28 ก.ย. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
โรคหลายบุคลิก คืออะไร?
โรคหลายบุคลิก หรือ Dissociative Identity Disorder (DID) มาจากชื่อเดิมของโรคคือ Multiple Personality Disorder เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่ถูกจัดอยู่ในประเภท Dissociative Disorders
โดยผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกนั้น มักจะแสดงออก อัตลักษณ์หรือบุคลิก มากกว่า 2 บุคลิกขึ้นไป อาจมากถึง 150 บุคลิกในคนเดียว โดยทั้ง 2 บุคลิกจะไม่สัมพันธ์กัน เช่นมีอายุ เพศ หรือ เชื้อชาติ ที่ต่างจากอัตลักษณ์เดิมของผู้ป่วย เป็นบุคลิกที่ผู้ป่วยสร้างขึ้นมาเพื่อให้บดบังอัตลักษณ์เดิมของตน
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคหลายบุคลิกมักเริ่มเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น สะสมมาเรื่อย ๆ และลดลงในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักจะพบว่าคนที่มีหลายบุคลิกมักจะเจอความรุนแรงทั้งทางเพศ ทางร่างกาย และทางจิตใจในวัยเด็ก และไม่สามารถจัดการกับความเจ็บปวดเหล่านั้นได้ ร่วมกับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมไม่ถูกต้อง รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม ที่สามารถเกิดโรคหลายบุคลิกได้
1
เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับโรคหลายบุคลิก
1. มีการแสดงอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่แตกต่างกันตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปอย่างชัดเจน โดยพิจารณาความแตกต่างจากรูปแบบของความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ซึ่งการเกิดขึ้นของบุคลิกเหล่านี้สามารถประเมินได้ด้วยตนเองหรือเป็นการสังเกตจากนักบำบัดเพื่อการวินิจฉัย
2. เกิดการสูญเสียความทรงจำ (Amnesia) ที่จำกัดว่าบุคคลหนึ่งควรจะจดจำอะไรได้บ้าง จดจำเรื่องราวส่วนตัวบางอย่างไม่ได้ ลืมเหตุการณ์หรือภัยพิบัติบางอย่างที่เกิดกับตัวเอง
3. มีความบกพร่องของหน้าที่ สังคม และการงาน
4. อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามหลักวัฒนธรรมหรือศาสนา
5. อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลทางสรีระวิททยาที่เกิดจากการใช้สารใด ๆ เช่นแอลกอฮอล์ ยารักษาโรค หรือสารเสพติด
2
โรคหลายบุคลิก (คลิก 2 ครั้งเพื่อขยาย 🔍)
อาการของโรคหลายบุคลิก
1. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง
2. บุคลิกภาพผิดปกติแบบแยกตัว
3. บุคลิกภาพผิดปกติแบบแปลกแยก
4. บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (แบบอันธพาล)
5. บุคลิกภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย
6. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลงตัวเอง
7. บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพิงผู้อื่น
8. บุคลิกภาพผิดปกติแบบย้ำคิดย้ำทำ
9. บุคลิกภาพผิดปกติแบบหลบเลี่ยงปัญหา
10. บุคลิกภาพผิดปกติแบบไม่มีวุฒิภาวะ (เด็กไม่รู้จักโต)
11. บุคลิกภาพผิดปกติแบบผสม
12. บุคลิกภาพผิดปกติแบบไม่อาจจัดกลุ่มได้
การรักษา
1
1. ใช้วิธีจิตบำบัด
2. สะกดจิต
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคหลายบุคลิกเป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ที่อยู่รอบข้างหากสังเกตเห็นอาการผิดปกติควรพาไปพบจิตแพทย์
โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง
โรคกลัวการเข้าสังคม
โรคฮิสทีเรีย (Hysteria) คืออะไร?
โรคหลงตัวเอง
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา