11 ต.ค. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
สัตว์หน้าตาประหลาดคล้ายงู
ว่ายน้ำพลุบโผล่ในป่าชายเลน...
https://biokingdom2013.wordpress.com/อาณาจักรสัตว์/ไฟลัมแอนเนลิดา/
รู้หรือไม่ ในท้องทะเลก็มีไส้เดือน
และเจ้าสิ่งที่ว่านี่คือไส้เดือนทะเล ที่มีนามว่า
”แม่เพรียง” (Polychaete Worm) นั่นเอง
ซึ่งพบมากในแนวป่าชายเลนของประเทศไทย
มันไม่ใช่สัตว์อันตรายแต่อย่างใด แถมมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศด้วย
เจ้าสิ่งนี้นอกจากหน้าตาอันน่าเกลียดของมันและลำตัวก็ยังเป็นปล้องยาว ตั้งแต่20-40cm. ทำให้ผู้คนนึกหวาดเพราะลำตัวที่ยาวคล้ายงู
ปากมีเขี้ยว 1 คู่ มีอวัยวะคล้ายหนวดที่หัว ไม่มีพิษ มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ โดยการเป็นอาหารแก่สัตว์น้ำที่ตัวใหญ่กว่า และควบคุมประชากรของสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็ก
เป็นสัตว์กินซากซากพืช เป็นตัวกำจัดเศษอินทรีย์ในน้ำเป็นอย่างดี รวมทั้งอาหารโปรดของมันก็คือสาหร่ายทะเล
มันจึงไม่ใช่สัตว์ดุร้ายอย่างที่บางคนเข้าใจ และมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างมาก
มันมีระยางยื่นออกช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ เรียกว่าพาราโพเดีย (parapodia)ในฤดูหนาว ราวๆ พฤศจิกายน-ธันวาคม ในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง พวกมันจะออกมาว่ายที่ผิวน้ำ
ในคลองแถบป่าชาย จะปรากฎออกมาเป็นริ้วยาว สีดำๆ ในน้ำ สำหรับผู้ที่ไม่เคยพบเห็นเจ้าแม่เพรียง ก็คงเป็นที่ตกอกตกใจพอสมควร
https://hilight.kapook.com/view/129216
พวกมันจะออกมาผสมพันธุ์ในช่วงข้างขึ้น โดยตัวผู้และตัวเมียจะเรืองแสง เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม และตัวผู้จะสลัดปล้องส่วนท้ายที่มีน้ำเชื้อ และตัวเมียจะสลัดปล้องที่มีไข่
หลุดออกไปเพื่อผสมแบบภายนอกในน้ำ โดยมันเป็นสัตว์แยกเพศ และสามารถเปลี่ยนสีของมันได้ ในฤดูผสมพันธุ์ โดยจะมีสีตั้งแต่น้ำตาลอมเขียวไปจนถึงน้ำตาลแดง
สาเหตุที่พวกมันปรากฎตัวไม่บ่อยนักเพราะพวกมันหลบซ่อนอยู่ในเลนและทราย โดยจะคอยโผล่หัวออกมาเพื่อหาอาหาร แต่เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์พวกมันจะต้องเสี่ยงชีวิตออกมาจากที่หลบซ่อน ทำให้หลังจากผสมพันธุ์แล้ว พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ส่วนมากถูกปลาที่ขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารอันโอชะ
เรียงเรียงโดย: โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่: 10/9/63
FB page:
อ้างอิง/references
โฆษณา