Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
7 ต.ค. 2020 เวลา 17:58 • สิ่งแวดล้อม
รูรั่วโอโซนขนาดใหญ่เหนือทวีปแอนตาร์กติกาเกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ หลังจากปีที่ผ่านมาแทบรูรั่วมีขนาดเล็กลงไปมาก
เราคงยังต้องจริงจังกับการลดการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนกันต่อไป
รูโหว่เกิดขึ้นอีกแล้วเหนือทวีปแอนตาร์กติกา
นับตั้งแต่ปี 1970 ที่เราค้นพบรูโหว่ของชั้นโอโซน อันเป็นที่มาของความพยายามในการ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนมาโดยตลอด
นับตั้งแต่การแบนการใช้สาร CFC มาจนถึงข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีออล
ซึ่งในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เหมือนความพยายามจะเริ่มเป็นผลเมื่อรูโหว่ของชั้นโอโซนนั้นดูมีขนาดที่เล็กลง
ปี 2019 ที่ผ่านมารูโหว่โอโซนเหลือน้อยมาก
โดยในปีที่ผ่านมาด้วยอุณภูมิอากาศโลกโดยเฉลี่ยจะสูงกว่าปีนี้ รูโหว่โอโซนนั้นเหลือน้อยมากทีเดียว
แต่มาล่าสุดข้อมูลจากระบบติดตามสภาวะอากาศโลก Copernicus Atmosphere Monitoring Service (CAMS) แสดงให้เห็นถึงการเกิดรูโหว่ของชั้นโอโซนขนาดใหญ่ปรากฎเหนือทวีปแอนตาร์กติกาอีกครั้ง
ขั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงเดือนกรกฎาคม
ทั้งนี้โดยปกติรูโหว่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกานี้จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นฤดูร้อนของซีกโลกใต้
ด้วยกระแสลมวนในเขตขั้วโลก (Polar vortex) ซึ่งหอบเอาสารคลอรีนและโบรมีน หมุนวนในชั้นบรรยากาศและด้วยการรับแสงอาทิตย์อย่างยาวนานทำให้เกิดการทำปฎิกิริยากับโอโซนในชั้นบรรยากาศจนชั้นโอโซนเกิดเป็นรูโหว่
ขั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาในช่วงเดือนกันยายน
ซึ่งการติดตามสถาการณ์ของชั้นโอโซนโดย Copernicus Atmosphere Monitoring Service นี้เป็นการเก็บข้อมูลร่วมกันจากทั้งดาวเทียม เครื่องบินตรวจอากาศ สถานนีภาคพื้นดินและบอลลูนตรวจอากาศ
ก่อนนำมาประมวลผลเป็นภาพรูโหว่ของชั้นโอโซนในทุก ๆ ปี ซึ่งข้อมูลที่มีนั้นย้อนหลังกลับไปถึงปี 1982 จนมาถึงปีนี้ ซึ่งรูโหว่ของชั้นโอโซนก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ
จากข้อตกลง Kigali Amendment ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมาในการตกลงลดการใช้สาร hydrofluorocarbons (HFCs) ซึ่งเป็นอีกขั้นของการหยุดการทำลายชั้นโอโซน
ด้วยความหวังว่าถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ชั้นโอโซนของโลกเราจะสามารถรักษาตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2060
ทั้งนี้ชั้นโอโซนนั้นทำหน้าที่ปกป้องทุกสรรพชีวิตบนโลกจากรังสี UV ไว้ด้วยการดูดซับเอาไว้กว่า 97-99%
ด้วยรูโหว่ของชั้นโอโซนที่เกิดขึ้นทุกปีเหนือทวีปแอนตาร์กติกานั้นย่อมทำให้ยากที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนทวีปนี้ได้
Source:
https://interestingengineering.com/ozone-hole-is-the-largest-deepest-ever-this-year
https://atmosphere.copernicus.eu/monitoring-ozone-layer
5 บันทึก
48
5
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตามติดสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
5
48
5
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย