มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ก่อน ป้องกันได้
.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากเป็นอันดับ 3 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย พบมากในช่วงอายุ 50 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ส่วนใหญ่จะพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ถูกตรวจพบเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรค ซึ่งโอกาสที่จะหายขาดเป็นไปได้ยากมาก
.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากเซลล์ในลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ โดยเริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อเล็ก ๆ ภายในผนังลำไส้ ขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง และลุกลามแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ ใกล้เคียง เนื่องจากทั้งในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ไม่มีเส้นประสาทรับความรู้สึก เมื่อเกิดความผิดปกติ จึงไม่มีความรู้สึกถึงอาการเจ็บปวด ดังนั้นกว่าจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งจึงค่อนข้างช้า รู้ตัวเมื่อระบบขับถ่ายมีปัญหาและเซลล์มะเร็งลุกลามไปเสียแล้ว
.
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- พฤติกรรมชอบรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารแปรรูป
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
- ขาดการออกกำลังกาย
เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่แสดงอาการช้า กว่าจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 ไปแล้ว ซึ่งโอกาสที่จะได้รับการรักษาให้หายเป็นไปได้ยาก จึงควรสังเกตุอาการต่าง ๆ ด้วย 6 สัญญาณดังต่อไปนี้
1. ท้องอืดบ่อย ๆ มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
2. อ่อนเพลีย คลื่นไส้ รู้สึกอยากอาเจียน อิ่มไว ไม่อยากรับประทานอาหาร เนื่องจากอาจมีก้อนหรือมะเร็งในลำไส้ทำให้การทำงานของทางเดินอาหารมีการอุดตันเกิดขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปจึงทำให้รู้สึกอยากอาเจียน ถึงแม้ว่าการรับประทานยาแก้อาเจียนแล้วแต่ก็ไม่ดีขึ้น
3. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ลดน้ำหนัก
4. ถ่ายเป็นเลือด สันนิษฐานได้ว่าในลำไส้อาจมีก้อนผิดปกติ เกิดการอักเสบจนมีแผลเลือดออกทำให้ภายในลำไส้ มีมูกเลือดปะปนออกมาในอุจจาระ
5. ลักษณะของอุจจาระผิดปกติ คือ ลีบแบน เหนียวเหมือนยางมะตอย
6. ปวดท้องเรื้อรัง รู้สึกปวดถ่าย แต่ไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้ ถ้าคลำบริเวณหน้าท้องอาจเจอก้อนเนื้ออยู่ข้างในด้วย
.
แต่หากรู้สึกถึงความผิดปกติ จากสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งใน 6 สัญญาณนี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินเบื้องต้น ถ้าตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ในระยะที่ 1 หรือ ระยะที่ 2 ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้
.
เพื่อเป็นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรฝึกรับประทานอาหารที่มีกากใย ผักและผลไม้ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ ปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8-10 แก้ว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรงดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์ ก็สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็ง และการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
.
การป้องกันโรคดีกว่าการรักษาโรค
.
#ป้องกันดีกว่ารักษา #บันทึกหมอสั่ง #ภูมิแพ้ #ภูมิคุ้มกัน #ออกกำลังกาย #healthylifestyle #healthylifestyletips #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #ติ่งเนื้อ #ต่อมน้ำเหลือง #ระบบขับถ่าย
.