6 ต.ค. 2020 เวลา 07:49 • ความคิดเห็น
ทฤษฎีเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการเขียนบทความไม่ว่าจะสั้นหรือยาว หนังดังๆ หรือสตอรี่ที่คนแชร์เยอะๆ เกิน 90% ใช้เทคนิคนี้ Write Coach EP.2 พาไปรู้จัก "ทฤษฎีสามองค์" แบบเข้าใจง่าย และใช้ได้จริง
1
สวัสดีครับลูกเพจที่รักทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้ง สำหรับซีรีส์ Write Coach บทความที่จะแนะนำเทคนิคการเขียน เพื่อให้คุณผู้อ่าน เอาไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้
ใน EP.1 ผมแนะนำทุกท่านเรื่อง การ "อย่าออกตัว" ไปแล้วจำได้ไหมครับ นี่คือสิ่งสำคัญมากในการที่เราจะสร้างบทความ ทุกท่านต้องมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเขียนนะครับ ไม่ต้องไปบอกว่า เราไม่ค่อยชำนาญ หรือไม่เชี่ยวชาญในสิ่งที่ตัวเองเขียน (แม้มันจะเป็นเรื่องจริงก็เถอะ)
6
หวังว่าตอนนี้ทุกท่านจะไม่ถล่มตัวเองอีกต่อไปแล้วนะครับ!
เอาล่ะสำหรับใน EP.2 จะเป็นทริคเชิงเทคนิคมากขึ้นนิดนึงครับ อันนี้เป็นทฤษฎีที่ผมจะใช้กับงานของตัวเองด้วย
สิ่งนั้นมีชื่อว่า 3-act structure หรือภาษาไทยคือ "ทฤษฎีสามองค์" นั่นเองครับ
นี่เป็นแบบเรียนพื้นฐานของการทำภาพยนตร์ หนังสูตรสำเร็จระดับบล็อคบัสเตอร์คิดงานผ่านทฤษฎีสามองค์แทบทั้งสิ้นครับ
ซึ่งแน่นอน ทฤษฎีนี้ ไม่ได้ใช้แต่กับหนังอย่างเดียว แต่ในงานเขียนเราก็ใช้ได้เช่นกัน
2
ทฤษฎีสามองค์คืออะไร? มันคือทฤษฎีที่บอกว่า ใน 1 เนื้อเรื่องควรแบ่งย่อยออกเป็น 3 องค์ (3 ACT)
1
ACT 1 - Setup การปูพื้น
ACT 2 - Confrontation/ Conflict การเดินเรื่อง
ACT 3 - Resolution บทสรุป
2
ACT 1 เมื่อเปิดเรื่องเข้ามา เราจำเป็นต้องดึงคนดู หรือคนอ่าน ให้อยู่ในโลกของเราก่อน ทำให้เขารู้จักกับตัวละครที่เรากำลังจะเล่า ว่าเป็นใคร มีเป้าหมายคืออะไร
1
บทความที่ไม่ได้เล่าที่มาที่ไปใดๆ ไม่ดึงคนอ่านมาอยู่ในโลกของคนเขียนเลย ก็จะทำให้คนอ่านไม่รู้สึกอยากที่จะเดินหน้าอ่านในสเต็ปต่อไป
อย่าลืมว่าคนอ่านทุกคน มีแบ็กกราวน์ความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก็จะดี ถ้าเรามีช่องเวลาสั้นๆ อธิบายให้เขารู้จักสิ่งที่เราอยากจะสื่อบ้าง
จากนั้นเมื่อปูพื้นเสร็จ จะเข้าสู่ Plot Point 1 หรือจุดเปลี่ยนสำคัญบางอย่าง ที่จะทำให้ตัวละครของเรา เดินหน้าเข้าสู่ ACT 2 นั่นคือ "การเดินเรื่อง"
ใน ACT 2 คือช่วงเวลาที่สนุกที่สุดของบทความ มีเรื่องราวต่างๆมากมาย ถ้าเป็นเจมส์ บอนด์ 007 ก็คือช่วงที่บินไปทั่วโลก เพื่อเก็บข้อมูล ว่าคนร้ายบอสใหญ่ในเรื่องคือใครกันแน่ เป็นช่วงที่เจมส์ บอนด์ จะใช้เครื่องมื่อเทคโนโลยีออกมาให้คนดูตื่นตะลึง
