29 ก.ย. 2020 เวลา 13:50 • การเมือง
ปฏิวัติ vs รัฐประหาร
ช่วงนี้กระแสข่าวการเมืองบ้านเราร้อนแรงเหลือเกิน
ผมได้ยินมาบ่อยจากคนรอบตัวบ้าง คนในที่ทำงานบ้าง เพื่อนฝูงของผมก็มี
"เนี่ยเห็นแบบนี้ทีไรเดี๋ยวก็มีปฎิวัติแน่ๆ"
"เดี๋ยวทหารก็ออกมาทำรัฐประหารอีกเข้าวงรอบเดิม"
มันเลยเกิดเป็นคำถามที่วนอยู่ในหัวว่าเอ้ะ แล้วสรุปจะปฏิวัติหรือจะรัฐประหารกันแน่ ?
เลยขอแว้บเขียนเรื่องการเมืองสักนิดนึงละกัน
รัฐธรรมนูญฉบับแรก
ปฏิวัติ
เอาเข้าจริงแล้วปฏิวัติ = การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองครับ ในบ้านเรามีแค่ครั้งเดียวเท่านั้น คือสมัย พ.ศ.2475 ที่ได้เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งนั่นเป็นแค่ครั้งเดียวที่เรามีการปฎิวัติ
รัฐประหาร
รัฐประหารเป็นการยึดอำนาจของคณะใดคณะหนึ่งครับ ซึ่งอย่างในประเทศไทยเราที่เห็นได้บ่อยก็จะมาจากคณะรัฐประหารที่มาจากคนที่เป็นทหารส่วนใหญ่ เป็นทหารยศชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการควบคุมกองทัพ เข้ามาใช้อำนาจและแสนยานุภาพที่ตนเองมี เข้าไปควบคุมอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลชุดเก่า เพื่อให้ลงจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ซะ ซึ่งอาจจะทำโดยให้นายกรัฐมนตรีลงจากตำแหน่งแล้วแต่งตั้งคนใหม่ขึ้นมาแทน หรืออาจจะแต่งตั้งตัวเองขึ้น เข้ามาดูแลอำนาจในการบริหารประเทศก็เป็นไปได้ พูดง่ายกว่านั้นก็คือ รัฐประหาร = เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดเก่า
ทำไมกลุ่มคนที่ทำรัฐประหารถึงเรียกตัวเองว่า "คณะปฏิวัติ"
เหตุผลง่ายๆครับ คำด้านหลังมันดูมีอำนาจมากกว่า การปฏิวัติของเรานั้นมีเพียงแค่ครั้งเดียวคือปี พ.ศ.2475 เท่านั้นครับ
จริงๆที่ควรเรียกให้ถูกนั่นคือ "คณะรัฐประหาร" นั่นเอง
ในกฏหมายก็เอื้อให้มีการใช้กฏหมายที่เป็นรองลงจากรัฐธรรมนูญโดยเรียกเป็น "ประกาศคณะปฏิวัติ ...." พอฟังแล้วดูทรงอำนาจดีใช่ไหมครับ ?
คณะรัฐประหารล่าสุดเมื่อ 6 ปีที่แล้ว
สรุปแล้ว ในประเทศเรามีการเกิดรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง แต่การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในประเทศเรามีเพียงแค่ครั้งเดียว ถ้าเกิดว่าจะมีการปฏิวัติขึ้นอีกครั้งนึงในประเทศเราอีกละก็ อาจจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์เป็นประมุขในปัจจุบัน เป็นไปในรูปแบบอื่นนั่นแหละครับ
โฆษณา