6 ต.ค. 2020 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
(เจาะลึก) TQM หุ้นโบรกเกอร์ประกันที่ "ใหญ่กว่า" บริษัทประกัน
***หมายเหตุ: บทความนี้ไม่มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนใดๆ เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลและแนวทางการวิเคราะห์ส่วนตัวของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ในการศึกษาเพื่อการลงทุนของตนเองเท่านั้น ผู้เขียนไม่รับผิดชอบในส่วนได้เสียใดๆจากการลงทุนของท่าน โปรดใช้วิจารณญาณในรับข้อมูลนี้***
อ้างอิงราคาวันที่ 5 ต.ค. 2563
TQM มีราคาปิดอยู่ที่หุ้นละ 132 บาท จำนวน 300 ล้านหุ้น
คิดเป็น Market cap. 39,600 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 2,784 ล้านบาท กำไร 507 ล้านบาท
6 เดือนแรก ปี 2563 มีรายได้ 1,570 ล้านบาท กำไร 342 ล้านบาท
ในขณะที่...
TIP : บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันวินาศภัยที่มี Market share อันดับ 2 ของไทย
มี Market cap. 14,400 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 6,719 ล้านบาท กำไร 1,863 ล้านบาท
6 เดือนแรก ปี 2563 มีรายได้ 4,124 ล้านบาท กำไร 1,052 ล้านบาท
BKI : บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันวินาศภัยที่มี Market share อันดับ 3 ของไทย
มี Market cap. 29,598.66 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 14,808 ล้านบาท กำไร 2,451 ล้านบาท
6 เดือนแรก ปี 2563 มีรายได้ 8,489 ล้านบาท กำไร 1,601 ล้านบาท
MTI : บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันวินาศภัยที่มี Market share อันดับ 4 ของไทย
มี Market cap. 4,897 ล้านบาท
ปี 2562 มีรายได้ 7,458 ล้านบาท กำไร 426 ล้านบาท
6 เดือนแรก ปี 2563 มีรายได้ 3,997 ล้านบาท กำไร 352 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าเมื่อเราเทียบ Market Cap ของบริษัทประกันภัยทั้ง 3 บริษัทที่เรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดของประกันวิศนาศภัยของไทยยังมีขนาดเล็กกว่า TQM
Market share ธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ปี 2561
แล้วอะไรทำให้ตลาดให้มูลค่า TQM สูงถึง 4 หมื่นล้านบาท??
TQM ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันหรือโบรกเกอร์ค้าประกัน โดยบริษัทฯขายทั้งประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โดยที่ไม่มีความเสี่ยงในการชดใช้เงินประกันให้ผู้ทำประกันเพราะ TQM เป็นเพียงนายหน้าค้าประกัน บริษัทจึงสามารถ focus กับงานขายและบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่
ข้อดีของการเป็นนายหน้าประกัน คือนายหน้าค้าประกันจะสามารถเปรียบเทียบความคุ้มครองและเบี้ยประกันจากบริษัทประกันหลายบริษัทให้ผู้ซื้อพิจารณาเพื่อให้ได้เบี้ยที่ถูกที่สุดในความคุ้มครองที่ดีที่สุด ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่านายหน้า "เป็นป็นพวกเดียวกัน" เมื่อผู้ซื้อประกันซื้อประกันไปแล้วผู้ขายเพียงติดตามเมื่อกรมธรรม์หมดอายุเพื่อบริการต่ออายุกรมธรรม์ให้เท่านั้น อาจจะมีมีการช่วยบริการประสานงานเมื่อมีเหตุที่ต้องเอาประกันบ้าง แต่ผู้ซื้อมักไม่เปลี่ยนนายหน้าประกัน แต่เปลี่ยนบริษัทรับประกันเพื่อให้ได้เบี้ยที่ถูกกว่าหรือดีกว่า
ประวัติบริษัท
2496 - เริ่มดำเนินการธุรกิจนายหน้าประกันภัย
2540 - ก่อต้ัง บริษัท ทีคิว เอ็ม โบรคเกอร์ เพื่อประกบธุรกิจนายหน้าค้าประกันภัย
