6 ต.ค. 2020 เวลา 05:24 • ประวัติศาสตร์
แหล่งบทความ และคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร
"...วันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นเป็นวันที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ได้เกิดกรณีนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใจกลางพระนคร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนอย่างน้อย 41 คน และบาดเจ็บ 145 คน การก่อการสังหารครั้งนี้ได้กลายเป็นข่าวแพร่ไปทั่วโลก แต่ที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ การก่อกรณีนองเลือดครั้งนี้ ไม่มีการจับกุมฆาตกรผู้ก่อการสังหารเลยแม้แต่คนเดียว ในทางตรงข้ามนักศึกษาประชาชนที่เหลือรอดจากการถูกสังหารจำนวน 3,094 คน กลับถูกจับกุมทั้งหมดภายในวันนั้นเอง..."
โดย โครงการบันทึก 6 ตุลา, สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
6 ตุลา : ภารกิจ "สืบต่อความทรงจำ" กับวาระ "รื้อคิดความเป็นไทย" ของ 2 ผู้รอดชีวิต
"...จากจุดเริ่มต้นของผู้คนที่มาชุมนุมประท้วงการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ถูกขับไล่ออกนอกประเทศเมื่อปี 2516 พัฒนาสู่ข้อกล่าวหาว่าขบวนการนักศึกษา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" เป็น "คอมมิวนิสต์" และ "ซ่องสุมและสะสมอาวุธ" ไว้ภายในมหาวิทยาลัย นำไปสู่การเปิดฉากสังหารหมู่..."
โดย BBC Thai เผยแพร่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563
อินโฟกราฟฟิก พร้อมคำบรรยายเกี่ยวกับการสังหารนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519
"...การปลุกปั่นสร้างความเกลียดชังจากฝ่ายรัฐได้ผล ทำให้ในเหตุการณ์สังหารหมู่ ผู้ถูกสังหารไม่ได้จบอยู่แค่ความตาย แต่ถูกทรมานต่อแบบไม่เหลือความเป็นมนุษย์หลังเสียชีวิต..."
โดย THE MEERKAT
6 ตุลา: อ่านข้อเท็จ-จริง จาก ‘หน้าหนึ่ง’ เมื่อ 43 ปีที่แล้ว
"...WAY คัดหนังสือพิมพ์ 7 หัวในห้วงนั้น ได้แก่ ดาวสยาม,ชาวไทย,เดลิไทม์,สยามรัฐ,ไทยรัฐ และ Bangkok Post แทนไทม์แมชชีน ชวนคนอ่านย้อนไปดูข่าวหน้าหนึ่ง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2519 ไปถึงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เพื่อดูน้ำเสียง ลีลาภาษา ทัศนะ และข้อเท็จ-จริงที่ซ่อนอยู่ในน้ำหมึกบนหน้ากระดาษแต่ละฉบับ..."
โดย Way Magazine
6 ตุลาคม 2519
"...จากที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นผลผลิตอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เมื่อขบวนการนักศึกษาได้รับชัยชนะในการต่อสู้ และนำมาซึ่งกระแสการตื่นตัวด้านประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งในกระแสดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของประชาชนกลุ่มต่างๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิของประชาชนชนชั้นล่าง ทั้งกรรมกร ชาวนา และ กลุ่มสังคมอื่นๆ เกิดขึ้นเป็นระลอกคลื่น นอกจากนี้ ยังมีกระแสต่อต้านจักรพรรดินิยมอเมริกา รวมทั้งกระแสแห่งการขยายตัวของแนวคิดสังคมนิยม ซึ่งเป็นแนวคิดที่วิพากษ์สังคมเก่า เสนอทางออกใหม่แก่สังคม และนำมาซึ่งการเรียกร้องการปฏิวัติวัฒนธรรม สร้างวัฒนธรรมใหม่ที่รับใช้ประชาชน เป็นต้น ซึ่งเป็นกระแสคลื่นที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน..."
โดย สถาบันพระปกเกล้า, ธิกานต์ ศรีนารา
โฆษณา