1 ต.ค. 2020 เวลา 01:55 • ยานยนต์
เกียร์ คลัทช์คู่ ของดีวันวาน ทำไมหายไป
ในบรรดาเทคโนโลยียานยนต์ที่เราคุ้นเคยกันมายาวนาน เกียร์คลัทช์คู่ หรือ Dual Clutch Transmission เป็นหนึ่งในของเล่นในช่วงยุคปี 2000
ความคาดหวังของเกียร์ชิ้นนี้ คือ ลดการปล่อยไอเสียให้ตวามประหยัด มีสมรรถนะในการขับขี่ดี ตอบสนองได้อย่างว่องไว ลดการเสียเวลาในการต่อเกียร์ หรือ Shifting Time และยังมีต้นทุนถูก เนื่องจากรูปแบบเกียร์ก็คล้ายๆ กับ เกียร์ธรรมดาที่คุ้นเคยกันดี
ชุดเกียร์ คลัทช์คู่ มีลักษณะการทำงานผสมผสาน รูปแบบกับเกียร์ธรรมดา
การเข้ามาของเกียร์สายพาน หรือ CVT ทำให้ เกียร์แบบนี้จางลงไปใน และในที่สุดวันนี้ แทบจะไม่มีเกียร์ DCT ขายในตลาดอีกต่อไป
สาเหตุที่ระบบเกียร์แบบนี้หายไปก็นับว่ามีหลายปัจจัย จนบริษัทรถยนต์ที่เคยฝากความหวังไว้ ตัดสินใจละทิ้งพวกมัน
เรื่องราวของเกียร์ DCT กำลังจะเป็นเหมือนนกฟินิกซ์ ที่ตายแล้วเกิดใหม่ การจากไปของระบบเกียร์ส่งกำลังแบบนี้ นับเป็นบทเรียนสำคัญที่สุด ของวงการวิสวกรรมยานยนต์
ประการแรก, เกียร์ DCT นั้น มีข้อเสียสำคัญ คือไม่สามารถตอบสนองได้ดีในการขับขี่แบบ Stop& GO ท่ามกลางการจราจรติดขัด หรือมีรถหนาแน่นในเขตเมือง ด้วยการออกแบบชุดเกียร์มีคลัทช์ 2 ชิ้นในแต่ละราวเกียร์ ทำให้ชุดเกียร์มีความสามารถต่อเกียร์เร็วขึ้น
การทำงานชุดคลัทช์ ก็ไม่เหมือนกับ ระบบเกียร์ออโต้ทั่วไป มันคล้ายเกียร์ธรรมดามากกว่ าโปรแกรม จะสั่งให้คลัทช์ชุดที่ 2 รอ พร้อมจับ เมื่อถึงจังหวะที่ต้องทำงาน
ฟอร์ด เป็นบริษัทรถยนต์ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดนฟ้องร้อง จากลูกค้า ทั่วโลก จนต้องยกเลิกสัญญากับ Getrag
และบางครั้งสั่งการอย่างรวดเร็ว ให้ต่อเกียร์ต่อไปในทันที
การทำเช่นนี้ทำให้ ชุดเกียร์คลัทช์คู่มีอาการสะดุด กระตุก จนเรียกว่าเป็นธรรมชาติในการขับขี่ ต้องเจอบ้างในช้สงความเร็วต่ำ
อาการนี้เป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ไม่ชอบใจนัก พวกเขาไม่คุ้นชินกับการที่รถสะดุดกระตุก ระหว่างต่อเกียร์ มันอาจไม่ใช่ปัญหากับคนรุ่นเก่าที่ผ่านมือเกียร์ธรรมดา ทำให้ชุดเกียร์ DCT ถูกมองว่ามีปัญหาในการใช้งาน
ในทางเดียวกัน ด้วยการใช้ชุดคลัทช์ 2 ชิ้น ทำให้ การบำรุงรักษา ระยะยาวประสบปัญหา มันเป็นเกียร์ที่มีค่าบำรุงรักษาแพง และแม้ตัวเกียร์จะไม่มีปัญหา ก็ยังจำเป็นต้องผ่าเกียร์ออกมาเปลี่ยนชุดคลัทช์อยู่ดี