2550 - ก่อต้ัง บริษัท แคสแมท จำกัด เพื่อให้บริการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์
2551 - ก่อต้ัง บริษัท ทีคิวเอ็ม ไลฟ์ อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด
2558 - เปิดการให้บริการการขายประกันผ่านระบบออนไลน์ อย่างเต็มรูปแบบ
2561 - จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ipo ที่ 23 บาทต่อหุ้น
ปัจจุบัน TQM ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ คือ
1. ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย
2. ธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต
3. ธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับระบบ Call center, digital marketing และ IT consultant
โครงสร้างรายได้ TQM ปี 2562
- รายได้จากธุรกิจนายหน้าประกันภัยเป็นหลัก ถึง 94.6%
- รายได้จากธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต 2.8%
- รายได้จากธุรกิจอื่น (ธุรกิจที่ปรึกษา) 2.6%
โครงสร้างรายได้ TQM จาก เอกสาร 56-1 ปี 2562
หมายเหตุ:
-ตามข้อกำหนดของ คปภ. รายได้ค่าคอมมิชชั่นจากประกันวินาศภัยไม่เกิน 18% ของเบี้ยรับ
-ตามข้อกำหนดของ คปภ. รายได้ค่าคอมมิชชั่นจากประกันชีวิตไม่เกิน 40% ของค่าเบี้ยปีแรก
-รายได้ค่าบริการอื่น คือรายได้ในการบริการลูกค้าเช่นพิมพ์เล่มกรมธรรม์, ค่าติดต่อประสานงาน, ค่าบริการจัดเก็บข้อมูล
ผลประกอบการ
ปี 2562 รายได้รวมทั้งปี เติบโต 10.25% กำไรสุทธิเติบโต 25.5%
ที่กำไรโตเยอะเพราะรายได้โต แต่ TQM สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ได้อย่างดี อาจจะสามารถเพิ่มยอดขายได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มพนักงานขายหรือลงทุนระบบเพิ่ม ทำให้สัดส่วน SG&A ลดลงจาก 29.2% เป็น 26.8% ในปี 2562 ทำให้กำไรสุทธิเติบโตอย่างมาก
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 4 ปี 2562
ช่วงต้นปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีกระแสการซื้อประกัน COVID-19 และทำให้รายได้รวมไตรมาส 1 ปี2563 ของ TQM เติบโตมากถึง 22.5% และเนื่องจากต้นทุนการบริหารไม่ได้เพิ่มขึ้นทำให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตมากถึง 68.3%
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 1 ปี 2563
แม้ว่าช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยจะออกมาย่ำแย่อย่างมากจากผลกระทบของการปิดประเทศและปิดเมือง TQM ยังคงสามารถรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ โดยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 TQM มีรายได้รวมเติบโต 9.13% โดยที่ยังสามารถควบคุม SG&A ได้เป็นอย่างดี ทำให้กำไรสุทธิเติบโต 33% yoy
ทำให้ปี 2563 งวด 6 เดือน TQM มีรายได้รวมเติบโตกว่า 15.74% และกำไรสุทธิเติบโตกว่า 49.5%
ซึ่งเราต้องติดตามต่อไปว่าในปีหน้าหากไม่มีรายได้จากประกัน COVID-19 บริษัทจะสามารถรักษาการเติบโตไว้ได้หรือไม่ เพราะรายได้และกำไรส่วนนี้อาจจะเกิดขึ้นพิเศษแค่ปี 2563 เท่านั้น
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาส 2 ปี 2563
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่าการเติบโตของ TQM ในช่วงที่ผ่านมามีความเซ็กซี่อยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดชอบและให้ premium แก่ TQM ซื้อขายอยู่ในระดับ P/E 6x เท่า ในปัจจุบันนั่นเอง
คำถามต่อไปคือแล้วบริษัทจะโตแได้อีกแค่ไหน?
