11 ต.ค. 2020 เวลา 14:04 • ไลฟ์สไตล์
เรือหัวพญานาค เอกลักษณ์หัวเรือพายแห่งแม่น้ำน่านหัวเรือจะแกะสลักเป็นรูปพญานาค หนึ่งเดียวในโลก และทุกๆปีประเพณีแข่งเรือ จ.น่าน เรือพายที่นำมาลงแข่งขัน หัวเรือจะนั้นจะต้องเป็นรูปร่างคล้ายหัวพญานาค หรือคนน่านเรียกว่า หัวโอ้
ช่วงเทศกาลแข่งเรือแม่น้ำน่านก็วนมาอีกปี รอบนี้พาไปแอ่วชมเสน่ห์เมืองน่าน เมืองที่ใครๆหลงไหลกับบรรยากาศของธรรมชาติแล้ว ยังเป็นเมืองที่หลายๆ คนติดตรึงใจกันมานักต่อนักกันบ้าง แต่ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ ประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ นั่นก็คือ "ประเพณีการแข่งเรือจังหวัดน่าน" ซึ่งเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว แต่ข้อแตกต่างจากจังหวัดอื่นจะอยู่ที่รูปลักษณ์ของเรือแข่งซึ่งทุกลำจะมีหน้าตางดงามอันเป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด เกิดจากการที่ชาวเมืองน่านนั้นมีความผูกพันกับพญานาคซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จึงขุดเรือยาวและตกแต่งบริเวณหัวเรือ หางเรือ ตลอดจนลำเรือให้มีลักษณะคล้ายพญานาค หรือที่เรียกว่า "หัวโอ้"
ประเพณีแข่งเรือ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ประจำปี 2563
จากเรื่องราว "หัวโอ้" หรือหัวเรือพญานาค ตามความเชื่อที่เล่ากันมา อ.สง่า อินยา เล่าให้ฟังว่า การแข่งเรือจังหวัดน่านจริงๆ แล้วนั้นชาวจังหวัดน่านมีความเคารพนับถือพญานาค เพราะพญานาคเป็นตัวแทนของความชุ่มชื้น เป็นตัวแทนของความชุ่มเย็น เขาจึงมาการนำพญานาคไปไว้ที่วัด เฝ้าวัด เฝ้าสถานที่ต่างๆ ให้เฝ้าไว้ เลยมาการหยิบเอาตรงนี้ว่าพญานาคเป็นผู้ที่บันดาลให้เกิดฝนตก ให้น้ำ เวลาชาวไร่ชาวนาไม่มีฝนฟ้าคะนองหรือไม่มีน้ำทำนา ในสมัยก่อนปีไหนแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลบรรพบุรุษชาวน่านก็จะนำเรือไปพายแข่งกัน ซึ่งเปรียบเสมือนกับพญานาคกำลังเล่นน้ำเพื่อขอฝน พอนำเรือลงไปแข่งกันเมื่อไหร่นั้นฝนก็จะตกลงมา เทวบุตรเทวดาคงเห็นว่าชาวจังหวัดน่านคงต้องการฝนแล้วเอาเรือลงน้ำแล้ว นำพญานาคมาเล่นน้ำแล้ว ฝนก็จะตกลงมาจริงๆ
ส่วนรายละเอียดของหัวเรือพญานาคนั้น ก็มีส่วนประกอบดังนี้
เขี้ยวฟอง จะมีสองแบบ คือ เป็นเขี้ยวสิบซี่และ เขี้ยวสิบสี่ซี่ โค้งงอเหมือนปากนกแล (นกแก้ว) ก้มกินน้ำ
เขี้ยวแต คือเขี้ยวซี่เล็กที่เรียงติดกัน อยู่ระหว่างเขี้ยวฟอง ต้องหึก(หนา) บ่งบอกความแข็งแรง ใหญ่
3
เขี้ยวหนาย เป็นเขี้ยวฟองซี่ในสุดจะโค้งงอ ขึ้นหรือลง ก็ได้
แก้ม จะต้องมีลักษณะอวบอูม เหมาะสมกับหัวเรือ ให้มีเกล็ดเป็นร่อง หรือซ้อนกันเหมือนเกล็ดปลา
หมกขี้หมา(จมูก) ขนาดใหญ่สูง มีร่องวนเป็นก้นหอย ปุ้มมน มีรูเสียบดอกไม้พื้นเมือง รูปทรงมองจากด้านหน้าแบะออกเล็กน้อย
หงอน อยู่ระหว่างหมกขี้หมา มีความสูงเสมอกับหมกขี้หมา ต้องแกะสลักจากไม้และต้องถอดประกอบได้
เดียกาง (เดือยคาง) จะอยู่ด้านล่างตรงข้ามกับ กาบจว้า ทำหน้าที่ล๊อคหัวเรือไม่ให้สั่นคลอน
มะต๋า (ดวงตา) จะเป็นกระจกติด หรือแต้มสีเป็นดวงตาดำ
หมกต๋า (ขอบต๋า) จะมีลักษณะคว่ำหรือหงายก็ได้
นอกจากนี้ยังมีกระจกคาง, กาบรอง (กาบจว้า), และมะเดง (กระดิ่ง)
โฆษณา