Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความรู้ครอบตัว
•
ติดตาม
4 ต.ค. 2020 เวลา 07:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พายุ ทำไมต้องตั้งชื่อ ตั้งชื่ออย่างไร ใครเป็นคนตั้ง
ช่วงนี้ฤดูมรสุม ฝนตกหนัก น้ำท่วมกันเป็นว่าเล่น เราคงเคยได้ยินข่าวพายุชื่อแปลกๆ บางลูกก็ชื่อไทย บางลูกก็ชื่อจีน บางลูกก็เป็นชื่อคน เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมครับ พายุ ทำไมต้องตั้งชื่อ มันถูกตั้งชื่ออย่างไร แล้วใครเป็นคนตั้ง วันนี้ผมจะสรุปมาเล่าให้ฟังกันครับ
การตั้งชื่อพายุ หลักๆแล้วมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ และประชาชน สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของพายุลูกต่างๆได้อย่างง่ายครับ เนื่องจากว่า พายุเนี่ยมันเกิดขึ้นเยอะแยะมากมาย และบางลูกกินเวลาค่อนข้างนาน การตั้งชื่อให้กับมัน จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำและการกล่าวอ้างถึง รวมถึงนำเสนอแก่ประชาชนด้วยครับ
หากเล่าไปถึงช่วงอดีต การตั้งชื่อพายุในอดีต ยังไม่มีหลักการหรือองค์กรอะไรมาควบคุมมากครับ พายุในสมัยก่อนก็จะมีการตั้งชื่อตามนักการเมือง หรือตามชื่อผู้หญิง เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกตั้งโดยทหารอเมริกัน ซึ่งส่วนมากจะตั้งเพื่อรำลึกถึงคนที่รักหรือคิดถึงครับ จากหลักฐานพบว่าชื่อพายุที่พบๆกันนั้นส่วนใหญ่มากจากสหรัฐเป็นคนตั้ง เนื่องจากสมัยนั้นวิทยากรของสหรัฐทางด้านอุตุนิยมวิทยามีค่อนข้างจะมากที่สุดครับ
หลักการการตั้งชื่อพายุก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆตามกาลเวลาครับ โดยในปีหลังๆ มีการตั้งชื่อตามลำดับตัวอักษรนำหน้าเรียงไปเรื่อยๆ แต่โดยส่วนใหญ่ก็จะตั้งเป็นชื่อคนและเริ่มมีชื่อผู้ชายเข้ามาปนบ้างครับ
ทั้งนี้การตั้งชื่อพายุในปัจจุบัน จะถูกกำกับดูแลโดย กลุ่มสมาชิกขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก หรือที่เรียกว่า World meteorological organization (WMO)
ชื่อจะถูกเสนอโดยสถาบันที่กำกับดูแลในแต่ละภูมิภาค โดยจะถูกแบ่งอำนาจหน้าที่ไปตามแต่ละเขตการรับผิดชอบ และจะถูกอนุมัติในการประชุมประจำปีครับ
ทั้งนี้ระบบการตั้งชื่อของแถบบ้านเรา หรือแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบการตั้งชื่อแบบวนประเทศ ตอนปี คศ. 2000 ครับ
โดยพายุจะถูกตั้งชื่อก็ต่อเมื่อ ความรุนแรงของพายุ ถูกจัดประเภทเป็นพายุโซนร้อน หรือก็คือมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเฉลี่ยต่อเนื่อง 10 นาที มากกว่า 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 34 นอต นั่นเอง เกณฑ์ก็แบ่งไปตามแต่ละที่ภูมิภาครับผิดชอบ โดยองค์กรผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแถบนี้คือ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นครับ
ส่วนพายุที่มีความเร็วน้อยกว่าเกณฑ์ดังกล่าวหรือคือพายุดีเปรสชั่นจะไม่ถูกตั้งชื่อ ทั้งนี้ประเภทของพายุก็แบ่งตามความเร็วเฉลี่ยใกล้จุดศูนย์กลาง ตามตำราในสมัยตอนที่เราเรียนตอนเด็กๆเลยครับ
การตั้งชื่อแถบบ้านเรา จะถูกนำเสนอชื่อโดยประเทศสมาชิกทั้งหมด 14 ประเทศร่วมกัน ได้แก่ กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม
โดยแต่ละประเทศจะนำเสนอชื่อทั้งหมดประเทศละ 10 ชื่อรวม 140 ชื่อครับ วนใช้กันไปตามลำดับตัวอักษร หากหมดแล้วก็วนใช้ใหม่ครับ
อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต่างๆสามารถขอยื่นถอนและเปลี่ยนรายชื่อได้ หากชื่อพายุเหล่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลและสงผลกระทบให้มีผู้เสียชีวิตในวงกว้าง (ชื่ออัปมงคล) หรือจะด้วยเหตุผลอื่นๆก็ตามครับ
ถ้าสังเกตอย่างของไทยก็เคยมีเปลี่ยนกันไปแล้วบ้างครับ เช่น จากทุเรียน เป็นมังคุด และในปัจจุบันเป็นกระท้อนเป็นชื่อที่เสนอไใหม่แต่ปัจจุบันยังไม่ไ้ดมีการนำมาใช้ครับ
ทีนี้เพื่อนๆก็คงจะพอหายสงสัยกันบ้าง ที่บางทีชื่อพายุตามข่าวเดี๋ยวเป็นชื่อจีนบ้าง ชื่อเกาหลีบ้าง ชื่อไทยบ้าง ก็หวังว่าเพื่อนๆที่อ่านบทความนี้จะได้เกร็ดเล็กๆน้อยๆกันไปเป็นความรู้ติดตัวนะครับ
เพจความรู้ครอบตัว อยากจะแบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวที่เป็นประโชน์ให้ผู้อ่าน
สามารถร่วมแชร์คอมเมนต์ความคิดเห็น และ ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
+สามารถติดตามผมในช่องทางอื่นๆที่+
FB :
https://www.facebook.com/kwamrukrobtua/
Blockdit :
https://www.blockdit.com/pages/5e591c1e48649917022e4d95
อ้างอิง
https://public.wmo.int/en/our-mandate/focus-areas/natural-hazards-and-disaster-risk-reduction/tropical-cyclones/Naming
https://en.wikipedia.org/wiki/Tropical_cyclone_naming
บันทึก
10
3
3
10
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย