12 ต.ค. 2020 เวลา 07:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Infinity
"Arlineไม่ได้จากฉันไปไหน เธอยังคงมีชีวิตอยู่ ณ ดินแดนใดดินแดนหนึ่งในโลกคู่ขนาน ฉันเชื่อแบบนั้น"
ไม่ว่าใครจะประกอบอาชีพอะไรก็คงมีคนที่ตนยกย่องเป็นไอดอลอยู่บ้าง ในบรรดาผู้ศึกษาทางวิทยาศาสตร์แล้ว ริชาร์ด พี ฟายแมน (Richard P. Feynman) เป็นหนึ่งในชื่อที่ได้รับการกล่าวขวัญอยู่เสมอ
ริชาร์ด ฟายแมน ขึ้นชื่อลือชาว่า เป็นนักฟิสิกส์อัจฉริยะ นักเคมี นักงัดแงะและลักล้วง(เปิดเซฟทุกใบในฐานทัพลอสอลามอสมาแล้ว) นักตีกลอง ตัวแสบของระบบราชการ และอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ฟายแมนได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1965 จากการพัฒนาทฤษฏีควอนตัมอิเล็คโทรไดนามิค(Quantum Electrodynamic) และได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
1
ความโดดเด่นของฟายแมน นอกจากความสามารถ และอารมณ์ขันแล้ว ฟายแมนยังเป็นอาจารย์ที่ยอดเยี่ยม หนังสือของเขาหลายเล่มเป็น เบสเซลเลอร์ และเขาถึงขนาดสามารถอธิบายทฤษฏียากๆอย่าง ควอนตัมอิเล็คโทรไดนามิค ให้กับเด็กชั้นมัธยมปลายได้ โดยใช้ความรู้ไม่เกินคณิตศาสตร์ ม.ต้น(อ่าน Q.E.D แปลโดยมติชน)
ริชาร์ด ไฟน์แมน ( Richard Phillips Feynman) อัจฉริยะอารมณ์ขัน
นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นบิดาของ คาร์ล ไฟน์แมน และ มิเชล ไฟน์แมน และเป็นพี่ชายของ โจน ไฟน์แมน
ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต
ใครสักคนที่จะกลายเป็นอัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่ คนผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้คือ คนผู้นั้นต้องเกิดขึ้นมาเพื่อยิ่งใหญ่ หรือก็ต้องทำงานอย่างหนักจนกว่าจะยิ่งใหญ่ แต่สำหรับ ริชาร์ด ไฟยน์แมนแล้วเขามีคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากก่อนที่ไฟยน์แมนจะถือกำเนิดขึ้นมา พ่อของไฟยน์แมนได้กล่าวกับแม่ ของเขาไว้ว่า “ถ้าลูกของเราเป็นผู้ชาย เขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์” และถึงเม้ว่าพ่อของไฟยน์แมนจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่การที่พ่อของเขาเป็นคนช่างสงสัยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และชอบตั้งคำถามว่าสิ่งต่างๆ ทำงานได้อย่างไรอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไฟยน์แมนในวัยเด็กค่อย ๆ ซึมซับเอามรดกทางความคิดมาจาก่อของเขาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งแนวคิดและวิธีการที่ใช้ในการค้นหาคำตอบต่าง ๆ เหล่านี้ได้หล่อหลอมให้ไฟยน์แมนกลายเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์อัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา
ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟยน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอเมริกันเชื้อสายยิวผู้นี้มีประวัติส่วนตัวที่น่าสนใจมากทีเดียวเพราะเขาเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของนาโนเทคโนโลยี
ได้ชื่อว่าเป็นนักฟิสิกส์อารมณ์ดี ชอบตีกลองบองโก ชอบการแสดงแสดงละครเวที ชอบวาดภาพ และเป็นครูฟิสิกส์ในฝันของนักศึกษาเพราะสอนวิชาฟิสิกส์ได้สนุกสนาน ในขณะที่เจาะลึกเข้าถึงแก่น และความคิดใหม่ ๆ ของฟิสิกส์ที่สุดแสนจะซับซ้อนไปในเวลาเดียวกัน
ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้"
ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และผลงานสำคัญของเขาคือการพัฒนาทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม หรือ QED ไฟน์แมนคิดค้นแผนภาพ Feynman Diagram และเทคนิค Feynman Path Integrals ขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายและแก้ปัญหา QED อย่างได้ผล ทำให้ QED มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางและมีความสมบูรณ์ ผลงานนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ไฟน์แมนยังเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาฟิสิกส์ที่นักศึกษาชื่นชอบมากที่สุดจนกลายเป็นตำนาน เมื่อหลายสิบปีก่อนเขาได้เสนอแนวคิดการผลิตในระดับอะตอมที่เขามองเห็นถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ซึ่งปัจจุบันกำลังเจริญรุ่งเรืองคือนาโนเทคโนโลยี เขาจึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งนาโนเทคโนโลยี”
ริชาร์ด ไฟน์แมน เป็นชาวอเมริกัน เกิดเมื่อปี 1918 ที่เขตควีนในกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่เป็นชาวยิวทั้งพ่อและแม่ เขาเป็นเด็กที่พูดได้ช้า กว่าจะเริ่มพูดได้อายุก็ปาเข้า 3 ปีกว่าไปแล้ว พ่อพยายามส่งเสริมเขาด้วยการสอนสิ่งใหม่ๆและคอยตั้งคำถามเพื่อท้าทายให้เขาฝึกคิดอยู่เสมอ ส่วนแม่เป็นคนมีอารมณ์ขันและเขาก็รับสิ่งนี้จากแม่มาอย่างเต็มที่ พอโตขึ้นเขาจึงเป็นคนอารมณดีที่มีความคิดอ่านลึกซึ้ง ตอนเป็นเด็กไฟน์แมนเริ่มมีแววการเป็นนักวิทยาศาสตร์เพราะชอบทดลองเกี่ยวกับกลไกและอีเล็กทรอนิกส์ เช่น ซ่อมวิทยุหรือสร้างระบบสัญญาณกันขโมยบ้านในขณะที่พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน เป็นต้น
ไฟน์แมนเป็นเด็กอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ อายุแค่ 15 ปีเขาก็เรียนรู้เข้าใจวิชาคณิตศาสตร์แทบทุกเรื่องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตรีโกณมิติ, พีชคณิตขั้นสูง, อนุกรมอนันต์, เรขาคณิตวิเคราะห์ รวมทั้งแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์และแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ นอกจากนี้เขายังสามารถสร้างสัญลักษณ์พิเศษเพื่อใช้แก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ในแบบของเขาเอง ในปีสุดท้ายของการเรียนระดับมัธยมที่โรงเรียน Far Rockaway High School เขาชนะการแข่งขันคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ไฟน์แมนสมัครเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแต่ไม่ได้รับการยอมรับเพราะโควต้าสำหรับชาวยิวมีจำกัด เขาจึงไปเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) แทน ตอนแรกเขาตั้งใจเรียนวิชาหลักเป็นคณิตศาสตร์แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นฟิสิกส์
ปี 1939 ไฟน์แมนเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์ประจำปีของนักศึกษาปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เขาได้รับรางวัล Putnam Fellows ซึ่งมอบให้กับเฉพาะผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 คนแรกเท่านั้น เขาเรียนจบที่ MIT ในปีเดียวกันนี้แล้วสอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เขาได้คะแนนเต็มในวิชาฟิสิกส์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนและได้คะแนนที่ยอดเยี่ยมในวิชาคณิตศาสตร์ แต่ได้คะแนนแย่ในวิชาประวัติศาสตร์และภาษาอังกฤษ (นักวิทยาศาสตร์เก่งๆมักเป็นแบบนี้) ทุกอย่างกำลังดำเนินไปด้วยดีแต่แล้วกลับเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไฟน์แมนต้องวิตกกังวลมากที่สุดเมื่อทราบว่าแฟนสาวสุดที่รักของเขาป่วยหนักและกำลังจะตาย
ในขณะที่ญาติพี่น้องปิดข่าวร้ายกับอาลีนสุดชีวิต ฟายแมนตัดสินใจสารภาพ เขาตัดสินใจแล้วว่า ระหว่างเขากับอาลีนต้องไม่มีความลับ อาลีนรับทราบข่าวร้ายอย่างสงบ คู่รักหนุ่มสาวตัดสินใจทันที ฟายแมนจะสละทุนเรียนปริญญาเอกเพื่อแต่งงานกับ อาลีน ตามที่พวกเขาเคยสัญญากันไว้
ฟายแมนเป็นคนที่บูชารักแท้อย่างยิ่ง
ฟายแมน พบรักกับ อาลีน กรีนบาม(Arline Greenbaum.) ในขณะที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยม หลังจากออกเดตกันระยะหนึ่ง อัจฉริยะกับสาวเจ้าเสน่ห์ ก็อยู่ด้วยกันเหมือนเงาตามตัว ฟายแมนเข้าเรียนที่ MIT ในสาขาฟิสิกส์ และโดดเด่นถึงขนาดจ่อได้รับทุนปริญญาเอกอย่างแน่นอน
ช่วงเรียนมัธยมที่ชายหาดย่าน Far Rockaway ไม่ไกลจากโรงเรียนของเขาไฟน์แมนได้พบกับ Arline Greenbaum สาวน้อยที่ทั้งสวยทั้งน่ารักซึ่งเป็นที่หมายปองของหนุ่มๆแถวนั้นจำนวนมาก เขารู้ในทันทีว่าได้พบกับผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วยแล้ว พอรู้ว่า Arline เรียนพิเศษวิชาศิลปะในตอนเย็นหลังเลิกเรียนเขาก็ตามไปลงเรียนด้วยทั้งๆที่เขาไม่เคยสนใจหรือมีความสามารถในทางศิลปะอยู่เลย ที่ลงเรียนก็เพื่อจะได้เห็นหน้าและอยู่ใกล้ๆ Arline เท่านั้น ยิ่งพอได้รู้จักเขาก็ยิ่งประทับใจในตัวเธอมากยิ่งขึ้น Arline มีอิทธิพลต่อไฟน์แมนในหลายๆเรื่องรวมทั้งการหันมาสนใจในศิลปะและแนวคิดทางปรัชญา ต่อมาทั้งคู่ก็กลายเป็นคู่รักที่รักกันมากและวางแผนอนาคตด้วยกัน เขาสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอเมื่อเขาเรียนจบระดับปริญญาเอก
ขณะที่ดอกรักกำลังเบ่งบานจู่ๆ Arline ก็ล้มป่วยลง แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเธอเป็นโรคอะไร เพียงแต่สงสัยว่าอาจเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษเนื่องจากพบก้อนเนื้อที่บริเวณลำคอ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เพราะหลังจากก้อนเนื้อยุบหายไป แต่เธอยังกลับมาป่วยด้วยโรคประหลาดนี้อีกครั้ง แพทย์ไม่รู้จะรักษาเธออย่างไรจึงปล่อยให้เธอกลับไปอยู่ที่บ้านเพราะเปล่าประโยชน์ที่จะอยู่ในโรงพยาบาล ต่อมา Arline ต้องเขาโรงพยาบาลอีกครั้งคราวนี้แพทย์ตรวจพบว่าเธอป่วยเป็นวัณโรคซึ่งในเวลานั้นเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากและยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดทำได้แค่รักษาไปตามอาการไฟน์แมนอยากให้กำลังใจเธอในการต่อสู้กับโรคร้ายด้วยการแต่งงานกับเธอทันที แต่ก็ทำไม่ได้เพราะทุนการศึกษาที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันมีเงื่อนไขห้ามแต่งงานก่อนเรียนจบสร้างความกลัดกลุ้มกังวลใจให้กับไฟน์แมนอย่างมาก เขาเรียนจบปริญญาเอกด้านกลศาสตร์ควอนตัมในปี 1942 ถึงตอนนั้นแพทย์ประเมินว่า Arline น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี แต่ไฟน์แมนยังคงทำตามสัญญาโดยไม่สนใจคำคัดค้านของครอบครัว เขาพา Arline นั่งเรือข้ามฟากไปยังเกาะ Staten และแต่งงานกันที่นั่นโดยมีพยานเป็นคนแปลกหน้าสองคนเท่านั้น