12 ต.ค. 2020 เวลา 03:49 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของเวียดนามก่อนถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ (1)
ที่มา: https://basicviet.wordpress.com/91-2/
ก่อนที่เวียดนามจะแบ่งประเทศออกเป็นเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ มีปัจจัยหลายปัจจัยที่เกิดจากการพัฒนาที่ทำให้เกิดการแตกต่างทางด้านต่างๆที่อยู่ในเวียดนามถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศเดียวกันแต่ ลักษณะความคิดทางการเมือง หรือว่าเศรษฐกิจนั้นแตกต่างกัน
โดยเริ่มจาก หลังจากฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้ทั้งประเทศใน ค.ศ. 1884 ฝรั่งเศสไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงการยึดครองเวียดนาม เพราะฝรั่งเศสต้องการยึดครองกัมพูชาและลาวไว้เป็นอาณานิคมด้วย เพื่อให้การบริหารอาณานิคมในอินโดจีนเป็นแบบแผนเดียวกันได้มีการจัดตั้งสหพันธ์อินโดจีนขึ้นในวันที่ 17 เดือนตุลาคม ค.ศ. 1887 ฝรั่งเศสได้ดำเนินนโยบายแบ่งแยกและปกครอง
โดยไดจัดแบ่งเวียดนามเป็น 3 ประเทศ คือ โคชินจีน อันนัม และ ตังเกี๋ย (โดยการปกครอง 3 ประเทศนั้นฝรั่งเศสถือว่าโคชินจีนเป็นเมืองขึ้นโดยตรง ส่วนอันนัมและตังเกี๋ยเป็นดินแดนอยู่ในความอารักขา) มีการปกครองต่างกันไปแต่ละประเทศแยกกันแต่รวมกันเรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งรวมกัมพูชาและลาวเข้าไปด้วยการดูและกิจการงานต่างๆ เช่น ความมั่นคง การเงิน การสาธารณะ การสื่อสาร การสารณสุข การค้าและอื่นๆ ขึ้นอยู่กับกระทรวงอาณานิคม โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่มาเป็นผู้ปกครอง
ความตั้งใจของฝรั่งเศสคือต้องการทำลายเอกภาพของชาติเวียดนาม เพื่อจะได้ง่ายต่อปกครอง ข้าหลวงใหญ่จะปกครองอินโดจีนทั้งหมดมีสภาสูงของอินโดจีน ซึ่งประกอบด้วยข้าหลวงและชาวฝรั่งเศสเป็นหัวหน้างานที่สำคัญๆ มากด้วย การปกครองของชาวเวียดนามถูกจำกัด หรือได้รับมอบหมายให้ทำงานแต่งานรองๆ ฝรั่งเศสเป็นผู้ดูแลสภาเสนาบดีเวียดนาม และเสนาบดีแต่ละคนมีที่ปรึกษาฝรั่งเศสกำกับอยู่ ข้าหลวงก็เป็นประธานองคมนตรีอีกด้วยใน ค.ศ. 1899 รัฐบาลอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ให้การปกครองของกษัตริย์ยกเลิกการเก็บภาษีและจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานส่วนพระองค์เองส่วนในอันนัมและตังเกี๋ยในระดับเมืองและในระดับชนบท
นอกจากข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสประจำจังหวัดแล้วยังมีผู้บริหารชาวเวียดนามซึ่งเป็นเหมือนหุ่นเชิด ข้าหลวงมีสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นผู้ช่วยสมาชิกในสภานั้นก็คัดเลือกมาจากเจ้าที่ดินกลุ่มน้อย พ่อค้าที่มั่งคั่งหรือนักอุตสาหกรรม และผู้มีตำแหน่งสูงมามาประดับการปกครองอาณานิคมจัดแบบการบริหารดังกล่าวไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆจนสิ้นสุดสมัยอาณานิคมของฝรั่งเศส
ซึ่งการเข้ามาของฝรั่งเศสทำให้เกิดการพัฒนาของเศรษฐกิจการขยายตัวของเมืองต่างๆ เช่นไซ่ง่อน ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1880 การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กซึ่งมีเกิดขึ้นมากมายในทางเวียดนามใต้
โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเร็วที่สุดก็คือยางพารา ซึ่งการขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้การต้องการแรงงานมากขึ้นทำให้ชาวเวียดนามที่อยู่ทางเหนืออพยพลงมาทางใต้ที่มีเศรษฐกิจและการศึกษาที่ดีกว่าทางเหนือ เนื่องจากฝรั่งเศสใช้นโยบายการใช้การศึกษาแบบฝรั่งเศสเพื่อตอบสนองต่อระเบียบการเข้ารับราชการแบบฝรั่งเศสที่เข้ามาแทนที่การเข้ารับราชการแบบจีน ซึ่งในเวียดนามตอนเหนือได้ถูกต่อต้าน
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความแตกต่างกันของทั้ง 2 เขตของเวียดนาม ทำให้เกิดการหวงผลประโยชน์ของฝรั่งเศสที่อยู่ในเวียดนามทางใต้หลังจากที่เวียดนามประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส
แหล่งข้อมูล:
1. คึกฤทธิ์ ปราโมช. สงครามเวียดนาม. นนทบุรี : ดอกหญ้า, 2557.
2. พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์. สงครามเวียดนาม : สงครามกับความจริงของ “รัฐไทย”.กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2549.
3. ปรีชา ศรีวาลัย. สงครามปัจจุบัน : สงครามเวียดนาม, สงครามอาหรับ-อิสราเอล, สงครามเลบานอน และสงครามฟอลก์แลนด์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2553.
4. นิจ ทองโสภิต. สงครามเวียดนามและไทยจะเป็นเวียดนามแห่งที่สองหรือไม่. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2516.
5. วีระชัย โชคมุกดา. สงครามกลางเมืองฆ่ากันเองในแผ่นดินเดียวกัน. กรุงเทพฯ : ยิปซี, 2557.
6. อนันตชัย จินดาวัฒน์. มหาสงครามที่โลกจารึก = Megar wars . กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุ๊ป, 2557.
7. สงครามเวียดนาม. เข้าถึงได้จาก : https://www.l3nr.org/posts/363356 / สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560.
โฆษณา