นอกจาก 2 เรื่อง ที่พูดไปในข้างต้นแล้ว จุดตายสำคัญของเกียร์ DCT คือความร้อนจากการทำงาาน เมื่อเป็นชุดคลัทช์ ซึ่่งในเกียร์ธรรมดาไม่ใช่ปัญฆา เพราะชุดคลัทช์ ทำงาานตามที่ผู้ใช้งานสั่งในแต่ละจังหวะ
แต่เมื่อ DCT ทำงานโดยคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวนละเอียดว่าจะทอนเกียร์ หรือ ขึ้นตำแหน่งต่อไป ทำให้มีความร้อนสะสมมาก จนเป็นอาการสะดุด ในการใช้งาน แม้ไม่ขับในความเร็วต่ำ
การออกแบบชุดเกียร์ ที่เราคุ้นเคย อย่างในรถ Ford ในอดีต เป็นแบบคลัทช์แห้ง หรือ Dry Clutch เมื่อมาใช้ในเมืองร้อนอย่างประเทศไทย จึงมีปัญหาหนักมาก หากในทางยุโรป อย่างเกียร์ DSG ของ Volkswagen กลับใช้ชุดเกียร์แบบ Wet Clutch หรือ คลัทช์ เปียก (คล้ายในมอเตอร์ไซค์) มันมีประสิทธิภาพควบคุมอุณหภูมิดีกว่ามาก แต่กลับมาไม่ถึงไทย เนื่องจาก วิศวกรมองว่า เซฟค่าใช้จ่าย
แม้ว่าจะจางหายไป แต่ปัจจุบัน เกียร์แบบนี้ถูกยกระดับไปใส่รถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง และ ที่เราบอกว่าจะกลับมา เพราะว่า มันนิยมมากในรถ ที่มาพร้อมเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ เนื่องจาก เข้ากันได้ดีเป็นปี่เป็นขลุ่ย
1
นอกจากนี้ แม้ CVT จะได้รับความนิยมจากผู้ผลิตญี่ปุ่น แต่ผู้ผลิตรถยนต์เมืองจีน กลับนิยมใช้เกียร์ DCT เนื่องจากความเหมาะสมในการใช้งานในจีนบางประการ
การแผ่นขยายอำนาจยานยนต์จีนมาไทย ไม่ว่าจะ MG หรือ Great Wall Motor ระบบเกียร์ DCT จะตามมาด้วย เราเห็นได้จากรถหลายรุ่น ของบริษัท ใช้ระบบเกียร์แบบนี้ออกมาตอบตลาด อยู่เนืองๆ อย่างต่อเนื่อง
บริษัทรถยนต์จีนนิยม เกียร์ DCT มาก เนื่องจาก พวกเขาจับมันคู่กับ ระบบ เทอร์โบชาร์จ
นอกจากนี้อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ ความนิยมของเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ มันไม่เหมาะนักกับเกียร์ CVT ที่มีการทำงานด้วยสายพาน สามารถพังได้ง่ายในระยะยาว หรือถ้าขับบุ่มบ่ามบ่ิยๆ จนแม้แต่ค่ายฮอนด้า ยังคิดว่าจะแนะนำเกียร์คลัทช์คู่ออกมา ในบรรดาเครื่องเทอร์โบของพวกเขา รวมถึง รถซูบาุร ก้มีรายงานว่า ลองประเมินเกียร์คลัทช์คู่ว่า จะสามารถพิชิตใจลูกค้าได้ไหม
เกียร์คลัทช์คู่ มีความโดดเด่น สำคัญในการทำตลาดรถยนต์ม้านาน วันนี้มันอาจจะจางหายไป เพื่อไปศึกษาลดข้อบกพร่องสำคัญ และเราน่าจะได้เจอมันอีกครั้งในเร็วๆ นี้
โฆษณา