จากนั้นเมื่อจบ ACT 2 จะเข้าสู่ Plot Point 2 นั่นคือจุด Twist ตัวละครรู้ความจริงบางอย่าง และเนื้อเรื่องก็จะเดินเข้าสู่องค์สุดท้าย
ACT 3 เรื่องจะไต่ขึ้นไปจนถึงไคลแม็กซ์ ตัวเอกต่อสู้กับบอสใหญ่ จากนั้นพอรู้ผลลัพธ์ ก็เข้าสู่การคลี่คลาย สรุปสถานการณ์ทั้งหมด แล้วเรื่องก็จบ
นี่คือเทคนิคเบสิค ในแง่การเขียน ให้คนอ่านอยู่กับเราตั้งแต่ต้นจนจบ
1
ถ้าไม่มี ACT 1 คนอ่านก็ไม่รู้จักสิ่งที่เราอยากจะเล่าเลย
2
ถ้าไม่มี ACT 2 ก็เหมือนเปิดเรื่องว่ามาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ดร็อปจากฮาวาร์ด แล้วจบที่ร่ำรวยมหาศาล โดยไม่เล่าปัญหาที่เขาเจอระหว่างทาง
3
ถ้าไม่มี ACT 3 มันก็คือละครที่ไม่มีตอนจบ คนดูก็จะได้แต่คิดว่า อ้าว แล้วไงต่อวะเนี่ยะ
2
ดังนั้น 3 ACT ไม่จำเป็นต้องยาว อาจจะสั้นมากๆก็ได้ แต่ก็ควรมีทุกองค์ครบไว้ เริ่ม > เล่า > คลี่คลาย
3
ถ้าเทียบกับในภาพยนตร์ ผมของยกตัวอย่างเช่นเรื่อง Freelance ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ ละกันนะครับ
1
ACT 1 - หนังพาเราไปรู้จัก ยุ่น (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) นักทำกราฟฟิกฟรีแลนซ์ ที่หาเงินตัวเป็นเกลียว ชีวิตนี้อยู่เพื่องาน เขามีเป้าหมายเดียวในชีวิตคือทำงานให้ได้มากที่สุด แม้แต่งานศพพ่อเพื่อนสนิท ยังต้องไปขอไวไฟในกุฏิพระเพื่อส่งงาน
5
Plot Point 1 - ยุ่นพบว่าตัวเองมีผื่นขึ้นที่ร่างกาย ไม่รู้ว่ามาจากไหน และสุดท้ายต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรักษากับหมออิม (ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่)
ACT 2 - หนังเล่าเรื่องทั้งหมด หมออิม ออกกฎ 4 ข้อ ให้ยุ่นทำตามเพื่อให้ผื่นลด มุกต่างๆของหนังก็จะยัดใส่ในช่วงนี้ เช่นหมออิม สั่งห้ามกินอาหารทะเล แต่เจ๋ (วีโอเล็ต วอเทียร์) ซึ่งเป็นเหมือนผู้จัดการคนสนิทของยุ่น ดันไปต่อแถวจากเยาวราชซื้อบะหมี่กุ้งที่ยุ่นชอบมากๆมาฝาก เขาก็ต้องต่อสู้กับความรู้สึกว่าจะทำยังไง หนังก็พยายามเล่าว่า กิจวัตรฟรีแลนซ์ของยุ่น ที่ต้องทำงานหนักไม่เป็นเวลา มันขัดกันมากๆกับคำขอร้องของหมออิมที่ให้ยุ่นดูแลสุขภาพ หลายๆครั้งเขาก็ต้องทำอะไรที่ขัดกับวิถีชีวิตเดิมๆของตัวเอง เพราะหมออิมขอร้อง
Plot Point 2 - ยุ่นหันมารักษาสุขภาพของตัวเอง ยอมนอนเร็ว ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองหลายอย่าง ยอมเสียงาน เพราะเขารู้สึกดีกับหมออิม และในที่สุดร่างกายก็เริ่มดีขึ้น เขากลับไปหาหมออีกครั้ง แต่คำตอบของหมอคือ ถ้าคุณหายแล้วก็ไม่ต้องมาแล้วก็ได้นะ หมออิมมองเขาเป็นแค่คนไข้จริงๆ
ACT 3 - ยุ่นสติแตก รู้สึกที่ทำมามันไร้ประโยชน์ เขากลับไปทำงานอย่างบ้าคลั่ง ไม่นอน 9 วันติดต่อกัน สุดท้ายผื่นขึ้นเต็มตัว และน็อกสลบคาพื้น ต้องเข้าโรงพยาบาล เขาเฉียดตาย
ENDING - สุดท้ายยุ่นเข้าใจ ว่าเขาควรห่วงสุขภาพไม่ใช่เพื่อหมออิม แต่เพื่อตัวเองต่างหาก ชีวิตที่ดี ต้องสร้างความบาลานซ์ทั้งงานและสุขภาพ ซึ่งยุ่นมาเข้าใจเอาตอนนี้เอง
การเล่าเรื่องแบบหนัง Freelance จึงมีครบเลย พาเราไปรู้จักตัวละคร เล่าเรื่อง และคลี่คลายพร้อมข้อสรุป ซึ่งก็ไม่แปลกนะที่จะทำเงินไปถึง 86 ล้านบาท ทั้งๆที่ใช้ทุนสร้างแค่ 15 ล้านบาทเท่านั้น
1
สำหรับบทความที่เราโพสต์ในเพจนั้น เนื่องด้วยความยาวมันไม่ได้เยอะขนาดหนัง 1 เรื่อง ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องใส่ Plot Point ก็ได้ แต่ใส่แค่ ACT 1, ACT 2, ACT 3 ก็โอเคแล้ว
1
ตัวอย่าง เราสามารถศึกษาได้จากเพจของลงทุนแมนนี่เองครับ ผมเอาตัวอย่างจาก "ลงทุนเกิร์ล" เมื่อสัก 3-4 วันก่อนละกัน ลงทุนเกิร์ลเขียนเรื่อง "จากยูทูบเบอร์ สู่เจ้าของธุรกิจชานม Bearhouse"
1
การเขียนของเขาก็ใช้ทฤษฎี 3 องค์ ตามด้านบนเลย
1
ACT 1 พาไปรู้จักก่อนว่า Bearhouse คือใคร อธิบายว่าจุดเริ่มต้นคือยูทูบเบอร์ Bearhug นะ
ACT 2 เส้นทางของเรื่อง เล่าเหตุผลว่าไปเห็นอะไรถึงอยากทำธุรกิจชานม เขาก็เล่าว่าด้วยการเป็นแชนแนลพาเที่ยวพากิน ก็สังเกตว่าร้านชานมไข่มุกของไทยส่วนใหญ่ ใช้วัตถุดิบจากไต้หวัน แล้วทำไมเราไม่ลองใช้วัตถุดิบ local อย่างข้าวไทย เป็นส่วนผสมแทนล่ะ ซึ่งเมื่อทดลองแล้ว ก็ทำรายได้มหาศาลเป็นหลักสิบล้าน
1
ACT 3 เมื่อเล่าเส้นทางความสำเร็จแล้ว ก็จบด้วยบทสรุปว่าเราได้อะไรจากเรื่องนี้
1 เริ่ม > 2 เล่า > 3 คลี่คลาย
4
บทความนี้ของลงทุนเกิร์ล ไม่ยาวนัก แต่ก็มีองค์ประกอบของทฤษฎีสามองค์ครบ ทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากๆครับผม
ถ้าบทความนี้ข้าม ACT 1 ไม่เริ่มก่อนว่า Bearhouse คือใคร คนอ่านก็อาจไม่รู้สึกร่วมไปกับบทความน่ะครับ หรือถ้าไม่มี Act 3 คนอ่านก็อาจรู้สึกได้ว่า เออ อ่านจบแล้วเขาได้อะไรล่ะ
1
เอาล่ะครับ ทริคเล็กๆน้อยๆ ที่แอดมินยกตัวอย่างมา หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านที่รักอยู่บ้างนะครับ แน่นอน สามารถเอาไปใช้กับงานเขียนได้จริงนะ
2
วันนี้ก็จบแล้วนะครับสำหรับ Write Coach EP.2 ติดตามตอนต่อไปได้ใน EP. หน้า ในระยะเวลาอันใกล้นะครับผม
2
#WRITECOACH

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา