13 ต.ค. 2020 เวลา 03:14 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์ เมืองนาลองกา เปลี่ยนเป็น ทับสระแก และกำเนิด เมืองกุย พ.ศ.๑๑๙๗
แคว้นนาลองกาเป็นแว่นแคว้นเก่าแก่ มานานแล้ว ปรากฏชื่อในจดหมายเหตุ ของ ปโตเลมีเป็นแหล่งทำนาเกลือโบราณ จำหน่ายให้กับประชาชนเมืองต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีนกกา ในเมืองนี้มากกว่าเมืองอื่นๆ เพราะมีปลาในนาเกลือที่เป็นอาหารของนกกา เมื่อน้ำในนาเกลือเริ่มแห้ง จะพบกุ้งปูปลา ที่มากับน้ำทะเล จำนวนมาก ต้องรีบออกไปจับมาเป็นอาหาร ก่อนที่นกกา จะมาแย่งเอาไปกินหมด คำว่า นาลองกา จึงมาจากคำเต็มที่ว่า นาเกลือที่ลองดีกับนกกาหมายความว่า ผู้ทำนาเกลือ ต้องกะเวลาน้ำแห้งให้ดี เพื่อลงไปจับกุ้งหอยปูปลา มาใช้เป็นอาหาร ก่อนที่นกกา จะมาแย่งชิงไป ผู้ทำนาเกลือที่ เมืองนาลองกา จึงต้องมีความสามารถในการคำนวณเวลา ต่อมา มีผู้ทำนาเกลือ ที่ไม่อดทน จึงย้ายไปทำนาเกลือที่ เมืองนาลี้กา(สมุทรสาคร) เป็นที่มาของการเกิด นาฬิกาแดดในเวลาต่อมา นั่นเอง
ในสมัยที่เกิดสงครามแย่งม้า กองทัพมอญ ได้เข้าตี แคว้นนาลองกา เช่นกัน เนื่องจาก คนหนุ่มสาว ที่เมืองนาลองกา ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารในกองทัพต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ มีแต่คนแก่ ที่เป็นคนเฝ้าเมือง ดังนั้นจึงไม่มีกำลังที่จะต่อสู้กับกองทัพมอญได้ ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองนาลองกา(ทับสระแก) เป็น เมืองทับสระแก(ทับสะแก) เกิดขึ้นในสมัยสงครามแย่งม้า เช่นเดียวกัน เรื่องราวมีอยู่ว่า แม่ทัพของ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) มีอายุมากแล้ว นักรบจำนวนมาก ก็ล้วนเป็นคนแก่ อายุมาก กองทัพของ แคว้นนาลองกา ที่ต่อสู้กับกองทัพข้าศึกมอญ เรียกว่า ทัพตาแก่ดังนั้นเมื่อข้าศึกมอญ ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นนาลองกา แม่ทัพตาแก่ ได้นำขุนพลทั้งหลาย ไปอาบน้ำที่สระแห่งหนึ่ง เรียกว่า สระลดความแก่อ้างว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถทำให้มีกำลังวังชาเพิ่มขึ้น ก่อนการสู้รบ เป็นที่มาให้ประชาชนเรียกกองทัพตาแก่ ว่า ทัพสระแก่
ในการสู้รบกับข้าศึกมอญ ครั้งนั้น ทัพสระแก่สามารถรบชนะข้าศึกมอญ ทหารมอญ ต้องถอยทัพหนีเข้าป่าไปในดินแดน เขตกุยบุรีกองทัพ แม่ทัพสระแก่ ตามค้นหา(กุย) ข้าศึกมอญ ในเขตป่าเขา จับมาเป็นเชลยศึก จำนวนมาก จึงเป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า เมืองกุยซึ่งแปลว่า เมืองแห่งการค้นหาข้าศึก ตั้งแต่นั้นมา ส่วน เมืองนาลองกาถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ทัพสระแก่ และเพี้ยนมาเป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ว่า ทัพสระแก(ทัพสะแก) สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในขณะที่มีข้าศึกมอญ-ทมิฬโจฬะ ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) นั้น มีประชาชนกลุ่มผู้ทำนาเกลือ ส่วนหนึ่ง ต้องลี้ภัยสงคราม อพยพไปตั้งรกรากทำนาเกลือในบริเวณ บ้านนาเกลือเมืองคลองวัง(บ้านนาเกลือ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เรียกว่า พวกนาลี้กา
ต่อมา เจ้าพระยาศรีธรรมโศก กษัตริย์แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ได้เรียกประชาชนผู้อพยพจาก แคว้นนาลองกา ที่ไปตั้งรกรากในท้องที่ใหม่ ว่า "พวกนาลี้กา"ซึ่งหมายถึง ชาวนาเกลือผู้อพยพลี้ภัยสงครามข้าศึกมอญ-ทมิฬโจฬะ ผู้อพยพกลุ่มนี้ เป็นผู้สร้าง นาฬิกาแดด มาใช้ในการนับเวลา จึงเป็นที่มาของคำไทยที่ว่า "นาฬิกา"หมายถึงเครื่องมือในการจับเวลา ในเวลาต่อมา ด้วย
โฆษณา