ข้อมูลจาก คปภ. แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันตั้งแต่ปี 1969-2019 ทั้ง Life insurance เติบโตเป็น CAGR ถึง 19.7% และ Non-life insurance เติบโต CAGR 13.3% แต่อัตราการเติบโตลดน้อยถอยลงในช่วงปีหลังๆ
ถึงแม้ว่า Life insurance มีขนาดเบี้ยรับที่ใหญ่กว่า Non-life insurance มากแต่ค่าคอมมิชชั่นที่ให้แก่นายหน้า น่าจะน้อยกว่าประกันวินาศภัยเพราะนายหน้าได้รับค่าคอมมิชชั่น 18% ทุกปีจากบริษัทประกัน เนื่องจากประกันประเภทนี้มีการต่ออายุแบบปีต่อปี ในขณะที่ประกันชีวิตแม้จะได้ค่าคอมมิชชั่นที่ 40% ของเบี้ยปีแรก แต่อายุกรมธรรม์ยาวนานกว่ามาก 10 ปีขึ้นไปต่อฉบับทำให้เบี้ยที่จ่ายให้นายหน้าทั้งระบบน้อยกว่า
ถ้าดูเฉพาะตลาดประกันวินาศภัย Non-life insurance ในช่วง 5 ปี 2013-2018 อัตราการเติบโตแบบ CAGR อยู่เพียงประมาน 3-4% เท่านั้น และผู้เขียนคาดว่าอัตราการเติบโตจะลดน้อยลงอีกในอนาคต อาจจะเหลือเพียงเทียบเท่า GDP ของประเทศไทยที่ประมาน 3% เท่านั้น
อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันรับ 1969-2019
จากรายละเอียดเบี้ยรับของ TQM สิ้นปี 2562 บริษัทมีมีเบี้ยรับเติบโต 2 กลุ่มหลัก
1. ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 79.4%
2. ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพมีสัดส่วน 11.2%
ในขณะที่กลุ่มอื่นมีสัดส่วนเล็กน้อยมากและไม่มีการเติบโต
ข้อมูลจาก 56-1 ปี 2562
เมื่อดูเบี้ยรับของทั้งอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยแบบแยกประเภทประกัน
จะเห็นว่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (Motor) เป็นสัดส่วนกว่า 51% ของเบี้ยประกันทั้งหมด รองลงมาคือประกันอุบัติเหตุ (PA) และสุขภาพ (health) ที่สัดส่วน 13% และ 4% ตามลำดับรวมเป็น 17% ของเบี้ยประกันทั้งหมด
ซึ่งท Motor, PA และ Health เป็นกลุ่มที่เติบโตได้ดีกว่ากลุ่มอื่นเห็นได้จากสัดส่วนที่เติบโตสูงขึ้นกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งก็น่าจะเป็น 1 ใน "Growth driver" ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมานั่นเอง
Market share by business line (2002 - 2018)
Thai Non-life insurance direct premium by line of business (2002-2018)
เมื่อดูข้อมูลเบี้ยประกันภัยรับแยกตามช่องทางการจำหน่าย พบว่าช่องทางจำหน่ายผ่าน Broker เป็นช่องทางที่มีสัดส่วนมากที่สุดในขณะที่ Agents หรือนายหน้ารายย่อยค่อยๆลดลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจำหน่ายประกันวินาศภัย Broker มีความสำคัญอย่างมากและมีการขยายตัวต่อเนื่อง
เมื่อเปรียบเทียบ TQM กับช่องทาง Broker ของอุตสาหกรรม พบว่าการเติบโตของ TQM สามารถเอาชนะกลุ่ม Broker ได้ทุกปีในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และสามารถเพิ่ม market sahre ได้จาก 7.13% เป็น 8.19% ในปี 2018
อัตราการเติบโตเบี้รับรวมของ TQM 2 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาน 10% ล้อไปกับการขยายตัวของช่องทางการขายผ่าน Broker ของอุตสาหกรรม
สิ้นปี 2019 บริษัทมีเบี้ยรับรวม 12,795 ล้านบาทเติบโต 15.3% (เนื่องจากไใม่มีข้อมูลของอุตสาหกรรมจาก คปภ. จึงไม่ได้ใส่ในตาราง)
ตารางคำนวนหา market share ของ TQM
เป้าหมายการเติบโต
ผู้บริหารมีเป้าหมายจะมีเบี้ยรับรวมให้ได้ 50,000 ล้านบาท ภายในปี 2026 หรือ พ.ศ. 2569 หรืออีก 7 ปีนับจากปี 2019 ดังนั้น TQM ต้องมีเบี้ยประกันเติบโต CAGR ปีละประมาณ 21.5% เพื่อให้ถึงเป้าหมาย ผู้บริหารได้ประกาศว่าต้องการสร้าง growth แบบทั้ง organic และ inorganic โดยการควบรวมกิจการ
ซึ่งหากค่าเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งระบบผ่าน Broker เติบโต CAGR 5% ต่อปี ในปี 2026 ค่าเบี้ยผ่าน Broker ทั้งหมดจะเพิ่มเป็น 215,000 ล้านบาท และหา TQM ทำได้ตามเป้าหมายจะมี market share เทียบกับธุรกิจ broker ด้วยกันที่ประมาน 23%
สรุป Key highlight ของ TQM คือ
1. ค่าเบี้ยรวมของประกันวินาศภัยยังคงเติบโตในระดับอ่อนๆ
2. ช่องทางการขายผ่าน broker ยังเป็นช่องทางสำคัญในการขายประกันภัย
3. บริษัทพยายามขายประกันชีวิตแต่ค่าคอมอาจจะไม่ได้เยอะอย่างประกันภัย
4. บริษัทสามารถกิน Market share มาจากคู่แข่งได้อย่างต่อเนื่อง
5. กำไรที่เติบโตดีมาจากการควบคุมต้นทุน SG&A ที่ดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนพนักงานซึ่งจะเห็นได้ว่า TQM ใช้พนักงานขายประกันภัย 2,000คน เท่าเดิมแต่สามารถสร้างเบี้ยประกันรับได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของ TQM คือ
1. การปรับลดค่าคอมมิชชั่นและเงินสนับสนุนค่าบริการของบริษัทประกันซึ่งกระทบรายได้ของธุรกิจอย่างมาก ดังเช่นข่าวนี้
2. Technology disruption เช่น การมี platform เปรียบเทียบราคาและกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทต่างๆโดยที่ให้ผู้ซื้อสามารถซื้อตรงกัยบริษัทประกันได้เอง
3. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อประกันภัย โดนการซื้อผ่าน internet หรือมีการเปรียบเทียบราคาระหว่าง borker มากขึ้นทำให้บริษัทต้องให้ส่วนลดลูกค้ามากขึ้นและอาจจะกดดันอัตราการทำกำไรของบริษัท
มาถึงช่วง Valuation แบบง่ายๆ
หากบริษัทสามารถรักษา อัตรากำไรสุทธิ/เบี้ยประกันรวม ได้เท่ากับปี 2019 คือ
507/12,795 = 3.96%
และสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่เบี้ยรวม 50,000 ล้านบาท ในปี 2026
บริษัทจะมีกำไรที่ประมาณ 50,000*3.96% = 1,980 ล้านบาท
คิดเป็นกำไรต่อหุ้น EPS = 6.6 บาท
หากหลังจากนั้น growth หลังจากปี 2026 ไปลดลง
ให้ PE อยู่ที่ 20-25 ในปี 2026
จะได้ราคาอยู่ที่ประมาณ 132 - 165 บาท
คิด Present value (PV) โดยกำหนดให้
n = 6 (สิ้นปี 2020 ถึง สิ้นปี 2026)
r = ผลอตแบทนที่คาดหวัง 10%
FV = ช่วงราคา 132 ถึง 165 บาท
คำตอบราคาหมายสม PV = 74.5 ถึง 93.14 บาท
ให้ Margin of Safety ตามระดับความมั่นใจและความเสี่ยง
MOS 10% ช่วงราคา 67 ถึง 84 บาท
MOS 30% ช่วงราคา 52 ถึง 65 บาท
ที่ระดับราคาปัจจุบัน ตลาดอาจจะให้ Premium หรือคาดหวังกับ TQM สูงอยู่พอสมควร
***หมายเหตุ: บทความนี้ไม่มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนใดๆ เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลและแนวทางการวิเคราะห์ส่วนตัวของผู้เขียนเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ในการศึกษาเพื่อการลงทุนของตนเองเท่านั้น ผู้เขียนไม่รับผิดชอบในส่วนได้เสียใดๆจากการลงทุนของท่าน โปรดใช้วิจารณญาณในรับข้อมูลนี้***
หากท่านคิดว่าบทความนี้เป็นประโยชน์
ช่วย กด like กด share กด follow
เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยครับ
หรือหากท่านมึความคิดเห็นอย่างไร
comment มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ
โฆษณา