4 ต.ค. 2020 เวลา 23:01 • การตลาด
Social Proof ที่น่าเชื่อถือควรมีแหล่งที่มาอ้างอิงจากไหนบ้าง ?
ถ้าสร้างตัวเลขตบแต่งขึ้นมาเองจะได้ไหมนะ (Fake Social proof) ?!!
ถ้าเพื่อนๆคนไหนยังไม่ทราบความหมายของ Social Proof สามารถตามไปอ่านที่โพสของเราอันนี้ได้จ้า
โอเค งั้นมาเริ่มกันเลย --
เราคิดว่าเพื่อนๆหลายคนที่เริ่มเปิดธุรกิจเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขายของใน Shopee Lazada ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ ที่พัก บ้านเช่า ก็ต้องมีการนำ Social proof เข้ามาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้า ที่กำลังตัดสินใจซื้อของ ของเราเนอะ
แต่ทีนี้ วิธีการที่เราไม่ชอบมากที่สุดเลยในฐานะของการเป็นลูกค้าคือ
ข้อมูลที่ไม่จริง (Fake Social proof) เช่น มีการทำ photoshop ตัวเลขคะแนนต่างๆ หรือแม้กระทั่งการจ้างคนมาปั้นผู้ติดตาม หรือซื้อยอดไลค์
เราเข้านะว่า ทุกธุรกิจต้องมีการเริ่มต้น ............. แต่การเริ่มต้นด้วยการปั้นปลอมๆแบบนี้ ไม่ดีอย่างแน่นอนต่อระยะยาว
มีอีกหลายวิธี ที่จะช่วยให้เพื่อนๆสร้างความน่าเชื่อถือได้
แต่ก้าวแรกก็ต้องใส่ความพยายามที่มากขึ้นสักหน่อยเนอะ
1. Testimonials หรือการเขียนคำรับรอง / รีวิว
- วิธีนี้ง่ายที่สุดเลย เพียงแค่เพื่อนๆขอให้ลูกค้าที่พึ่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเพื่อนๆ มารีวิวถึงประสบการณ์หรือความรู้สึกดีๆ
- ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้า หรือการบริการที่รวดเร็ว คุณภาพที่ยอดเยี่ยม
- และแน่นอนว่า ถ้าจะให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ก็ต้องดูว่าลูกค้ามีการเปิดเผยชื่อ และภาพโปรไฟล์หรือเปล่าเนอะ
- ซึ่งแน่นอนว่า ในมุมของลูกค้าที่มาดูรีวิว ถ้าเราเห็นแค่ชื่อเล่น หรือ นามปากกาเนี่ย ..... บางทีเจ้าของสินค้าอาจจะสร้าง account ปลอมขึ้นมาเขียนก็ได้นี่นะ !
- สามารถเป็นได้ทั้งในรูปแบบของ การเขียน หรือ วีดีโอ
- ถ้าได้วีดีโอมานี้ จะยอดเยี่ยมมากๆเลย เพราะความน่าเชื่อถือเนี่ย มาเต็มร้อย
ทุกความรู้สึกที่ผ่านทางสีหน้าของผู้รีวิว เราก็จะสามารถรับรู้ได้ดีกว่าเป็นตัวหนังสือ
2. การสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกหลังการใช้งานของลูกค้า
- แบบนี้ก็จะ advance ขึ้นมาหน่อย เพราะเราจะต้องมีการติดต่อลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราไป
- และแน่นอนว่าเค้าต้องยินยอมให้เราโพสวีดีโอสัมภาษณ์ พร้อมหน้าและชื่อจริงของพวกเค้าด้วย
- จุดเด่นของเจ้า Social proof วิธีนี้คือ การถามคำถามที่ลูกค้าหลายๆคนตั้งคำถามก่อนซื้อสินค้า
- เช่น จากคนที่ไม่เคยคิดจะลองใช้ เพราะเหตุใดถึงตัดสินใจลองซื้อมาใช้ ?
- หลังใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้แล้ว มันอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง ?
3. สินค้านี้ ดารา หรือ Influencer ชอบใช้จัง !
- ต้องบอกว่าวิธีนี้อาจใช้ไม่ได้กับลูกค้าบางคน เพราะพวกเค้าไม่ได้ผูกพันธ์ หรือมีความเชื่อเกี่ยวกับตัวดาราคนนั้นอยู่ก็เป็นได้
- วิธีนี้ขอพูดถึงตัว Influencer ที่ไม่ได้เป็นพรีเซนเต้อให้กับแบรนด์ของเพื่อนๆนะ แต่คือ กลุ่มคนดังที่มีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเพื่อนๆจริง
- อาจจะขออนุญาตให้เค้ารีวิวให้เรา ถ้าเค้าไม่ลำบากใจ แต่บอกเลยว่า เกือบ 90% เพื่อนๆต้องเสียค่าจ้างพวกเค้านะ
- ข้อดีของการมีพื้นที่รีวิวจากเว็ปที่มีผู้ติดตามเยอะ ก็จะทำให้เราสามารถทำการตลาดแนว SEO ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
Search SK2 ก็โผล่ขึ้นมาหลายเว็ปเลย ในเรื่องของการรีวิว
4. สินค้านี้ขายดี ! การันตีจากยอดดาวโหลด หรือ ยอดซื้อรายเดือน
- ถ้าเรา search คำว่าเมล็ดกาแฟแคปซูลลงไปใน Shopee
- เราก็จะเห็นร้านกาแฟหลากหลายร้านมาก ทั้งนำเข้า หรือแม้กระทั่ง blend เองเนอะ แต่ทำยังไงเราถึงจะเชื่อใจได้ว่า เจ้านี้ไม่โกงเรา ซื้อ คุณภาพรสชาติจะออกมาดี
- ในกรณีที่รีวิวของสินค้าตัวนี้จะยังไม่มีคุณภาพมากเพียงพอ (อาจจะเพราะพึ่งเริ่มขาย)
- การที่เราสามารถบอกตัวเลขยอดซื้อรายวัย รายเดือน หรือแม้แต่ยอดจำนวนสมาชิกที่ลงทะเบียนทั้งหมด (member) ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือชึ้นมาได้
- จากภาพด้านบน ถ้าเพื่อนๆกำลังเลือกซื้อ Starbuck capsule เนื่องจากสินค้าที่หน้าตาเหมือนกันหมด ต่างกันตรงที่ ราคา และ ผู้จำหน่าย
- อย่างน้อย ถ้าอยากเอาแบบอุ่นใจไว้ก่อน เพื่อนๆที่อ่านอยู่เกินครึ่ง คงจะกดเจ้าแรกที่มียอขายแล้ว 1.1 พันชิ้น ลงใส่ตะกร้าก่อนแน่นอน
5. Social proof ที่สร้างได้ ด้วยการลงทุนทางโฆษณากับสื่อ ทีวี หรือวิทยุต่างๆ
- ตรงนี้แน่นอนว่าใช้งบต้นทุนที่ค่อนข้างจะเยอะหน่อย
- แต่ก็จะได้มากับการที่แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น เช่น สมมุติว่าเราเป็นสปอนเซอร์ไปลงในรายการ The ghost ของพี่แจ็ค (อันนี้สมมุติ แต่จริงๆเค้าไม่ได้เปิดรับนะจ้า) ชื่อแบรนด์ก็อาจจะติดหูของแฟนๆรายการผู้ชื่นชอบเรื่องพี่ เกือบ 200,000 คน ในวันนั้นๆ
- สำหรับการโปรโมทแบรนด์ หรือช่องทางการขายต่างๆ เราก็จะสามารถอ้างอิงถึงการโฆษณาที่เราได้พื้นที่เหล่านั้นมาได้เช่นกัน (แน่นอนว่า ถ้าของเราไม่ได้มีคุณภาพจริงๆ ช่องรายการนั้นๆ คงจะไม่อนุญาตให้เราซื้อพื้นที่ของเค้าในการโฆษณาเนอะ)
6. มีรางวัลมาแสดงไหมเอ่ย (Award) ?
- สิ่งนี้คือเครื่องมือที่จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
- หรือเอาง่ายๆคือ เพื่อนๆมีโอกาสสูงมากกว่า 80% ในการที่จะเข้าไปอยู่ในรายชื่อของสินค้าที่เล็งไว้ของลูกค้า
- ตัวอย่างที่ไม่ใกล้ไม่ไกลมากคือ ธุรกิจโรงแรม
- แน่นอนว่าถ้าพวกเค้าได้รับรางวัลต่างๆไม่ว่าจะเป็น Trip adviser หรือ Hotels.com ก็สามารถนำขึ้นมาแสดงให้ลูกค้าเห็นได้เหมือนกัน
- อย่าง Hotels.com Loved by guest award โรงแรมคู่ค้าจะต้องได้คะแนนรีวิวเกิน 8.0/10 คะแนน เป็นเวลาครบ 1 ปี ถึงจะได้มา
- รางวัลเหล่านี้ ก็ใช้ว่าคู่แข่งทุกคนจะได้นินะ !
Chatrium Riverside Tripadvisor 2020 awards
Emporium Suite by Chatrium Hotel.com loved by guest 2019
7. ยอดผู้ติดตาม ยอดไลค์ และ ยอดแชร์ (แต่อย่าหลอกกันนะ ขอร้องละ)
- อันนี้ส่วนตัวเรามองว่า มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
- แต่กลายเป็นแหล่งที่มาของ Social proof ที่ยอดนิยมใช้มากที่สุดเช่นกัน
- คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่าเป็นยังไงเนอะ เพื่อนๆน่าจะเห็นภาพกันแน่นอนอยู่แล้ว
- ขอแค่ไม่ fake ตัวเลขมาก็พอนะ ! ขอแบบคุณภาพ
- สำหรับเราคือ ยอดไลค์ ยอดแชร์ มันก็ทำให้เราอยากเข้าไปดูนะ แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ ในมุมมองของเราฐานะที่เป็นลูกค้า เราเลือกที่จะอ่านคอมเม้นเสียมากกว่า โดยเฉพาะคอมเม้นที่มีการเปิดเผยตัวตนของผู้โพส
8. การที่ถูกสื่อทางความรู้อย่างนิตยสารกล่าวถึง
- อันนี้น่าจะเป็นระดับที่สูงมากๆแล้วของ Social proof
- สมมุติว่าแบรนด์ของเพื่อนๆ ถูกสัมภาษณ์ หรือถูกกล่าวถึงในแง่ที่ดีลงในนิตยสารธุรกิจชื่อดังอย่างเช่น Forbes, การเงินการธนาคาร, Money & Wealth, กรุงเทพธุรกิจ
- แน่นอนว่าแหล่งอ้างอิงจากสื่อคุณภาพเหล่านี้ เป็น Social proof ขั้นยอดเยี่ยมที่สุดอันนึงเลยละ ! (แต่อันนี้เราว่าค่อนข้างยากนะ ถ้าเริ่มแรก อาจจะยังไม่ค่อยมีโอกาส แต่ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่มีทางถึงนี่ !)
https://www.bangkokpost.co.th/business/international_mag
หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆที่กำลังเริ่มสร้างแบรนด์ของตัวเอง หรือผู้ที่อยากได้ไอเดียทางการตลาดสั้นๆ ว่าจะหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้จากไหนบ้างเนอะ
ถ้าเพื่อนๆมีไอเดียเพิ่มเติม ก็แชร์พูดคุยกับเราได้นะ ^^!
โฆษณา