เสร็จพิธีเขาก็พาภรรยากลับโรงพยาบาลและมาเยี่ยมเธอทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ไฟน์แมนถูกเรียกตัวเข้าไปทำงานให้กองทัพสหรัฐในโครงการแมนฮัตตันซึ่งเป็นโครงการคิดค้นและสร้างระเบิดนิวเคลียร์ แม้เขาจะรู้ว่าระเบิดนิวเคลียร์เป็นอันตรายต่อมนุษยชาติจนแทบปฏิเสธไม่เข้าร่วมงาน แต่เขาก็รู้ดีว่าหากฝ่ายเยอรมันและญี่ปุ่นชนะสงครามสถานการณ์จะเลวร้ายยิ่งกว่า ถึงจะเพิ่งเรียนจบไม่นานแต่ด้วยความสามารถที่ยอดเยี่ยมทำให้ไฟน์แมนได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้ากลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีทำงานประจำในห้องทดลองลับที่ Los Alamos ในรัฐนิวเม็กซิโกร่วมกับ Hans Bethe ในการคิดค้นและออกแบบระเบิดนิวเคลียร์ ส่วน Arline ถูกส่งไปยังสถานพักฟื้นที่อยู่ในรัฐเดียวกัน ระหว่างอยู่ที่นี่เขากับภรรยามีการติดต่อกันทางจดหมาย Arline มักจะเขียนบอกความในใจเป็นรหัสลับให้สามีขบคิดหาความหมาย แต่ก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับฝ่ายรักษาความปลอดภัยของโครงการลับสุดยอดที่ต้องเซ็นเซอร์จดหมายทุกฉบับอยู่เนืองๆ
และแล้ววันอันแสนเศร้าก็มาถึง วันที่ 16 มิถุนายน 1945 ไฟน์แมนได้รับโทรศัพท์จากสถานพักฟื้นแจ้งว่า Arline มีอาการทรุดหนัก เขารีบขับรถไปอยู่ข้างๆภรรยาจนในที่สุดเธอได้จากเขาไปในคืนนั้นเอง สิบหกเดือนหลังจากนั้นไฟน์แมนได้เขียนจดหมายฉบับสุดท้ายถึง Arline บอกความในใจและความรักที่เขามีต่อภรรยาผู้จากเขาไปแล้วอย่างซาบซึ้ง แต่ยังไม่วายมีมุกตลกในคำลงท้ายว่า “ปล. ขอโทษด้วยที่ไม่ได้ส่งจดหมายฉบับนี้ เพราะผมไม่รู้ที่อยู่ใหม่ของคุณ”
ฟายแมนทำงานที่ลอสอลามอส และเมื่อตกเย็นวันศุกร์ ก็จะจับรถบึ่งมาหาภรรยา ก่อนกลับไปทำงานต่อในเช้ามืดวันจันทร์ เขาทำอย่างนี้อยู่เป็นปี จนกระทั่งถึงวันที่ภรรยาของเขาจากไป เขาบึ่งมาจากลอสอลามอสทันดูใจภรรยาก่อนเสียชีวิต ฟายแมนได้แต่กล้ำกลืนน้ำตาแล้วกลับไปโหมงานในกองทัพ เขาไม่มีน้ำตาซักหยด มันเหมือนกับว่าเขายังยอมรับไม่ได้ว่าคู่ชีวิตของเขาได้จากไปแล้ว
ฟายแมนเล่าว่า เขาเสียน้ำตาจริงๆในอีกหลายเดือนถัดมา เมื่อไปเห็นเสื้อผ้าในร้านสรรพสินค้า ทันใดนั้นเขาก็เต็มตื้นขึ้นมาว่า ภรรยาของเขาน่าจะชอบชุดนี้ แล้วเขาก็อดกลั้นไม่ได้อีกต่อไป
เรื่องราวความรักอันแสนเศร้าแต่ซาบซึ้งน่าประทับใจของไฟน์แมนกับ Arline ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง Infinity ออกฉายครั้งแรกในปี 1996 หลังภรรยาเสียชีวิตไฟน์แมนยังทำงานที่ Los Alamos ต่ออีกระยะหนึ่ง ว่ากันว่าเขาเป็นคนเดียวที่มองระเบิดนิวเคลียร์ด้วยตาเปล่าในการทดสอบครั้งแรก ปลายปี 1945 ไฟน์แมนย้ายไปเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนกฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล
ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลไฟน์แมนให้ความสำคัญและทุ่มเทกับงานสอนหนังสือมาก แต่ก็ได้ทำงานวิจัยด้านพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมซึ่งเขาสนใจเป็นพิเศษอีกครั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน เขายังได้ร่วมทำงานวิจัยกับ Hans Bethe ที่คอร์เนลอีกครั้งหนึ่งด้วย ไฟน์แมนเคยได้รับข้อเสนอให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบัน Institute for Advanced Study ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันซึ่งมีนักฟิสิกส์ระดับโลกหลายคนทำงานอยู่รวมทั้ง Albert Einstein แต่เขาปฏิเสธเพราะที่นั่นไม่มีการสอนนักศึกษา จนถึงปี 1950 ไฟน์แมนตกลงรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทฤษฎีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (CalTech) แต่ก่อนไปเริ่มงานที่ CalTech เขาได้ลางานสอนเพื่อไปทำวิจัยเป็นเวลา 10 เดือนที่ประเทศบราซิลที่ซึ่งทำให้เขาประทับใจกับดนตรีสไตล์แซมบ้าและได้เรียนรู้การเล่นดนตรีหลายชนิดโดยเฉพาะการตีกลองบองโกที่เขาชอบเป็นพิเศษ
ไฟน์แมนมีความสามารถที่โดดเด่นในด้านการสอนหนังสือสามารถอธิบายทฤษฏียากๆอย่างทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้เด็กชั้นมัธยมปลายเข้าใจได้ เป็นอาจารย์ฟิสิกส์ในฝันของนักเรียนทุกคน และเขายังเป็นคนอารมณ์ดีซึ่งมีส่วนทำให้เขาสอนหนังสือได้อย่างสนุกสนานมีชีวิตชีวา บันทึกการสอนของเขาที่ CalTech ในช่วงระหว่างปี 1961 – 1963 ได้ถูกรวบรวมเป็นหนังสือชุดตำราฟิสิกส์ชื่อ Feynman Lectures on Physics ที่รู้จักกันดีทั่ววงการฟิสิกส์โลกและกลายเป็นหนังสือฟิสิกส์ที่ขายดีที่สุด เฉพาะฉบับภาษาอังกฤษมียอดขายมากกว่า 1.5 ล้านเล่ม ไฟน์แมนยังได้รับฉายา “The Great Explainer” และกลายเป็นตำนานแห่งการสอนวิชาฟิสิกส์
ผลงานสำคัญของยอดอัจริยะทางฟิสิกส์
ไฟน์แมนทำงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ควบคู่ไปกับการสอนหนังสือตลอดมาและประสบความสำเร็จอย่างสูง ผลงานของเขามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาฟิสิกส์สมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมหรือ QED ซึ่งเขาสนใจมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก และต่อไปนี้คือผลงานสำคัญของยอดอัจริยะทางฟิสิกส์ผู้นี้
1. พัฒนาทฤษฎี QED – ทฤษฎีสนามควอนตัมที่ Paul Dirac ได้พัฒนาขึ้นยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง นอกจากมีความยุ่งยากและซับซ้อนในการคำนวณมากแล้ว ในบางกรณียังให้คำตอบที่มีค่าเป็นอนันต์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ไฟน์แมนได้พัฒนาทฤษฎีสนามควอนตัมขึ้นใหม่เรียกว่า Quantum Electrodynamics (QED) ซึ่งเป็นการรวมกลศาสตร์ควอนตัมเข้ากับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ สามารถใช้อธิบายอันตรกริยาระหว่างอิเล็กตรอนกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้อย่างละเอียดและให้ผลตรงกับการทดลองโดยไม่มีกรณีที่คำตอบมีค่าเป็นอนันต์ ผลงานนี้ทำให้ไฟน์แมนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 1965 ร่วมกับ Julian Schwinger และ Shin’ichirō Tomonaga
2. คิดค้นแผนภาพ Feynman Diagram – อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคย่อยของอะตอม เช่น โปรตอน อิเล็กตรอน ฯลฯ มีความซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก ไฟน์แมนจึงได้คิดค้นแผนภาพขึ้นมาเพื่อแสดงแทนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ซึ่งช่วยให้เห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและช่วยในการคำนวณและทำนายโอกาสการเกิดของเหตุการณ์ได้อย่างละเอียด ต่อมาแผนภาพที่ไฟน์แมนคิดค้นขึ้นซึ่งถูกเรียกว่า Feynman Diagram ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของนักฟิสิกส์ถูกนำไปใช้ในการศึกษาและคำนวณทางฟิสิกส์ทฤษฎีอีกหลายสาขา รวมทั้งทฤษฎีสตริง
3. คิดค้นเทคนิค Feynman Path Integrals – ในการศึกษาและแก้ปัญหากลศาสตร์ควอนตัมไฟน์แมนได้คิดค้นเทคนิคปริพันธ์เชิงเส้น (Path Integrals) ของเขาเองขึ้นมาใช้งานซึ่งให้ผลดีเยี่ยม เทคนิค Feynman Path Integrals และแผนภาพ Feynman Diagram มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ QED มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางและมีความสมบูรณ์
4. สร้างทฤษฎีฟิสิกส์ของไหลยวดยิ่ง (Superfluidity) – ไฟน์แมนได้ศึกษาปรากฏการณ์ของไหลยวดยิ่งในฮีเลียมเหลวที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต เขาได้แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ของไหลยวดยิ่งในฮีเลียมเป็นการแสดงพฤติกรรมเชิงกลควอนตัมที่สังเกตได้ในระดับมหภาคซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาของตัวนำยิ่งยวด
5. สร้างแบบจำลอง Parton Model – ไฟน์แมนได้เสนอแบบจำลอง Parton Model เพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์การชนกันของอนุภาคพลังงานสูงในกลุ่มที่เรียกว่าเฮดรอน (hadrons) เช่น โปรตอนและนิวตรอน ซึ่งยังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางถึงปัจจุบันและมีส่วนช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับควาร์กมากขึ้น
6. เขียนหนังสือทางฟิสิกส์และอื่นๆ – นอกหนังสือชุด Feynman Lectures on Physics อันโด่งดังแล้วไฟน์แมนยังเขียนหนังสือฟิสิกส์และหนังสือที่ให้แง่คิดดีๆอีกจำนวนมาก หลายเล่มติดอันดับหนังสือขายดี หนังสือของไฟน์แมนที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันดีได้แก่ Surely You’re Joking, Mr Feynman!, What Do You Care What Other People Think?, There’s Plenty of Room at the Bottom และ QED: The Strange Theory Of Light and Matter เป็นต้น
และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่น ๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย
ซึ่งผลงานของเขาทั้งสองชิ้นนี้ทำให้นักฟิสิกส์ทั่วโลกต้องจดจำชื่อของเขาไปอีกนานแสนนานนอกจากนี้ไฟยน์แมนยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของโลกไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
ปี 1986 เกิดเหตุการณ์ช็อคโลกกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ระเบิดแหลกเป็นจุณหลังออกบินเพียง 73 วินาที ไฟน์แมนได้รับเชิญให้เข้าร่วมในคณะกรรมการตรวจสอบหาสาเหตุของภัยพิบัติครั้งนี้ เขาไขปริศนานี้ได้สำเร็จและสาธิตให้คนทั่วโลกได้เห็นทางโทรทัศน์ว่าวัสดุที่ใช้ทำโอริงที่ถังเชื้อเพลิงของกระสวยอวกาศมีความยืดหยุ่นไม่พอในสภาพอากาศที่เย็นจัดทำให้เชื้อเพลิงรั่วไหลเกิดลุกเป็นไฟนำไปสู่การระเบิดซึ่งเป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้ปรับปรุงการสร้างยานอวกาศรุ่นต่อมา และนี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ความอัจริยะทางฟิสิกส์ของเขาได้ถูกแสดงออกมา
ไฟน์แมนนอกจากจะเป็นนักฟิสิกส์ที่มีผลงานและความสำเร็จมากที่สุดอีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขายังเป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกล ในการประชุมประจำปีของสมาคมฟิสิกส์อเมริกันที่ CalTech เมื่อปี 1959 เขาได้เสนอแนวคิดการผลิตในระดับอะตอมที่เขามองเห็นถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ผ่านการบรรยายเรื่อง There’s Plenty of Room at the Bottom: An Invitation to Enter a New Field of Physics ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวได้ถูกพัฒนาต่อยอดและกำลังเจริญรุ่งเรืองนั่นก็คือนาโนเทคโนโลยี จนเขาได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งนาโนเทคโนโลยี” นอกจากนี้ในการบรรยายหัวข้อ Simulating Physics with Computers เมื่อปี 1982 เขายังได้จุดประกายความคิดการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ซึ่งในปัจจุบันกำลังแข่งขันพัฒนากันอย่างเข้มข้นและจะเป็นมาตฐานใหม่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในอนาคต
ไฟน์แมนเป็นผู้ที่มีบุคลิกโดดเด่นซึ่งแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ เขาชอบวาดรูป เขียนหนังสือ เล่นละคร และที่ชอบเป็นพิเศษคือการตีกลองบองโก นอกจากนี้เขายังเป็นคนอารมณ์ดีมีอารมณ์ขันเป็นที่ชื่นชอบของคนรอบข้าง หลังจากภรรยาคนแรกจากไป 7 ปีไฟน์แมนแต่งงานใหม่กับ Mary Louise Bell แต่อยู่กันได้เพียง 4 ปีก็แยกทางกัน ต่อมาได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับ Gweneth Howarth ในปี 1960 ทั้งคู่มีลูกชาย 1 คนและมีลูกบุญธรรมเป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ไฟน์แมนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี 1988 มีอายุ 69 ปี ตลอดชีวิตเขาได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จในผลงานมากมาย นอกจากรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์แล้วยังมีรางวัล Albert Einstein Award (1954), E. O. Lawrence Award (1962), Foreign Member of the Royal Society (1965), Oersted Medal (1972), National Medal of Science (1979) รวมทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลงานของ ริชาร์ด ไฟน์แมน ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล คือ "The Development of the Space-Time View of Quantum Electrodynamics"
สิ่งที่ฟายน์แมน เจ้าของวลีคลาสสิก ประสบการณ์และการเรียนรู้สำคัญกว่าการท่องจำในหน้ากระดาษ ตั้งใจจะบอกกับเราก็คือ การรักที่จะใช้ชีวิตที่เหลือทุกนาทีอย่างมีความสุข อย่าหยุดคิดหรือหยุดตั้งคำถาม เพราะสิ่งเหล่านี้คือหลักฐานยืนยันว่าเรายังมีลมหายใจอยู่
ผลงานสำคัญ ๆ ของริชาร์ด ฟายน์แมน มีเยอะมาก
ซึ่งมติชนแปลมาให้ได้อ่านกันสามเล่ม แต่ละเล่มก็เป็นเรื่องใหญ่ๆสามช่วง(ผมแบ่งเองนะ)
- ช่วงชีวิตวัยเด็กและการทำงานพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ที่ลอส อลามอส
ฟายน์แมน อัจฉริยะโลกฟิสิกส์
-ช่วงบั้นปลายและการตรวจสอบการระเบิดของยานชาเลนเจอร์
ฟายน์แมน อัจฉริยะอารมณ์ดี
-การบรรยายทฤษฎี Quantum Electro Dynamics ที่เด็ก ม.ปลายก็เข้าใจได้
คิว-อี-ดี :ทฤษฎีมหัศจรรย์ของแสงและสสาร
อันที่จริง หนังสือยังมีหนังสือ Lecture on Physics ของฟายน์แมน อีกชุดหนึ่ง
ที่ผมอยากให้มีคนแปลให้เด็กมัธยมหรือมหาวิทยาลัย ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ โดยเฉาพะฟิสิกส์ ได้อ่านกัน
เพราะเด็กไทยกว่าจะฝ่าอุปสรรคเรื่องภาษาอังกฤษไปอ่าน Lecture ชุดนี้ได้รู้เรื่องและสนุกก็คงอายุพอสมควรแล้ว
ซึ่งที่จริงถ้าได้สัมผัสกับ Lectures ชุดนี้เร็วๆ
จะเรียนฟิสิกส์อย่างเข้าใจและสนุกขึ้นอีกแยะเลย
โฆษณา