวเอง หมุนวนจนขยายตัวออกเป็นหินระเหยรูปโดนัท โดยซินเนสเทียน่าจะคงอยู่เพียงไม่กี่ร้อยปี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากในทางดาราศาสตร์ มันหดตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่แผ่ความร้อนออก ทำให้ไอหินรวมตัวกลายเป็น “ฝนตก" เข้าสู่ศูนย์กลางของมวล จนในที่สุดก็อัดกันเข้าเป็นดาวเคราะห์หินหลอมเหลว
ภาพจำลอง synestia- ที่มา Sarah Stewart/UC Davis/NASA
ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นในโลกที่เป็นไอระเหยที่อุณหภูมิราว 2,200 – 3,300 องศาเซลเซียสและความดันหลายสิบเท่าของโลก และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ดวงจันทร์ก็โผล่ขึ้นจากเมฆซินเนสเทีย และโคจรไปในชั้นบรรยากาศที่เป็นไอหินของมันเอง จากนั้นราวหนึ่งพันปี โลกจึงก่อตัวขึ้น
นี่คือทฤษฎีใหม่ที่ต่อยอดจากทฤษฎี Giant Impact ที่ดูมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า เนื่องจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์ในโมเดลนี้ไม่จำเป็นต้องมีแง่มุมที่พอดิบพอดีเหมือนการพุ่งชนของธีอา แต่ซินเนสเทียสามารถเกิดได้จากแง่มุมการพุ่งชนที่หลากหลายกว่า อีกทั้งองค์ประกอบทางเคมีของดวงจันทร์ยังสอดคล้องกับทฤษฎีนี้ยิ่งกว่าอีกด้วย
โปรดกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจให้ Space Explorer
สร้างสรรค์เนื้อหาดีๆ มามอบให้คุณเป็นประจำ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา