8 ต.ค. 2020 เวลา 03:27 • การตลาด
จะเอาสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่
ถ้าใครเคยดูหนัง วัยรุ่นพันล้าน ที่จำลองชีวิตของ เจ้าของสินค้า”เถ้าแก่น้อย” คงยังจำได้ว่าจุดเปลี่ยนของธุรกิจที่สร้างคำว่า “วัยรุ่นพันล้าน” นั่นคือความพยายามเป็นอย่างมากที่จะนำสินค้า เข้าไปขายใน ร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น
แต่เรื่องราวที่หนังไม่ได้บอกคือเจ้าของธุรกิจ SME ที่อยากเอาสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น ต้องเตรียมงบไว้เท่าไหร่ และ จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน คำกล่าวที่ว่า “สมัยนี้ไม่เข้า เซเว่นอยู่ไม่ได้ เข้าเซเว่นก็อยู่ไม่ได้”จริงหรือไม่
ถ้าพร้อมแล้ว เตรียม Drama ครับ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ร้านสะดวกซื้ออย่าง เซเว่น อีเลฟเว่น กลายเป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีวิตของคนไทยไปแล้ว ด้วยจำนวนสาขาที่มากเป็นอันดับสองของโลก ทำให้ การมีสินค้าขายใน เซเว่น เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในเรื่องการเข้าถึงผู้บริโภค และสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ สินค้า เรียกง่ายๆ ว่า
ถ้าออกสินค้ามาแล้วสามารถเข้าไปขาย เซเว่น อีเลฟเว่น ได้(อย่างตลอดลอดฝั่ง)
ความฝันของ ผู้ประกอบการ SME ที่อยากจะสร้างตำนาน อย่าง”เถ้าแก่น้อย” คงอยู่ไม่ไกลนัก
แต่การที่อยากจะให้สินค้านั้นมีจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกนั้น มีข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องรู้ครับ
1
ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องรู้เมื่อจะขายสินค้าเข้า เซเว่น อีเลฟเว่น
ค่าแรกเข้า (Listing Fees)
หรือเรียกว่าค่าวางสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับการนำสินค้าเข้าไปขายในห้างส่วนใหญ่ 750,000-1,000,000 บาท โดยเราจะต้องจ่ายหลังจากการสั่งสินค้าครั้งแรก
ภายใน 45 วัน (*ราคาListing feesของแต่ละสินค้าต่างกันไปแล้วแต่จุดขาย เทรนด์ของสินค้า หรือการขอเป็น “Only at 7-Eleven” และก็แล้วแต่ดวงครับ)
เครดิตเทอม
คือระยะเวลา เงินที่ทาง เซเว่น อีเลฟเว่น จะจ่ายค่าสินค้าที่หัก กำไรของเซเว่น
(หรือที่เรียกว่า GP) ออกไปแล้วกลับมาให้เรา คือ 60 วัน (ในบางกรณีของ SME อาจจะมีการพิจารณาที่ 45วัน)
ยอดขายขั้นต่ำ
ในทีนี่เราขอยกตัวอย่างสินค้า ประเภท “เครื่องดื่มบรรจุขวดปิดสนิท” ซึ่งทาง เซเว่น จะกำหนดลงในสัญญาซื้อขาย ว่าสินค้าต้องขายได้ต่อเดือน หรือ ต่อวันเป็นจำนวน
กี่ชิ้น ต่อสาขา โดยเทียบจากคู่แข่งหรือกลุ่มสินค้า ซึ่งถ้าสินค้าของเราขายได้ต่ำกว่ายอดขายที่กำหนดมากๆ สินค้าก็จะถูกทบทวนการสั่งซื้อ หรือถึงขั้น De-list
หรือหยุดจำหน่ายนั่นเอง
2
อีกเรื่องที่ไม่ได้อยู่ใน Infographic แต่ละเลยไม่ได้คือ
3
ค่าบริการของบริษัทขนส่งจากโกดัง ไปที่ศูนย์กระจายสินค้า (DC- Distribution
Center) ของ เซเว่น อีเลฟเว่น
1
ราคากลางสำหรับสินค้าเครื่องดื่ม ขนาด 275 – 500 มิลลิลิตร อยู่ที่ ขวดละ 3 บาท (ในทีนี้เราแนะนำให้ส่งเข้า DC ของ เซเว่น อีเลฟเว่น ไปเลยเพื่อตัดปัญหาเรื่องการเสียโอกาสและค่าปรับที่เกิดจากความผิดพลาดของการขนส่งไปในแต่ละสาขาด้วย
ตัวเราเอง)
ทีนี้เราลองเอาปัจจัยทั้งหมดมาคำนวณ คร่าวๆ ให้ผู้อ่านเห็นภาพของสินค้าที่ต้องผลิตออกมาเพื่อรองรับการเข้า เซเว่น อีเลฟเว่นในครั้งแรก สมการจะออกมาหน้าตา
แบบนี้ครับ
ประมาณการการผลิตสินค้าเครื่องดื่มในการขายเข้า เซเว่น 2-3 เดือนแรก
• เริ่มจากจำนวนสาขาทั้งหมดที่ เซเว่น มี (ซึ่งถ้าคุณเลือกที่จะไม่เข้าทั้งหมด ตัวเลข
ตรงนี้ก็จะผันแปรไป)
• ต่อด้วย ยอดขายขั้นต่ำที่นำมาคำนวณเป็นตัวตั้ง (ซึ่งอาจจะลดลงได้ 10-15% )
• ระยะเวลาที่เราต้องส่งของเข้าไปให้ เซเว่น (คือจนกว่าจะถึงกำหนดที่เราได้เงินงวดแรกเอามาหมุนนั่นเอง) และถ้าจะให้ดีควรผลิตเผื่อ Buffer ไปอีก 0.5 เดือน เพื่อกันปัญหาของขาดสต๊อก (Positive Thinking)
ทีนี้เราพอจะเห็นภาพคร่าว ๆแล้วว่า เราต้องผลิตสินค้าเท่าไหร่ ในที่นี้ตัวเลขโดย
ประมาณอยู่ที่ 750,000 ขวด สำหรับการขายในระยะเวลา 2.5 เดือน
คราวนี้ลองมากใส่สมการของรายจ่ายหลัก ๆ ที่เราต้อง “ลงทุน”ไปก่อน ในระหว่าง
รอเงินงวดแรกจาก เซเว่น นะครับ
ประมาณการเตรียมเงินใน 2-3 เดือนแรกของการขายสินค้าเข้า เซเว่น อีเลฟเว่น
7.5 ล้านบาทคือจำนวน “เงินเย็น” ที่เราแนะนำว่า คุณต้องมีในมือ เมื่อสินค้าของคุณ “ผ่านการคัดเลือก” ให้ได้รับการขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น
3
ซึ่งตัวเลขนี้คือตัวเลขประมาณการตามรายละเอียดในสัญญาหรือตัวเลขเริ่มต้นในตลาดสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งในทางปฏิบัติจริง คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องมีถึง 7.5 ล้านบาท ซึ่งประเภทและชนิดของสินค้าก็ผันแปรไปกับจำนวนเงินที่ต้องใช้ ถ้าผู้อ่าน
อยากรู้งบเริ่มต้นของตัวเอง สามารถใช้สมการด้านบนมาคิดคำนวณได้เลยครับ
อีกเรื่องที่สำคัญคือ การวางเครดิตการจ่ายเงินของคุณกับโรงงานและ Supplier
ที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระของคุณไปได้ กว่า 30-40% ถ้าเวลา “จ่ายเงินออก”
ไม่ห่างมากนักกับเวลา “รับเงินเข้า” จาก เซเว่น อีเลฟเว่น
แต่ปัญหาของ SME ส่วนใหญ่เวลานำสินค้าเข้า เซเว่น คือ เกิดภาวะ “แซนวิช”
คือเงิน รับเข้า ช้ากว่าเงินจ่ายออก
ซึ่งเมื่อพูดถึงการรับเงินเข้า มีคำที่ SME อาจจะต้องจำให้ขึ้นใจ(แต่อาจจะไม่รื่นหู)
นั่นคือ Trade margin/ Gross profit margin(GPM) ที่เป็นกำไรของ เซเว่น อีเลฟเว่น จากการขายสินค้าให้คุณนั่นเอง ไว้คราวหน้า เราจะมาพูดถึง เรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน ของการนำสินค้าเข้าไปขายใน เซเว่น อีเลฟเว่น กันนะครับ
แล้วพบกันใหม่ครับ
สวัสดีครับ
Drink-Space คือบริษัทพัฒนาเครื่องดื่มและให้คำปรึกษาด้านการตลาด
สามารถพูดคุยกับเราหรืออ่านบทความอื่นๆได้ทาง
โฆษณา