4 ต.ค. 2020 เวลา 23:30 • สัตว์เลี้ยง
มีประโยชน์สะกดยังไง!? เผยชีวิตแสนสบายของ 'เหาฉลาม' ต้นฉบับความเป็นภาระแห่งท้องทะเล
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ก็มีให้เลือกหลากหลายมากมาย ทั้งแบบให้ประโยชน์ร่วมกัน ภาวะพึ่งพา ภาวะปรสิต และมีอีกหนึ่งภาวะนั่นคือภาวะอิงอาศัย ที่มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์เต็มๆ แต่อีกฝ่ายก็ไม่เสียอะไร อย่างเช่นในกรณีของ 'เหาฉลาม' เป็นต้น
เหาฉลาม เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็ง ลำตัวยาว หัวเรียวแหลม สามารถกลอกตาไปมาเพื่อมองสภาพแวดล้อมโดยรอบได้ ด้านบนของหัวแบนราบมีอวัยวะที่ใช้สำหรับดูดติด ซึ่งพัฒนามาจากครีบหลัง มีจำนวน 22–27 ซี่ มีความยาวประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แม้เหาฉลามจะไม่เลวร้ายถึงขั้นปรสิต แต่มันก็ไม่จัดเป็นผู้อาศัยที่มีประโยชน์นัก เนื่องจากมันเป็นปลาที่ไม่ค่อยชอบว่ายน้ำเองสักเท่าไหร่ แต่ถนัดกับการเกาะติดไปกับฉลามหรือสัตว์ทะเลอื่นๆ โดยใช้แผ่นดูดที่บนหัวยึดติดกับสัตว์ที่มันคิดว่าน่าจะพึ่งพาได้ ซึ่งช่วยให้พวกมันประหยัดพลังงานในการเดินทางไปได้เยอะ แต่กลายเป็นภาระของสัตว์อื่นที่จู่ๆ ก็มีก้อนเนื้ออะไรสักอย่างมาเพิ่มแรงต้านกระแสน้ำซะงั้น
1
123RF
ไม่เพียงจะเป็นผู้โดยสารที่ไม่ทำอะไรแล้ว เหาฉลามยังได้ประโยชน์จากการเกาะติดสัตว์อื่นในการเข้าถึงแหล่งอาหารแบบง่ายๆ ทั้งเศษอาหารที่ลอยฟุ้งออกมาจากปากฉลาม หรือการแวะไปตามแนวปะการังของเต่าทะเลที่เต็มไปด้วยปลาขนาดเล็ก และต่อให้ตกขบวนรถที่มันโดยสารมาด้วย เหาฉลามก็พร้อมหาสัตว์ตัวใหม่แบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น แถมสีสันของมันยังไปคล้ายกับปลาช่อนทะเลที่เป็นนักล่าขนาดใหญ่ จนทำให้สัตว์นักล่าอื่นไม่ค่อยอยากยุ่งกับมันด้วย
1
ถึงจะดูไม่ทำประโยชน์อะไร แต่มีงานวิจัยบางส่วนที่เชื่อว่าเหาฉลามนั้นมีประโยชน์ในการช่วยกินปรสิตตามตัวสัตว์ที่มันเกาะติดด้วย แม้ว่าในความจริงแล้วมันจะชอบกินอาหารอื่นมากกว่าก็ตาม
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา